ผักพื้นบ้าน

เจ็บป่วยเล็กน้อย อย่าปล่อยนาน ผักพื้นบ้าน ช่วยได้

เจ็บป่วยเล็กน้อยอย่าปล่อยไว้นาน… ผักพื้นบ้าน ช่วยได้

อาจารย์แพทย์แผนไทยคมสัน ทินกร ณ อยุธยา อธิบายว่า การกินเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของคนไทย จนมีคำกล่าวว่า กินข้าวเป็นหลัก กินผักเป็นยา กินปลาเป็นอาหาร ซึ่งแสดงว่าคนไทยรู้จักสรรพคุณและฤทธิ์ของ ผักพื้นบ้าน เป็นอย่างดี

ปวดข้อ ข้ออักเสบ

อาการปวดข้อและข้ออักเสบที่ไม่ใช่โรคเกาต์ เช่น ข้อเข่า ข้อเท้า ข้อนิ้วมือ นื้วเท้า สามารถใช้วิธีการรักษาตามแนวของธรรมชาติบำบัดได้ ถ้าหากไม่ได้เป็นมานานเรื้อรังจะมีผลการรักษาที่น่าพอใจ

ลองทำดู คุณทำได้

  1. หากข้อเข่า ข้อเท้าอักเสบ และมีน้ำหนักเกิน จะต้องลดน้ำหนักตัวลงด้วย เพื่อผ่อนเบาน้ำหนักที่จะกดลงบนข้อนั้น
  1. ประคบข้อที่ปวดหรืออักเสบด้วยน้ำร้อนสลับน้ำเย็น โดยประคบร้อน 3 นาที สลับเย็น 2 นาที ทำเช่นนี้ 3 รอบ หรือจะประคบด้วยไพล หรือลูกประคบแทนน้ำร้อนก็ได้ แต่ควรสลับด้วยการประคบเย็นทุกครั้ง เพื่อผลการรักษาอาการปวดและอักเสบที่ดีกว่า
  2. กินขิงแก่สด ครั้งละ 5 แว่น เช้า-เย็น โดยจะกินเป็นอาหาร เช่น ใส่ยำ หรือจะกินแกล้มน้ำพริกก็ดี

ท้องผูก

อาการห้องผูกคืออาการที่ไม่ถ่ายสุจจาระตามปกติหรืออุจจาระแข็งถ่ายลำบาบาก ในคนปกติจำนวนครั้งของการถ่ายอุจจาระอาจแตกต่างกัน อาจถ่าย 2 – 3 วัน/ครั้ง วันละครั้ง หรือ 2 – 3 ครั้ง/วัน แต่คนท้องผูกจะมีอาการคลื่นไส้เล็กน้อย รู้สึกไม่สบายในท้องหรือแน่น อึดอัด

ลองทำดู คุณทำได้

  1. ลองเปลี่ยนจากการกินข้าวขาวมาเป็นข้าวกล้องเพื่อเพิ่มสารเส้นใยอาหาร
  2. กินผักพื้นบ้านที่มีสารเส้นใยสูงให้มากขึ้น เช่น มะเชื่อพวง สะเดา มะระขึ้นก
  3. กินผักพื้นบ้านที่มีฤทธิ์ระบาย เช่น ยอดขี้เหล็ก ซึ่งมีทั้งสารเส้นใยสูงและมีฤทธิ์เป็นยาระบาย โดยอาจนำมาต้มให้รสขมลดลง แล้วจิ้มน้ำพริก หรือสมอไทย สามารถนำมากินกับน้ำพริกปลาย่าง หรือน้ำพริกตาแดงก็อร่อย แถมช่วยระบายท้องได้
  4. กินผลไม้สุกเป็นประจำ เช่น มะละกอ มะม่วง กล้วย ส้ม สับปะรด
  5. ดื่มน้ำแมงลักก่อนนอนเพื่อเพิ่มเส้นใยให้ทางเดินอาหาร
  6. ต้มน้ำมะขามดื่มเป็นอาหารว่าง

