มะเร็งรังไข่, มะเร็งเต้านม, มะเร็งปากมดลูก, มะเร็ง, โรคมะเร็ง, cancer

3 ประสบการณ์จริง สู้ “มะเร็งผู้หญิง”

3 Cancer Winners วิธีรบสยบมะเร็ง

ข้อมูลสถิติผู้ป่วยโรคมะเร็ง จากกระทรวงสาธารณสุข ปีพุทธศักราช 2555 เผยว่า ‘ผู้เสียชีวิตด้วยมะเร็งเต้านม เพิ่มสูงขึ้นถึงปีละ 3,000 กว่าคน ในจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ปีละ 30,000 กว่าคน และพบว่า ผู้หญิงกว่า 19 ล้านคน จาก 33 ล้านคน มีแนวโน้มป่วยเป็นมะเร็งเต้านม’

แค่มะเร็งเต้านม ยังร้ายแรงขนาดนี้ หากรวมมะเร็งชนิดอื่นๆเข้าไป จะมีผู้ป่วยและเสียชีวิตมากสักเท่าไร…

วันนี้จึงขออาสาเป็นพี่เลี้ยงคอยดูแลสุขภาพ เพื่อป้องกันโรคมะเร็งในผู้หญิง คือ มะเร็งรังไข่ มะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก ผ่านแง่มุมของผู้ป่วยที่มีประสบการณ์ในสมรภูมิมะเร็ง

หวังเพียงว่า ผู้อ่านจะนำความรู้ไปปรับใช้ เพื่อให้ปลอดภัยจากโรคร้ายเหล่านี้ หรืออย่างน้อยที่สุด สามารถดูแลตนเองและผู้ป่วยใกล้ตัว ให้ก้าวข้ามผ่านพ้นวิกฤติมะเร็งไปได้

มะเร็งรังไข่… จับสัญญาณจากอาการปวดท้อง

คุณเอ๋ย – นีรยา พิมพ์อุไร นักศึกษา อายุ 20 ปี ผู้คอยดูแลคุณแม่ซึ่งป่วยด้วยมะเร็งรังไข่ ได้เล่าอาการป่วยของคุณแม่ ให้ฟังว่า “ประมาณ 2 ปีที่แล้ว คุณแม่ปวดท้องบ่อยๆ แน่นและอึดอัดท้องมากๆ คล้ายกับอาการของผู้ที่มีแก๊สในกระเพาะอาหารเยอะค่ะ ทั้งๆ ที่คุณแม่รู้สึกเบื่ออาหาร กินข้าวไม่ได้ แต่ท้องน้อยกลับโตขึ้นๆ และมีอาการซึมเศร้า

“หลังจากนั้น อาการแย่ลงเรื่อยๆ ค่ะ คุณแม่ไม่ค่อยมีแรง เป็นไข้ หนาวๆร้อนๆ แต่ท่านคิดว่า ความผิดปกตินี้ เป็นอาการsle,เอสแอลอี,วิตามิน,อิมมูน,โรคแพ้ภูมิตัวเอง,โรคพุ่มพวงจากภาวะหมดประจำเดือน คงไม่เป็นไรมาก แต่เอ๋ยทนไม่ไหว เพราะสภาพร่างกายคุณแม่แย่สุดๆ จึงพาท่านไปโรงพยาบาล และตรวจพบมะเร็งรังไข่ระยะที่ 1C คือ เซลล์มะเร็งอยู่ในรังไข่ทั้ง 2 ข้าง และกระจายมาที่บริเวณผิวรังไข่ข้างซ้ายค่ะ”

ระหว่างที่ตรวจพบและรอการรักษา คุณแม่ของคุณเอ๋ยมีอาการเพิ่มขึ้น คือ ปวดหลังแทบเดินไม่ไหว และถ่ายปัสสาวะทุก 30 นาที เพราะก้อนมะเร็งไปกดทับกระเพาะปัสสาวะ คุณเอ๋ยเล่าต่อว่า

“คุณหมอรักษาด้วยการผ่าตัดร่วมกับการทำเคมีบำบัดค่ะ เอ๋ยเห็นคุณแม่ซูบผอมลงไปมาก เพราะเสียเลือด น้ำหนักลด ท้องอืด คลื่นไส้อาเจียน ขับถ่ายไม่ปกติ และกินอาหารไม่ได้ ซึ่งเป็นผลข้างเคียงจากการรักษาค่ะ”

