เข้าใจลูก ลดปัญหาครอบครัว ครอบครัว ปัญหาครอบครัว ลดเครียด แม่ลูก

3 ขั้นตอนเพื่อ เข้าใจลูก ลดความเครียดของพ่อแม่

ขั้นตอน เข้าใจลูก ลดเครียดพ่อแม่

วิธีแก้ปัญหาไม่ เข้าใจลูก จากปัญหานี้ ดิฉันเป็นคุณแม่ลูกหนึ่ง อายุ 12 ปี ดิฉันเป็นห่วงลูกมาก พอเห็นลูกเล่นเกม ไม่ยอมทำการบ้านก็เกิดความรู้สึกโมโห บางทีเลยหลุดด่าทอลูก บางทีถ้าโมโหมาก อาจหลุดพูดคำที่รุนแรงขึ้น เช่น “วันๆ เอาแต่เล่น เหลวไหล มีลูกอย่างแกมีแต่ปวดหัว ไม่น่ามีแกเลย” ผลคือลูกรู้สึกแย่กับดิฉันมากไม่อยากพูดคุยกับดิฉัน ความสัมพันธ์ระหว่างดิฉันกับลูกแย่ลงไปเรื่อยๆ ค่ะ ดิฉันเสียใจและไม่รู้จะทำอย่างไรเลยค่ะ ดิฉันควรจะทำอย่างไรดีคะ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์แพทย์หญิงทานตะวัน อวิรุทธ์วรกุล อาจารย์ประจำภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้เชี่ยวชาญปัญหาด้านจิตใจความสัมพันธ์ และโรคทางจิตเวช มาตอบคำถามนี้

ปัญหาของคุณแม่ที่ถามมา เกิดจากการสื่อสารกันอย่างไม่เหมาะสมจริงๆ คุณแม่รักและห่วงใยลูกมาก แต่การสื่อสารที่ส่งออกไปทำให้ลูกไม่สามารถสัมผัสได้ถึงความรักและห่วงใยจากคุณแม่ได้ หรืออาจพานเข้าใจผิด คิดว่าคุณแม่ไม่รัก ไม่ภูมิใจที่มีเขา ดังนั้นสิ่งสำคัญคือ การกลับมาปรับวิธีสื่อสารให้เหมาะสมขึ้น เพื่อให้สามารถส่งความรักความห่วงใยที่คุณแม่มีไปถึงลูกได้อย่างเต็มที่ค่ะ

เข้าใจลูก ลดปัญหาครอบครัว ครอบครัว ปัญหาครอบครัว ลดเครียด แม่ลูก

การสื่อสารอย่างสันติมีแนวทาง 3 ประการ ดังนี้

1. รู้เรา

ตระหนักรู้อารมณ์ตนเองก่อนว่าเกิดอะไรขึ้นกับเรา เพราะอะไร “เราถึงไม่พอใจ” กลับมาสำรวจอารมณ์ ความคิด ความคาดหวังว่าเป็นเพราะอะไรเราจึงรู้สึกไม่พอใจ หลังจากที่เริ่มรู้ทันอารมณ์ตัวเอง หลายคนจะเริ่มสงบเย็นลง จึงค่อยเริ่มสื่อสารถ้าใจยังไม่สงบเย็น อย่าเพิ่งสื่อสาร ให้ปลีกตัวออกมาปรับอารมณ์ตนเองให้เย็นลงก่อน เพราะการสื่อสารทั้งที่ยังโมโหมากอาจเกิดผลร้ายมากกว่าผลดี เพราะทำให้มักจะหลุดสิ่งที่ไม่ควรพูดและไม่ใช่ความรู้สึกที่อยากสื่อออกไปจริงๆ ค่ะ หลายครั้งพูดเสร็จจะกลับมาเสียใจภายหลัง

ดังนั้น การตระหนักรู้ว่าตัวเองอยู่ในอารมณ์ไหน ระดับไหนเป็นสิ่งที่ต้องทำ

 

2. การสื่อสารแบบ “I message”

คือ การบอกความคิด ความรู้สึก และความต้องการของเราออกไปโดยไม่ได้ตำหนิใคร เป็นการสื่อสารโดยบอกความคิดความรู้สึก และความต้องการภายใน ภาษาทางจิตวิทยาเรียกการสื่อสารนี้ว่า “I message” เป็นเพราะอะไรเราจึงรู้สึกไม่พอใจเช่น สิ่งที่เขาทำหรือพูด เรารู้สึกไม่ชอบ ที่ไม่ชอบเพราะอะไรหรือสิ่งที่เขาทำ ทำให้เรารู้สึกแย่หรือเจ็บปวดเพราะอะไร เป็นการบอกสิ่งที่กระทบใจเราโดยไม่ได้ตำหนิใคร

 

3. ใจเขาใจเรา (Empathy)

คือ การรับรู้ ใส่ใจ และเข้าใจ สิ่งที่คู่สนทนากำลังคิด กำลังรู้สึก หรือกำลังเป็นอยู่

การกลับมาใส่ใจและเข้าใจความรู้สึกของอีกฝ่ายจะช่วยให้ความโกรธหรือความโมโหลดลงได้ เพราะเราเริ่มเข้าใจและเห็นใจในสิ่งที่เขาเป็น สิ่งที่เขาเจอ มากขึ้นค่ะ

 

 

 

 

<< ต้องสื่อสารอย่างไร เพื่อเข้าใจกัน อ่านต่อหน้าที่ 2 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.