ผักพื้นบ้าน สู้อาการนอนไม่หลับ

อาการนอนไม่หลับโดยทั่วไปหมายถึง การที่นอนหลับยาก หลับ ๆ ตื่น ๆ หรือตื่นขึ้นมากลางดึกแล้วหลับต่อไม่ได้ ซึ่งจะส่งผลทำให้รู้สึกอ่อนเพลียในเช้าวันรุ่งขึ้น

สาเหตุของการนอนไม่หลับส่วนใหญ่เป็นเรื่องของความเครียดหรือความกังวลใจต่อเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง เช่น มีความขัดแย้งกับบุคคล มีปัญหาที่ทำงาน หรือใกล้สอบ หรือวันที่ต้องมีธุระสำคัญ ส่วนใหญ่อาการจะดีขึ้นเองภายในไม่กี่วัน แต่หากเป็นการนอนไม่หลับในระยะต่อเนื่องซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นผลจากความเครียด หรือเหตุการณ์ที่ทำให้เครียดนั้นไม่คลี่คลาย เช่น การตกงาน ปัญหาเศรษฐกิจ เงินทอง รวมถึงปัญหาครอบครัว โดยทั่วไปถ้าปัญหาต่าง ๆ ได้รับการคลี่คลาย การนอนหลับก็มักจะกลับมาเป็นปกติได้

ลองทำดู คุณทำได้ การปฏิบัติตนเมื่อนอนไม่หลับ

  1. ปรับอาหาร กินผักผลไม้สดให้มากขึ้น วันละประมาณ 5 ส่วน เพื่อเพิ่มวิตามินบีและซีไปช่วยคลายเครียด ซึ่งผักพื้นบ้านที่มีวิตามินซีสูง เช่น มะขามป้อม สมอไทย ผักติ้ว ผักแขยง
  2. ปฏิบัติการคลายเครียดด้วยการนั่งสมาธิก่อนนอน ช่วยทำให้จิตใจสงบ ดนตรีบำบัด ออกกำลังกาย เพื่อผ่อนคลายความเครียด
  3. ก่อนนอนให้นอนแช่น้ำอุ่นจัดประมาณ 20-30 นาที จะช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น
  4. การใช้ผักพื้นบ้านอย่างใบขี้เหล็กซึ่งมีฤทธิ์ช่วยในการนอนหลับ โดยนำมาทำเป็นอาหารแกงขี้เหล็กรับประทาน

โรคกระเพาะอาหาร

โรคกระเพาะอาหาร หมายถึง อาการปวดแสบ ปวดตื้อ ปวดเสียด หรือจุกแน่นตรงบริเวณใต้ลิ้นปี่ (เหนือสะดือ) เวลาก่อนหรือหลังรับประทานอาหารใหม่ ๆ

สาเหตุสำคัญของโรคกระเพาะอาหารคือ ความเครียด (วิตกกังวล คิดมาก) เคร่งเครียดกับงาน การเรียน พฤติกรรมการรับประทานอาหารผิดเวลา รวมถึงการรับประทานอาหารหรือยาที่ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหารและลำไส้ เช่น เหล้า เบียร์ แอสไพริน (ยาแก้ปวด) ยาแก้ปวดข้อ (ยาชุดหรือยาลูกกลอนที่ใส่ สเตียรอยด์) เครื่องดื่มชูกำลังที่เข้าสารกาเฟอีน

ลองทำดู คุณทำได้ สำหรับผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหาร

  1. พักการทำงานของกระเพาะอาหารสัก 2 – 3 วัน โดยการกินข้าวกล้องต้มเละ ๆ สลับกับผลไม้หรือน้ำผลไม้เท่านั้น
  2. กินขมิ้นชัน โดยนำมาโขลกกับเกลือและกระเทียม แล้วผัดน้ำมันคลุกข้าวรับประทาน ทั้งอร่อยและช่วยบรรเทาโรค หรือ เลือกรับประทานอาหารที่ใส่ขมิ้น เช่น ปลาทอดขมิ้น แกงเหลือง แกงส้มใส่ขมิ้น โดยลดความเผ็ดลง ก็จะช่วยสมานแผลในกระเพาะอาหารให้หายเร็วขึ้น