ชีวจิต ขอเป็นหนึ่งกำลังใจ ให้คุณแม่ฟื้นตัวในเร็ววัน และต้องบอกว่า คนไข้โชคดีเหลือเกินที่ตรวจพบมะเร็งรังไข่ก่อนที่จะลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆ

“ยุงกัดเจ็บนิดเดียวยังตบกันทัน มะเร็งไม่มีปีกบินหนีแท้ ๆ ฝังอยู่ในร่างกายผู้ป่วยมาตั้งนาน ถ้าสนใจสักนิด อาจจะตรวจเจอและรักษาทัน”

ดังนั้น ฟังเสียงร่างกายสักนิด จะช่วยป้องกันมะเร็งรังไข่ไม่ให้ลุกลามได้ค่ะ

8 อาการเสี่ยงมะเร็งรังไข่ พบหมอด่วน

กุญแจดอก สำคัญที่จะทำให้ผู้หญิงรอดชีวิตจากมะเร็งรังไข่ คือ การพบโรคร้ายตั้งแต่ระยะแรก ๆ จากการสังเกตอาการผิดปกติของตนเอง ซึ่ง แพทย์หญิงชัญวลี ศรีสุขโข สูติ – นรีแพทย์และหัวหน้าแผนกสูติกรรม โรงพยาบาลพิจิตร จังหวัดพิจิตร ได้แนะนำวิธีสังเกตอาการของมะเร็งรังไข่ไว้ในหนังสือชุดโรคภัยใกล้ตัว ต้านมะเร็งรังไข่ สำนักพิมพ์อมรินทร์สุขภาพ ดังต่อไปนี้

  1. เบื่ออาหารหรืออิ่มเร็ว เพราะมะเร็งเป็นก้อนขนาดใหญ่อยู่ในรังไข่ จึงไปกดทับกระเพาะอาหาร ลำไส้ หรือมะเร็งรังไข่ผลิตน้ำออกมาในช่องท้อง
  2. ปวดท้องน้อย ท้องอืด จุกเสียด หรือปวดทั่วท้องเป็นประจำโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ, กระเพาะปัสสาวะอักเสบ, ปวดท้อง,อาการ,สกินนี่,ยีนส์,โรค,ปวดหลัง,ปวดท้อง,backache
  3. ท้องโตขึ้น ท้องน้อยนูนขึ้น ลักษณะคล้ายคนท้องหรือมีพุงแม้ว่าจะกินน้อย เพราะมะเร็งเป็นก้อนขนาดใหญ่อยู่ในรังไข่ หรือมะเร็งรังไข่ผลิตน้ำออกมาในช่องท้อง
  4. ปัสสาวะผิดปกติ มีอาการแสบขัดบ่อยครั้ง และรู้สึกปัสสาวะไม่สุด เพราะก้อนมะเร็งรังไข่ไปกดทับกระเพาะปัสสาวะ
  5. ปวดหลังมาก ในบางคนอาจจะเดินหรือนั่งไม่ไหว เพราะมะเร็งรังไข่ไปรบกวนการทำงานของเส้นประสาทบริเวณหลัง
  6. ท้องผูกเรื้อรัง ขับถ่ายไม่สะดวก จนทำให้ตัวร้อนคล้ายเป็นไข้เพราะมะเร็งรังไข่กดทับลำไส้ใหญ่หรือกระจายไปยังลำไส้ใหญ่
  7. ประจำเดือนมากะปริบกะปรอย หรือมาครั้งละมาก ๆ เป็นเวลานานเพราะมะเร็งรังไข่จะสร้างฮอร์โมนเพศไปรบกวนการทำงานของรังไข่
  8. หากเป็นมะเร็งรังไข่นานมาก ๆ จะเกิดอาการอ่อนเพลียรุนแรงตัวซีด หายใจเหนื่อยหอบ เจ็บในอก ตาเหลือง ตัวเหลือง และมีอาการผิดปกติอื่น ๆ แล้วแต่พื้นฐานสุขภาพของผู้ป่วย

