เรื่องหัวใจ ดูแลให้ดีช่วง โควิด 19
ในระหว่างที่ โควิด 19 ยังไม่มีวัคซีนรักษาอย่างเป็นทางการ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสก็ไม่น่าไว้วางใจ ฉะนั้นเราควรสวมหน้ากากกันไว้ทุกเมื่อ และหมั่นล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ 70 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวยิ่งต้องดูแลตัวเองเป็นพิเศษ อาทิ กลุ่มโรคเบาหวาน ความดันโลหิต ไปจนถึงผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจหรือโรคหลอดเลือดอื่น ๆ ก็ยิ่งมีความเสี่ยงสูงกว่าบุคคลทั่วไปหากได้รับเชื้อไวรัสโควิด 19
บทความนี้เราจึงรวบรวมเคล็ดไม่ลับ เพื่อดูแลหัวใจให้ปลอดภัยในช่วงโรคภัยกำลังระบาดแบบนี้ให้ได้รู้กัน
อยากรู้ว่าตัวเองเป็นโรคหัวใจ เช็กหัวใจเบื้องต้นได้หรือไม่
โรคหัวใจ ถึงแม้จะมีอาการแสดงออกมาบ้าง แต่จริงๆ แล้วผู้ที่จะวินิจฉัยได้ว่า เราเป็นโรคหัวใจหรือไม่ คือ แพทย์โรคหัวใจเท่านั้น ดังนั้นหากพบความผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วนดีที่สุด ซึ่งความผิดปกติที่ว่า คือเราควรสังเกตความผิดปกติของตัวเองอยู่เสมอ โดยเฉพาะอาการผิดปกติ ที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน เช่น อัตราการเต้นของหัวใจปกติดีหรือไม่ มีอาการเจ็บหน้าอก ใจสั่น บ่อยๆหรือเปล่า เป็นต้น
ผู้ป่วยโรคหัวใจ เสี่ยงติดโควิด 19 และเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงกว่าคนปกติ
British Heart Foundation (BHF) ได้ออกคำแนะนำเกี่ยวกับโควิด 19 ไว้ว่า คนที่ป่วยเป็นโรคหัวใจ ถือว่ามีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นของภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง และรุนแรงเป็นพิเศษ หากมีอายุเกิน 70 ปี อีกทั้งข้อมูลจากสมาคมโรคหัวใจแห่งยุโรป ยังอธิบายเพิ่มเติมว่า ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด หากมีการติดเชื้อ COVID-19 อาจส่งผลร้ายต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และเกิดปัญหาเกี่ยวกับจังหวะการเต้นของหัวใจ ซึ่งจัดว่าเป็นภาวะแทรกซ้อนของการติดเชื้อที่รุนแรงมาก จนถึงขั้นเสียชีวิต
วิธีดูแล ป้องกันไม่ให้เกิดโรคหัวใจ
กินผักผลไม้ในทุกมื้อ
การกินผัก ผลไม้ เป็นเรื่องที่ดีต่อสุขภาพได้แน่นอน โดยคุณควรเลือกชนิดของผัก ผลไม้ที่หลากสีสัน และอุดมไปด้วยวิตามิน ยิ่งมีแอนตี้ออกซิแดนท์ จะช่วยป้องกันโรคหัวใจได้อีกทาง อาทิ พริกหวาน, บีทรูท, บร็อคโคลี่, องุ่นแดง และแก้วมังกร
ห้ามสูบบุหรี่
บุหรี่เป็นตัวการร้าย เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดความดันโลหิตสูง ทำให้เลือดเกาะตัวเป็นลิ่ม สาเหตุให้หัวใจขาดเลือดและเส้นเลือดในสมองอุดตัน
ออกกำลังกายเป็นประจำ
เพื่อลดความเสี่ยงโรคหัวใจและเส้นเลือดหัวใจอุดตัน เช่น การวิ่งเหยาะ ๆ หรือการเดินเร็ว ช่วยให้หัวใจแข็งแรงขึ้น ซึ่งเวลาที่ควรใช้ในการออกกำลังกายประมาณ 30 นาที จำนวน 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ ทั้งยังสามารถช่วยร่างกายมีภูมิต้านทานแข็งแรงไม่เป็นโรคง่ายๆ อีกด้วย
ดื่มไวน์แดง
ในไวน์แดงมีสาร Resveratrol ที่จะสามารถเปลี่ยนแปลงระดับไขมันคอเลสเตอรอลในเลือด และเป็นการป้องกันไม่ให้เลือดเกาะกันเป็นก้อน แต่ควรดื่มแค่วันละแก้ว
เข้านอนเป็นเวลาทุกวัน
การเข้านอนเป็นเวลาและไม่เกิน 4 ทุ่ม จะเป็นการดีต่อหัวใจไม่ให้ทำงานหนักจนเกินไป ฉะนั้นควรปรับเปลี่ยนเวลานอนของเราให้ดี
ลดเค็ม และลดเครื่องดื่มคาเฟอีน
หลีกเหลี่ยงอาหารรสจัด เพราะทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคลิ้นหัวใจผิดปกติ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้ ส่วนเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน พวกกาแฟ ชา หากรับประทานมากๆ หัวใจทำงานเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลเสียต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ในที่สุด
ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก
escardio.org
pharmacy.mahidol.ac.th
———————————————————————————————————————————————————————————–
บทความที่น่าสนใจอื่นๆ
วิธีการ ป้องกันโรคหัวใจ ด้วย 3 ซูเปอร์ฟู้ด
สังเกต 8 อาการเสี่ยง ส่อ โรคหัวใจ
หยุดฟุ้งซ่าน ป้องกันโรคหัวใจ By หมอสันต์ ใจยอดศิลป์