THE HIDDEN PROBLEMS ผลร้ายต่อสมดุลจุลินทรีย์ดีในลำไส้ (ระบบย่อยอาหาร)
หนึ่งในระบบอวัยวะสำคัญของร่างกายและถือว่าเป็น “สมองที่ 2” ของร่างกายคือ ระบบย่อยอาหาร และระบบดูดซึม
ดอกเตอร์ไมเคิล เจ. เบรอุส นักจิตวิทยาและสมาชิก The American Board of Sleep Medicine ผู้เขียนหนังสือ The Power of When ระบุว่า “การนอนหลับมีผลต่อสุขภาพโดยเฉพาะต่อระบบย่อยอาหาร ซึ่งเปรียบเสมือนบ้านของเหล่าจุลินทรีย์ดีในร่างกาย”
ดอกเตอร์ไมเคิล อธิบายว่า ภายในลำไส้มีระบบประสาทซึ่งมีจำนวนเซลล์ประสาทราว 100 ล้านนิวรอน ทำหน้าที่สื่อสากับสมอง และระบบประสาทส่วนกลาง ช่วยทำให้การผลิตฮอร์โมน ระบบภูมิคุ้มกัน ความอยากอาหาร ระบบย่อย ระบบเมแทบอลิก อารมณ์ และการตอบสนอง ต่อความเครียดเป็นไปตามปกติ
ทั้งนี้จุลินทรีย์ดีในลำไส้เล็กมีหน้าที่ผลิตและหลั่งสารสื่อประสาท ได้แก่ โดพามีน เซโรโทนิน และกาบา เช่นเดียวกับเมลาโทนินที่ผลิตทั้งจากสมองและลำไส้
ดอกเตอร์ไมเคิลอธิบายว่า เหล่าจุลินทรีย์ตีจึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ ที่ช่วยให้นาฬิกาชีวิต (Circadian Rhythm) ทำงานตามปกติ
หากนาฬิกาชีวิตได้รับผลกระทบ
เช่น เข้านอน – ตื่นนอนไม่เป็นเวลา กินอาหารไม่ครบ 5 หมู่ เจ็บไข้ได้ป่วยและการกิน ยาบางชนิดต่อเนื่องนานเกินไปจะส่งผลต่อสมดุลจุลินทรีย์ดี ในลำไส้มีปริมาณลดลง ซึ่งมีผลกระทบให้การผลิต และหลั่งฮอร์โมนและสารสื่อประสาททุกชนิดที่กล่าวมาข้างต้นผิดปกติไป
ดังนั้น การอดนอนเพียง 1 คืน อาจส่งผลให้สมดุลจุลินทรีย์ดีบกพร่อง และจำเป็นต้องใช้เวลาฟื้นฟูอีกหลายวัน นี่จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมกว่าจะกลับมารู้สึกสดชื่นกระปรึกระเปราได้อีกครั้งก็ต้องใช้เวลา 2 – 3 วัน จึงกลับมาเป็นปกติ
ทั้งนี้การนอนชดเชย เช่น นอนในเวลากลางวัน หรือขยายเวลาการนอนออกไปก็ไม่ได้ช่วยให้นาฬิกาชีวิตกลับมาทำงานได้
ดอกเตอร์ไมเคิลอธิบายปิดท้ายว่า เราต้องคำนึงว่าระบบต่างๆ ในร่างกายมีเวลาทำงาน พักผ่อน และซ่อมแชมที่ตายตัว
ดังนั้นถ้าอยากให้ระบบย่อยและระบบดูดซึมอาหารทำงานได้ตามปกติ ขอให้เข้านอน และตื่นนอน ในเวลาเดิมซึ่งควรจะเป็นเวลาตามพระอาทิตย์ นั่นคือ ตื่นนอน 6.00 น. และเข้านอนก่อน 22.00 น.
ที่มา : นิตยสารชีวจิต ฉบับที่ 543
เนื้อหาอื่นๆ ที่น่าสนใจ
4 เทคนิคการนอนดีๆ ช่วย ระบบย่อยอาหาร
ชวนดูแล ป้องกัน รักษา โรคลำไส้แปรปรวนฉบับแพทย์แผนไทย