ทั้งนี้ ผู้หญิงควรสังเกตความผิดปกติของร่างกายโดยละเอียด หากพบอาการผิดปกติควรไปพบแพทย์ เพื่อให้แพทย์ตรวจวินิจฉัย เพราะการตรวจพบมะเร็งรังไข่แต่เนิ่นๆ และเข้ารับการรักษาในทันที จะช่วยให้ผู้ป่วยกว่าร้อยละ 90 มีชีวิตอยู่ได้นานกว่า 5 ปี หลังเข้ารับการรักษาตามมาตรฐานทางการแพทย์

คุณหมอชัญวลีฝากทิ้งท้าย ว่า “คนไข้ร้อยละ 80 มาพบแพทย์เมื่อเป็นมะเร็งระยะหลังๆ หรือ ลุกลามไปที่อวัยวะอื่นๆ แล้ว ส่วนใหญ่บอกว่าเพราะแค่มีอาการผิดปกติเล็กๆ น้อยๆ จึงไม่สนใจดูแล ไม่รู้ว่าเป็นอาการของมะเร็งรังไข่ ดังนั้นเมื่อพบข้อสงสัยใดๆ ให้รีบไปพบแพทย์เผื่อตรวจจะดีที่สุดค่ะ”

จากนี้มาตามต่อกันเรื่อง “มะเร็งเต้านม” มะเร็งผู้หญิงตัวร้าย …จะทำอย่างไรจึงหาย

อ่านต่อ หน้าถัดไป ค่ะ

7 ทางรอดมะเร็งเต้านม

เพราะห่วงแม่และลูกสาว จึงไม่หาย…ไม่ได้แล้ว!

คุณแข – ขนิษฐา พิศพุ่ม อายุ 40 ปี อดีตข้าราชการระดับ 8 ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่กระจายลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลือง เล่าประสบการณ์ให้ฟังเพื่อเป็นข้อคิดแก่ผู้หญิงว่า

“แขมีเพื่อนเป็นหมอ บังคับให้คลำเต้านมทุกครั้งที่เจอกัน แต่ไม่เคยทำตามเลยค่ะ จนวันหนึ่ง อยู่ดี ๆ คุณแม่บอกว่าให้พาท่านไปตรวจสุขภาพ เลยไปตรวจพร้อมกับคุณแม่ปรากฏว่าเจอมะเร็งเต้านมก้อนใหญ่ขนาด 6 เซนติเมตร วินาทีที่รู้ไม่ได้กลัวตาย แต่เป็นห่วงคุณแม่กับลูก ๆ สองคน เพราะคุณพ่อกับสามีเสียชีวิตไปแล้ว แขบอกคุณหมอว่า จะทำทุกวิธีเพื่อให้มีชีวิตอยู่กับครอบครัวให้นานที่สุด”

คุณแขเข้ารับการรักษาโดยผ่าตัดเต้านมทิ้งทั้งสองข้าง จากนั้นจึงรับรังสีรักษาต่อ ขณะนี้ผ่านมาแล้ว 2 ครั้งมะเร็ง,มะเร็งเต้านม,breast cancer

“ทำรังสีรักษาครั้งที่ 1 รู้เลยว่าร่างกายอ่อนแอกว่าเดิมอย่างเห็นได้ชัด เพราะผลข้างเคียงทำให้อ่อนเพลีย แล้วไม่ได้เป็นแค่วันเดียว เป็นนานกว่า 20 วันค่ะ แถมมีอาการเหนื่อยล้า หอบง่ายและเวียนศีรษะด้วย

“เมื่อฉายรังสีรักษาครั้งที่ 2 ผิวบริเวณที่ฉายแสงไหม้เป็นแถบ กลายเป็นสีคล้ำช้ำเลือดช้ำหนอง รู้สึกปวดแสบปวดร้อน ทรมานและท้อใจแทบจะทนต่อไปไม่ไหว เพราะเหน็ดเหนื่อยกับผลข้างเคียงมาก คุณภาพชีวิตตกต่ำลงเรื่อย ๆ ไหนจะค่ารักษาพยาบาลที่แพงมาก”

