เก้าอี้ทำงาน ที่ดีต้องออกแบบมาเพื่อให้ผู้ใช้นั่งทำงานในท่าทางที่เหมาะสม โดยเฉพาะผู้ที่ต้องนั่งทำงานติดต่อกันในแต่ละวันเป็นเวลาหลายชั่วโมง ยิ่งต้องใส่ใจในการเลือกเก้าอี้ เพื่อลดความเสี่ยงของอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดหลัง คอ ไหล่ ซึ่งเป็นอาการที่เกิดจากการนั่งผิดท่า หรือนั่งทำงานเป็นเวลานาน ๆ นั่นเอง
เรื่องที่ต้องคำนึงถึง ก่อนตัดสินใจเลือกซื้อเก้าอี้ทำงานสักตัว
-
น้ำหนักที่สามารถรองรับได้
เก้าอี้แต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อ รองรับน้ำหนักมากน้อยต่างกันไป ผู้ใช้แต่ละคนมีน้ำหนัก ส่วนสูงไม่เท่ากัน
จึงควรตรวจสอบว่าเก้าอี้รุ่นดังกล่าว สามารถรองรับน้ำหนักของผู้ใช้ได้อย่างเหมาะสมหรือไม่ นอกจากนั้นควรทดลองนั่งก่อนว่าตนเองนั่งสบายหรือไม่
-
ปรับระดับความสูงได้
เก้าอี้ที่ดีต้องสามารถปรับระดับความสูงของเก้าอี้ให้เหมาะกับความสูงและรูปร่างของผู้ใช้งานที่
แตกต่างกันได้ โดยแขนของผู้ใช้ควรอยู่แนวเดียวกับโต๊ะทำงาน เพื่อให้เท้าวางราบกับพื้น หากเท้าไม่สามารถวางเท้าราบกับพื้น อาจต้องมีที่พักเท้ามาเสริมเวลานั่งทำงาน จะช่วยลดอาการปวดสะโพกร้าวลงขาได้
-
เบาะไม่นุ่ม หรือแข็งเกินไป
เบาะต้องกระจายน้ำหนักได้ดี แต่แข็ง และไม่นุ่มจนเป็นแอ่ง เวลานั่งน้ำหนักต้องไม่กดลงที่จุดใดจุดหนึ่ง เพื่อให้ผู้ใช้ลงน้ำหนักที่ก้นและกล้ามเนื้อต้นขาทั้งสองคนเท่า ๆ กัน
-
ที่วางแขน
เก้าอี้ทำงานต้องที่วางแขนมีที่พักแขนสำหรับรองรับข้อศอกและแขนท่อนล่าง เพื่อให้ผู้ใช้สามารถวาง
ข้อศอกและแขนให้อยู่ในระนาบเดียวกันในแนวเส้นตรง ตามหลักท่านั่งที่ถูกต้อง หากเป็นไปได้ควรสามารถปรับระดับได้ตามความสูงและสรีระของแต่ละคนด้วย
-
ความลึกและความกว้างของเก้าอี้
เก้าอี้กว้างและลึกเพียงพอต่อการนั่งสบาย ความลึกของเก้าอี้จะเป็นตัวกำหนดว่าจะรองรับต้นขาผู้ใช้
ได้มากน้อยแค่ไหน โดยหากทดลองนั่งให้หลังชิดกับพนักพิงมากที่สุดแล้วรู้สึกสบาย ลุกนั่งง่าย ไม่เกร็งตัว นับเป็น
-
พนักพิงรองรับหลัง
เก้าอี้ทำงานที่ดี ควรมีพนักพิงที่มีลักษณะพยุงไหล่ รองรับแผ่นหลัง เอว และกระดูกส่วนล่าง โดยควร
ออกมาเพื่อให้ผู้ใช้นั่งหลังชิดกับพนักพิง เพื่อให้นั่งตัวตรง หลังไม่แอ่น ไม่ค่อย ซึ่งจะช่วยให้กล้ามเนื้อในบริเวณดังกล่าวไม่ต้องทำงานหนักมากเกินไป
-
พนักพิงคอ
พนักพิงคอ มีไว้เพื่อปรับให้ศีรษะตั้งตรง และช่วยให้สายตาขนาดกับพื้น และควรปรับระดับและเปลี่ยน
องศาให้พอกับต้นคนของผู้ใช้งาน
-
พนักพิงปรับเอนได้
พิงหลังของเก้าอี้ที่ถูกต้องออกแบบให้สามารถเอนตัว เพื่อรองรับกระดูกสันหลังช่วงส่วนเอว ซึ่งจะช่วย
ให้ผู้ใช้สามารถปรับเปลี่ยนท่านั่ง หรือเคลื่อนไหวตลอดวันได้อย่างเป็นอิสระมากขึ้น
แม้ว่าจะเลือกใช้เก้าอี้ที่เหมาะสมตามหลักสรีระศาสตร์แล้ว แต่อย่างไรเสียก็ยังไม่ควรนั่งอยู่กับที่นานเกินไป ควรลุกขึ้นเปลี่ยนอิริยาบถทุก 30 นาที ซึ่งเป็นวิธีที่จะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นออฟฟิศซินโดรมที่ได้ผลมากที่สุด
ที่มา : นิตยสารชีวจิต ฉบับที่ 581
เนื้อหาอื่นๆ ที่น่าสนใจ
แก้ ออฟฟิศซินโดรม จากผู้เชี่ยวชาญ
เลือกเฟอร์นิเจอร์ ให้เหมาะกับคนทำงาน
ทำยังไงดี เมื่อในที่ทำงานมีคนหลาย “Gen” จนมี ปัญหาระหว่างวัย