ภาวะสมองเสื่อม

4 วิธีดูแลผู้ป่วย ภาวะสมองเสื่อม

ดูแลผู้ป่วย ภาวะสมองเสื่อม ยังไงดี ?

หลักการสำหรับ การดูแลผู้ป่วย ภาวะสมองเสื่อม ที่มีปัญหาหลงลืม และปัญหาพฤติกรรมแปลกๆ

  1. มีความเป็นต้อง จัดตารางในการประกอบกิจวัตรประจำวัน ของผู้ป่วยให้เหมือนๆ กันทุกวัน จนเกิดความเคยชิน และเป็นนิสัย จะสามารถช่วยลดอาการสับสนในผู้ป่วยได้ หลังจากจัดตารางกิจกรรมซ้ำๆ ทุกวัน ไปประมาณ 2 – 3 เดือนแล้ว ญาติจะรู้สึกได้ว่า ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้น และพึ่งพาคนรอบข้างลดน้อยลง
  2. เมื่อผู้ป่วยหลงลืมมากขึ้น จนขาดความใส่ใจดูแลตัวเองนั้น ไม่ใช่เพราะผู้ป่วยชอบความสกปรก จึงไม่อาบน้ำแต่งตัว ญาติที่ดูแลควรทำความเข้าใจ และไม่ต่อว่าผู้ป่วย เพราะจะทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการโมโห จนไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถพูดในสิ่งที่ตนเองต้องการได้

ในการดูแลผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมจึงควร ใช้ภาษาทางกายเป็นสื่อเสริมคำพูดด้วย เช่น

เมื่อจะพาผู้ป่วยไปห้องน้ำ ให้บอกเป็นประโยคสั้นๆ แต่ละขั้นตอน

  1. ตักน้ำราด
  2. ถูสบู่
  3. ล้างน้ำสบู่ที่ตัว
  4. เช็คตัว

อาจเตรียมเสื้อผ้าที่จะสวมให้ผู้ป่วยด้วย เพราะ ผู้ป่วยอาจมีอาการมาก จนไม่สามารถตัดสินเลือกเสื้อผ้าได้ หรือไม่สามารถเลือกเสื้อผ้าที่เหมาะสมกับโอกาสที่จะใช้ บางครั้งผู้ดูแลอาจต้องถูตัว หรือตักน้ำ

ผู้ดูแลควรทำให้ผู้ป่วยดู พร้อมๆ กันกับพูดไปด้วย

คลิกเพื่ออ่านหน้าถัดไป

  1. ผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม อาจมีบุคลิกที่ผิดปกติ หรือเปลี่ยนแปลงได้มาก เช่น โมโหหงุดหงิดง่าย โดยไม่มีเหตุผล และไม่ได้ตั้งใจ หรือแกล้งทำ โดยเฉพาะในสิ่งแวดล้อม ที่สับสนและมีเสียงดัง

การประกอบกิจกรรมที่ยุ่งยาก หลายชนิดที่ผู้ป่วยไม่เข้าใจ จะทำให้ผู้ป่วยเกิด อารมณ์หงุดหงิดโมโห ใส่คนที่อยู่ข้างๆ ได้ สิ่งที่ญาติผู้ดูแล ควรทำคือ ค้นหาเหตุ หรือเหตุการณ์ที่ทำให้ผู้ป่วย เกิดอารมณ์หงุดหงิดโมโห และพยายามหลีกเลี่ยงสถานการณ์ต้นเหตุ นั้นๆ

  1. ผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมยังมีความพอใจ ที่ได้พบปะพูดคุยกับเพื่อนฝูง หรือลูกหลานอยู่ ดังนั้น การมีคนไปมาหาสู่ คุยถึงเรื่องเก่าๆ จะทำให้ผู้ป่วยมีความสุขสดชื่นได้ การสนทนาด้วยความรู้สึกเคารพ ห่วงใย เลือกใช้น้ำเสียงที่นุ่มนวล อ่อนโยน ใช้ภาษาทางกายเป็นสื่อร่วมกับคำสนทนาเป็นสิ่งสำคัญ

ในระหว่างการเยี่ยมนั้น หัวข้อสนทนาควรเป็นเรื่องที่ผู้ป่วยสนใจ หรือยังจำได้ เช่น ชวนดูรูปเก่าๆ ดูรูปครอบครัวที่เคยไปเที่ยวด้วยกัน ดูรูปผู้ป่วยเมื่อครั้งที่ไปเที่ยวตาม สถานที่ต่างๆ เป็นต้น

การร้องเพลง การฟังเพลงร่วมกัน หรือแม้แต่การเล่นดนตรีร่วมกัน จะช่วยทำให้ผู้ป่วยมีอารมณ์แจ่มใสมากขึ้น และทำให้อาการหงุดหงิด ลดน้อยลงได้

สุดท้ายแล้ว การที่ผู้ป่วยได้รับ การวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง และได้รับการรักษาตั้งแต่เริ่มต้น เป็นเรื่องสำคัญมาก ในการรักษาภาวะสมองเสื่อม ซึ่งได้ผลดีที่สุด

ข้อมูลเรื่อง “4 วิธีดูแลผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม” จากหนังสือ 14 เคล็ดลับ ทำให้อายุยืน

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.