ถึงจะท้ออย่างไร แต่คุณแขได้รับกำลังใจจากคุณแม่และลูก ๆ ซึ่งคุณแม่บอกกับเธอว่า ค่ารักษาพยาบาลหาใหม่เมื่อไรก็ได้ ตราบที่ยังพอมีแรง และเมื่อได้ฟังดังนั้น คุณแขจึงตัดสินใจสู้สุดชีวิต ปฏิบัติตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัดทุกข้อ พร้อมกับปรับวิถีชีวิต โดยหันมากินอาหารสุขภาพ เช่น ถั่ว เต้าหู้ ข้าวกล้องผักผลไม้ แม้จะรักษาด้วยแพทย์แผนปัจจุบันเป็นหลัก และดูแลตัวเองแบบธรรมชาติด้วยค่ะ โดยเข้านอนสองทุ่ม ตื่นตีห้าพร้อมลูก ๆ และคุณแม่ทุกวัน เพื่อเดินออกกำลังกายหน้าบ้านประมาณ 30 – 45 นาที ให้พอมีเหงื่อออก ปอดได้รับออกซิเจนเต็มที่ และช่วยปลุกร่างกายให้กระฉับกระเฉง คิดเสียว่าผลข้างเคียงจากการเข้ารับรังสีรักษาที่เล่าให้ฟังนั้นไม่ได้อยู่กับแขนาน”

นอกจากนั้น คุณแขยังทำกิจกรรมบำบัดโดยการปลูกผักสวนครัวในกระบะเล็ก ๆ บริเวณระเบียงบ้าน เช่น คะน้า ตำลึง พริกขี้หนู เป็นต้น เพื่อนำผักปลอดสารพิษมาทำอาหารซึ่งดีต่อสุขภาพ

คุณแขกล่าวต่อว่า “คุณแม่ของแขประเสริฐยิ่งนัก จะคอยคั้นน้ำผักหรือผลไม้ให้ดื่มก่อนกินข้าววันละ 3 ครั้ง มีแอ๊ปเปิ้ล แครอต กวางตุ้ง แตงโมและแก้วมังกร สลับ ๆ กันไป หากวันไหนไม่ได้ไปโรงพยาบาล ช่วงบ่าย ๆ แขกับคุณแม่จะผลัดกันนวดตัวค่ะ นวดธรรมดา ๆ นี่ละค่ะ ไม่มีแบบแผนอะไร คือบีบ ๆ จับ ๆ ซึ่งไม่รู้คิดไปเองหรือเปล่า แต่พลังแห่งการสัมผัสด้วยความรักนี้มหัศจรรย์เหลือเกิน แขคิดว่าตัวเองหายวันหายคืนเลยค่ะ”นวดแก้ไมเกรน, การนวด, นวดไทย, นวดบำบัดอาการ, massage,มะเร็ง

ขั้นตอนสำคัญซึ่งลืมไม่ได้ ก่อนนอนคุณแขจะต้องสวดมนต์และภาวนาให้มะเร็งหาย โดยบอกลูก ๆ เสมอว่า จะกลับมามีสุขภาพแข็งแรงอีกครั้ง และเหมือนปาฏิหาริย์ เพราะทุกวันนี้คุณแขต่อสู้กับมะเร็งเต้านมจนโรคร้ายพ่ายแพ้ไปแล้ว

แต่ถึงอย่างนั้น คุณแขยังคงดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ

8 Risks เสี่ยงมะเร็งเต้านม

  1. เพศ : พบมะเร็งเต้านมในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 100 เท่า
  2. กรรมพันธุ์ : ร้อยละ 10 ของผู้ป่วยที่ตรวจพบ จะมีญาติเป็นมะเร็งเต้านม
  3. อายุ : ร้อยละ 70 – 80 ของมะเร็งเต้านมเกิดในผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 50 ปี
  4. ภาวะเครียด : ผู้มีอาการเครียดเรื้อรังเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่าคนที่สุขภาพจิตดี 2 เท่า
  5. ผู้ป่วยในกลุ่มโรคเมแทบอลิกซินโดรม (Metabolic Syndrome) : ผู้ป่วยโรคอ้วน ความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่าผู้ที่มีสุขภาพปกติ 3 เท่า
  6. วิถีชีวิต : น้ำหนักตัวมาก ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่จัด ไม่ออกกำลังกาย หรือกินอาหารไขมันสูง
  7. ยีนกลายพันธุ์ : ผู้หญิงที่มียีนกลายพันธุ์บีอาร์ซีเอ 1 (BRCA 1) และบีอาร์ซีเอ 2 (BRCA 2) นั้น จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งรังไข่และมะเร็งเต้านม
  8. ปัจจัยอื่น ๆ : ผู้ที่เคยเป็นมะเร็งเต้านมข้างหนึ่ง เต้านมอีกข้างจะมีโอกาสเป็นซ้ำมากกว่าผู้อื่น 5 เท่า ผู้ที่มีลูกหลังอายุ 34 ปีจะเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่าผู้ที่มีลูกขณะอายุน้อย 4 เท่า ผู้ที่มีประจำเดือนก่อนอายุ 12 ปีจะเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่าผู้มีประจำเดือนหลังอายุ 12 ปี 1.3 เท่า