ผักพื้นบ้าน แก้ไข้หวัด

พบว่าการกินอาหารที่เหมาะสมอาจบรรเทาอาการหวัดให้ทุเลาลงและลดความถี่ของการเป็นหวัดลงได้

ลองทำดู คุณทำได้

  1. ผักพื้นบ้านที่เก็บสด ๆ และมีวิตามินชีสูง เช่น มะขามป้อม สมอไทย ผักติ้ว ผักแพว ผักหวาน จะช่วยเสริมภูมิต้านทาน บรรเทาอาการหวัดได้ดี และควรกินสด ๆ
  2. ขิง อาหารที่มีขิงเป็นส่วนประกอบ เช่น น้ำขิงร้อน ๆ จะช่วยบรรเทาอาการหวัดที่เกิดจากความเย็นได้ดี
  3. แกงเลียงใส่หัวหอมและพริกไทยมาก ๆ ก็เหมาะสำหรับยามเป็นหวัดเช่นกัน

ท้องเสีย อาหารไม่ย่อย

ท้องอึด ท้องเฟ้อ และแน่นจุกเสียด เป็นลักษณะอาการปวดจุกเสียดแน่นบริเวณหน้าท้อง เธอหม็นปรี้ยว ถ้าป็นมากท้องจะเกร็งแลมอาการท้องผูกหรือท้องสืบร่วย พบว่า เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น

  1. รับประทานอาหารรสจัด ย่อยยาก หรืออาหารสุกๆ ดิบๆ
  2. การรับประทานอาหารมากหรือเร็วเกินไป เคี้ยวไม่ละเอียด หรือกลืนน้ำลายบ่อยๆ ทำให้ลมเข้ากระเพาะอาหารมากเกินไป
  3. อารมณ์เครียดและความกังวล ทำให้ระบย่อยอยอาหารทำงานไม่สมบูรณ์

ลองทำดู คุณทำได้ ข้อปฏิบัติในการรักษาอาการท้องอึด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด

  1. รับประทานผักพื้นบ้านที่มีรสร้อนและมีน้ำมันหอมระเหยประเภทขิง กะเพรา พริกไทย ตะไคร้ กระชาย จะช่วยบรรเทาอาการได้
  2. ถ้าอาหารไม่ย่อยแนะนำให้กินผักพื้นบ้านเหล่านี้
  • ตำลึง ลวกจิ้มน้ำพริกหรือแกงจืด จะช่วยย่อยแป้งได้ดี
  • สับปะรด หากนำมาคั้นน้ำดื่มจะช่วยย่อยอาหารประเภทโปรตีน
  • เวลากินอาหารประเภทเนื้อสัตว์ให้ใช้ผักและสมุนไพรที่สามารถช่วยย่อย เช่น ใบหูเสือ หรือพริกหอมปรุงลงไปด้วย
  • อาหารประเภทผัด ที่มีความมันให้ใส่ใบกะเพราและขิงลงไป เพราะใบกะเพราช่วยย่อยไขมันได้ดี ส่วนชิงช่วยขับน้ำดี จึงช่วยให้การดูดซึมไขมันดีขึ้น

สำหรับคนทั่วไปที่ไม่อยากแก่เร็วหรือเป็นโรคร้ายแรง แนะนำให้กินผักสดวันละ 2 จาน จานละประมาณ 100 – 150 กรัม กินผลไม้สดวันละ 2 ลูก และดื่มน้ำคั้นสดจากผลไม้วันละ 1 แก้ว

บทความอื่นที่น่าสนใจ

ชีวจิตขอแชร์ วิธีเลือกน้ำมัน ประกอบอาหาร

ความดันและไขมันในเลือดสูง ปรับเปลี่ยน 3 อ (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์) ไม่ง้อยา

สูตร 10 วัน ปั้นชีวิตใหม่ สลายท็อกซิน ลดขนาดเนื้องอก

ติดตามชีวจิตได้ที่

Instagram Cheewajitmedia
Facebook นิตยสารชีวจิต

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.