7 ทางรอดมะเร็งเต้านม

นอกจากการผ่าตัดและรังสีรักษาแล้ว ยังมีวิธีการรักษามะเร็งเต้านมแบบอื่น ๆ อีก ซึ่งคุณหมอชัญวลีอธิบายไว้ในหนังสือชุดโรคภัยใกล้ตัว ต้านมะเร็งเต้านมสำนักพิมพ์อมรินทร์สุขภาพ ว่า การรักษามะเร็งเต้านมสามารถทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ ผลชิ้นเนื้อจากการวินิจฉัยทางพยาธิวิทยา ตัวผู้ป่วยมะเร็งเต้านม และข้อจำกัดอื่น ๆ ซึ่งมีรายละเอียดโดยสรุปดังต่อไปนี้

  1. การผ่าตัด : ในปัจจุบันพบว่า ร้อยละ 60 – 75 ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมสามารถผ่าเพื่อตัดเฉพาะก้อนมะเร็งและเนื้อเยื่อรอบ ๆ เพียงเล็กน้อยได้ แต่หากมะเร็งกระจายต่อไปยังต่อมน้ำเหลือง อาจต้องใช้วิธีรังสีรักษา เคมีบำบัด หรือวิธีอื่น ๆควบคู่กันไป
  2. รังสีรักษา : ส่วนใหญ่จะใช้หลังการผ่าตัด 2 – 4 สัปดาห์เพื่อทำลายเซลล์มะเร็งที่อาจหลงเอุบัติเหตุทางการแพทย์,โรคหมอทำ,อุบัติเหตุ,accident,โรคdiabetes,ฉี่บ่อย,เบาหวาน,โรคเบาหวาน,กินหวาน,ของหวาน,สาทิส อินทรกำแหงหลืออยู่บริเวณต่อมน้ำเหลืองหรือที่เต้านม ลดการเกิดซ้ำของมะเร็งเต้านม และใช้เมื่อผู้ป่วยไม่สามารถผ่าตัดได้ ในกรณีที่สภาพร่างกายไม่พร้อมหรือเป็นมะเร็งเต้านมระยะสุดท้าย
  3. เคมีบำบัด : ใช้ในกรณีที่มะเร็งกระจายไปต่อมน้ำเหลืองไหปลาร้า กระดูก ปอด หรือสมอง หรือกรณีที่ผู้ป่วยเป็นมะเร็งก่อนหมดประจำเดือนและไม่มีตัวรับสัญญาณฮอร์โมน
  4. ฮอร์โมนบำบัด : ใช้รักษาร่วมกับการผ่าตัด รังสีรักษาและเคมีบำบัด หรือใช้สำหรับมะเร็งระยะสุดท้ายที่ดื้อต่อการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ ซึ่งผู้ป่วยมะเร็งเต้านมจะรับการรักษาด้วยวิธีนี้ได้ในกรณีที่มีตัวรับสัญญาณฮอร์โมนที่ก้อนมะเร็ง โดยแพทย์จะให้ยาต้านฮอร์โมนในร่างกายไม่ให้ไปกระตุ้นการเจริญเติบโตของมะเร็ง
  5. ภูมิต้านทานบำบัด : เป็นการกำจัดมะเร็งเต้านมโดยใช้ภูมิต้านทานจากทั้งภายในและภายนอกร่างกาย อาจใช้ในกรณีที่มะเร็งดื้อต่อเคมีบำบัดและฮอร์โมนบำบัด เนื่องจากมียีนกลายพันธุ์ที่กระตุ้นการสร้างมะเร็ง
  6. การรักษาที่เป้าหมายของการเกิดมะเร็ง (Targeted Therapy) : โดยให้ยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงกับผู้ป่วย ซึ่งจะขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยและดุลยพินิจของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ว่าผู้ป่วยรับยาได้หรือไม่ เพราะปัจจุบันนี้ยาที่ใช้ยังคงมีราคาสูงมาก
  7. ชีวบำบัด : การให้สารเพิ่มภูมิต้านทานเพื่อไปทำลายเซลล์มะเร็ง นิยมใช้คู่กับเคมีบำบัด หรือใช้กับผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ

ทุก ๆ ทางเลือกในการรักษามะเร็งเต้านมที่กล่าวมานั้นจะมีผลข้างเคียงทางร่างกาย เช่น อ่อนเพลีย เวียนศีรษะคลื่นไส้ เบื่ออาหาร ขาหรือแขนบวม ผมร่วง เป็นต้นผู้ป่วยควรศึกษาข้อมูลการเตรียมตัวทั้งก่อนและหลังการรักษาเพื่อปฏิบัติตนให้ถูกต้อง ซึ่งจะบรรเทาความเจ็บปวดและช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพสูงสุด

นอกจากมะเร็งเต้านม และมะเร็งรังไข่แล้ว “มะเร็งปากมดลูก” ก็เป็นอีกโรคร้ายที่คุกคามผู้หญิงไทยจำนวนมาก
จากนี้มาฟังประสบการณ์ของสามีผู้ดูแลภรรยาที่ป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูกอย่างใกล้ชิดกันค่ะ ที่ หน้าถัดไป ค่ะ

5 วิธีดูแลมะเร็งปากมดลูก

พร้อมเรียนรู้… กำลังใจสำคัญเสมอ

คุณคมคาย – อนันต์ อาณาวาริศ วัย 67 ปี ผู้สูญเสียภรรยาไปด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก ทว่าระหว่างที่ คุณอิ่ม – นิพาพรรรณ อาณาวาริศ ภรรยาวัย 65 ปี ยังมีชีวิตอยู่ คุณคมคายได้อุทิศทั้งกายและใจปรนนิบัติดูแลภรรยาตลอด 24 ชั่วโมงเป็นเวลานานกว่า 11 เดือน ตราบวันสุดท้ายของลมหายใจ…

มะเร็งปากมดลูก, อัลไซเมอร์, โรคอัลไซเมอร์, โรคมะเร็ง, มะเร็ง, มะเร็งรังไข่, มะเร็งเต้านม, มะเร็งผู้หญิง, Cancer“คุณอิ่มเป็นมะเร็งปากมดลูก อัลไซเมอร์ และหัวใจ แค่เฉพาะมะเร็งเดือนๆ หนึ่งเสียค่ารักษา 300,000 บาท ดังนั้นเบ็ดเสร็จใช้เงินรักษาไปกว่า 10 ล้านบาท

“ระหว่างที่รักษา ทั้งครอบครัวช่วยกันดูแลควบคู่กันไปกับการแพทย์แผนปัจจุบันสิ่งที่ต้องทำเป็นประจำทุกวันคือ ทำกับข้าวให้กิน นวดตัวให้ ร้องเพลงให้ฟัง และชวนสวดมนต์”

สำหรับการนวดตัวนี้ คุณคมคายเน้นนวดที่แขน แผ่นหลัง ขา และเท้า ประมาณ15 – 30 นาที เพื่อช่วยคลายความเครียด เสมือนเป็นการบอกให้ผู้ป่วยรู้ว่า สามีรักและเป็นห่วงอยู่เสมอ ส่วนลูก ๆ จะคอยผลัดกันมานวดหรือสวดมนต์ให้ฟังในวันเสาร์ – อาทิตย์ นอกจากนั้น คุณคมคายยังให้ญาติที่เป็นนักกำหนดอาหารวิชาชีพช่วยแนะนำเรื่องอาหารการกิน

คุณคมคายเล่าว่า “ทั้งบ้านกินแต่ข้าวกล้อง ผักสดที่ปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ ทำน้ำเต้าหู้ดื่มเอง และพยายามเลิกใช้สารเคมีอันตรายทุกชนิด เช่น น้ำยาล้างห้องน้ำผงซักฟอก เป็นต้น เพราะคิดว่าร่างกายคุณอิ่มอ่อนแอมาก จากทั้งการผ่าตัดและเคมีบำบัด ควรใช้ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้ สะอาด และปลอดภัยมากกว่า”

ด้วยความรักและใส่ใจอย่างละเอียดอ่อน คุณคมคายอาบน้ำ เช็ดตัว คอยป้อนข้าวจัดยาให้แก่คุณอิ่มด้วยตนเองทุกวัน และเพื่อไม่ให้คุณอิ่มเครียดจากการต้องเผชิญ 3 โรคร้ายในคราวเดียว คุณคมคายถึงกับแอบไปเรียนร้องเพลง เพื่อจะได้ร้องเพลงไทยเดิมเพราะ ๆ ให้คุณอิ่มฟังยามบ่ายและก่อนสวดมนต์เข้านอน

“ลูก ๆ จะคอยเปิดเพลงบรรเลงให้คุณอิ่มฟัง แต่ผมคิดว่า อย่างมากก็ฟังแค่ผ่าน ๆหู แต่ถ้าคุณอิ่มได้ฟังจากปากคนร้องสด ๆ คงจะได้รับความบันเทิงมากกว่า และเป็นจริงดังที่คาด เพราะแม้ขณะที่คุณอิ่มอ่อนเพลียจนลุกเดินไม่ไหว ยังหัวเราะไปกับเพลงเพี้ยน ๆ ได้

“หลังจากร้องเพลงเสร็จจะสวดมนต์บทโพชฌังคปริตรพร้อมกันเสียงดัง ๆ ซึ่งคุณอิ่มบอกว่า วันไหนไม่สวดจะนอนหลับไม่สนิท หลังจากคุณอิ่มเสีย ผมยังสวดมาจนถึงทุกวันนี้”

แต่สุดท้ายกลับทำได้แค่ยื้อลมหายใจไว้เพียงช่วงสั้น ๆ

จากคำบอกเล่าของคุณคมคายและความรู้จากคุณหมอชัญวลี พบว่าผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะสุดท้ายมีโอกาสรอดชีวิตน้อย ดังนั้น เพื่อความปลอดภัย ผู้หญิงจึงควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแต่เนิ่น ๆ หากพบเจอมะเร็งตั้งแต่ระยะเริ่มต้นจะได้รักษาทันเพราะไม่ว่าปัจจุบันหรืออนาคตจะมีความก้าวหน้าในการรักษามะเร็งปากมดลูกมากเพียงใด คงไม่มีใครอยากเผชิญโรคร้ายชนิดนี้เป็นแน่

จากสามประสบการณ์ของผู้หญิงที่ป่วยเป็นมะเร็ง ชีวจิต พบว่า ทั้งผู้ป่วยและครอบครัวต้องเผชิญกับความเจ็บปวดและทุกข์ทรมาน แต่เพราะความรักและกำลังใจจากคนรอบข้าง จึงทำให้ผู้ป่วยบางคนสามารถเอาชนะโรคร้ายได้สำเร็จหากแม้ผู้ป่วยบางคนจะต้องพ่ายแพ้ แต่ก็จากไปอย่างสงบ…

“กำลังใจ” จึงถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับผู้ป่วยและทุกๆ คนค่ะ

สาว ๆ ดูแลตนเองแล้ว อย่าลืมดูแลคุณแม่และรักกันมาก ๆ …

How to มะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูก, โรคมะเร็ง, มะเร็ง, มะเร็งรังไข่, มะเร็งเต้านม, มะเร็งผู้หญิง, Cancerคุณหมอชัญวลีชี้อาการเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้

  1. ตกขาวผิดปกติ ได้แก่ มีตกขาวในวัยหมดประจำเดือน มีตกขาวออกเยอะมากและนานเกิน 7 วัน ตกขาวมีสีเหลือง เขียว หรือมีเลือดปนตกขาวมีกลิ่นเหม็นบูด เหม็นคาวหรือเหม็นเน่า และตกขาวมีเศษเนื้อปนออกมา หากมีอาการผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่ง ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที
  2. มีเลือดออกจากช่องคลอด พบได้บ่อยในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะลุกลาม ได้แก่ มีเลือดสด ๆ ออกมาเป็นจำนวนมาก มีเลือดออกกะปริบกะปรอยทั้งเดือน มีเลือดปนน้ำจาง ๆ ออกมา หรือมีเลือดปนมูกไหลออกมาและมีกลิ่นเหม็น ซึ่งหากมีอาการผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่ง ต้องรีบปรึกษาแพทย์โดยเร็วที่สุด
  3. อาการมะเร็งปากมดลูกเต็มขั้นได้แก่ น้ำหนักลด ซึมเศร้า เบื่ออาหารซูบผอม ปัสสาวะไม่ออก ถ่ายอุจจาระลำบากและอาจจะมีเลือดปน ขาบวมเพราะเซลล์มะเร็งกดหลอดเลือดและหลอดน้ำเหลือง ในระยะนี้โอกาสหายจากมะเร็งจะเหลือเพียงร้อยละ 7 เท่านั้น

5 วิธีดูแลมะเร็งปากมดลูก

คุณ หมอชัญวลีแนะนำผู้ป่วยและผู้ที่คอยดูแลผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกไว้ในหนังสือ ชุดโรคภัยใกล้ตัว ต้านมะเร็งปากมดลูก สำนักพิมพ์อมรินทร์สุขภาพ ให้ปฏิบัติตามหลักการดังต่อไปนี้

  1. ผู้ป่วยที่พบว่าเป็นมะเร็งอาจ จะไม่ได้เตรียมตัวและเตรียมใจมาก่อนเมื่อพบว่าป่วย จะต้องรีบเข้ารับการรักษาอย่างรวดเร็ว ดังนั้น ครอบครัวและคนใกล้ชิดจึงต้องคอยให้กำลังใจ พูดคุยกันในแง่ดี อธิบายถึงวิธีการรักษาหากผู้ป่วยสงสัย และเข้าใจอาการตื่นตระหนกของผู้ป่วย
  2. หลังผ่าตัด ผู้ป่วยอาจต้องพักฟื้นนาน ควรจัดห้องให้นอนชั้นล่างหลีกเลี่ยงการก้าวขึ้นบันไดหรือพื้นต่างระดับ
  3. จัด อาหารให้ผู้ป่วยอย่างถูกสัดส่วน เน้นข้าวกล้อง เนื้อปลาทะเลถั่วเหลือง ผัก และผลไม้รสไม่หวานจัด ทั้งนี้ต้องระวังเรื่องความสะอาดของอาหาร ไม่ควรให้ผู้ป่วยท้องผูก ท้องเสีย หรือมีอาการของโรคอาหารเป็นพิษ
  4. เสื้อผ้าของผู้ป่วยต้องสวมใส่สบาย หลีกเลี่ยงกระดุมและซิป เพื่อป้องกันแผลกดทับจากการนั่งหรือนอนเป็นเวลาหลายชั่วโมง
  5. ผู้ ดูแลผู้ป่วยควรศึกษาอาการของมะเร็งปากมดลูกและวิธีการรักษาอย่างละเอียด เพื่อให้เข้าใจถึงผลข้างเคียงที่จะเกิดจากการรักษา และสามารถสังเกตอาการผิดปกติของผู้ป่วยได้ เช่น ถ้าผู้ป่วยเป็นไข้ เจ็บแผลเนื่องจากแผลมีหนองหรือติดเชื้อ ต้องรีบพาไปพบแพทย์

——————————————————————

ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจากหนังสือของสำนักพิมพ์อมรินทร์สุขภาพ ชุดโรคภัยใกล้ตัว ต้านมะเร็งปากมดลูก ต้านมะเร็งรังไข่ และ ต้านมะเร็งเต้านม ซึ่งเขียนโดยแพทย์หญิงชัญวลี ศรีสุโข สูติ – นรีแพทย์และหัวหน้าแผนกสูติกรรม โรงพยาบาลพิจิตร จังหวัดพิจิตร สมาคมรังสีรักษาและมะเร็งวิทยาแห่งประเทศไทยสมาคมโรคเต้านมแห่งประเทศไทย

ข้อมูลเรื่อง “3 ประสบการณ์จริง สู้มะเร็งผู้หญิง” เรียบเรียงจากคอลัมน์ เรื่องพิเศษ นิตยสารชีวจิต ฉบับ 356 (1 สิงหาคม 2556) เขียนโดย: วิริยา บุญม่วง

 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.