ตรวจภายใน

ตรวจภายใน 101 มือใหม่ ตรวจครั้งแรก ต้องเตรียมตัวอย่างไร

ตรวจภายใน แบบฉบับมือใหม่ ต้องเตรียมตัวยังไงบ้าง

ตรวจภายใน เป็นชื่อที่ฟังแล้วสยองสำหรับมือใหม่ ผู้ไม่เคยตรวจมาก่อน ทำให้หลายคนยังลังเลไม่รู้ว่าจะไปตรวจดีไหม แอดผู้เคยผ่านวิกฤตตรวจภายในมาแล้ว จะเล่าให้ผู้ที่ยังไม่เคยฟังเองค่ะ ว่าเราควรเตรียมตัวอย่างไร และตรวจไปทำไม

การตรวจภายใน คืออะไร

การตรวจภายในโดยสูตินรีแพทย์การตรวจอวัยวะภายในอุ้งเชิงกรานผู้หญิง หรือที่ในทางการแพทย์มักเรียกอย่างย่อๆ ว่า “การตรวจพีวี” (PV : mination,Per Vaginal Examination) คือ การตรวจอวัยวะเพศภายนอก ช่องคลอด มดลูก และรังไข่ เพื่อหาความผิดปกติ

การตรวจนั้นอาจใช้เครื่องมือถ่างขยายช่องคลอด (Speculum) ที่มีขนาดเหมาะสม สอดเข้าไปในช่องคลอดเพื่อดูความผิดปกติในช่องคลอดและปากมดลูก ต่อจากนั้นจะเป็นขั้นตอนการใช้นิ้วตรวจเข้าไปในช่องคลอดพร้อมกับความผิดปกติของอวัยวะในอุ้งเชิงกราน

ตรวจภายใน

ตรวจภายใน ไปทำไม

หลายคนอาจจะสงสัยว่า ก็ไม่ได้มีอาการผิดปกติอะไร แล้วจะไปตรวจทำไม แอดเลยนำประโยชน์ของการตรวจภายในมาฝากทุกคน ว่าที่จริงแล้วเราควรตรวจ เพื่อป้องกันโรคร้ายแรงๆ ไม่ว่าจะเป็น

  • การตรวจภายในเป็นส่วนหนึ่งของการตรวจสุขภาพสำหรับผู้หญิง ซึ่งมักตรวจร่วมกับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกหรือแปปสเมียร์ (Pap Smear)
  • ตรวจเพื่อหาการติดเชื้อในช่องคลอด เช่น แบคที่เรีย เชื้อรา โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคเริม โรคหนองใน
  • เพื่อหาสาเหตุของความผิดปกติ เช่น มีประจำเดือนผิดปกติ ภาะเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก ตกขาวผิดปกติ เนื้องอกมดลูก ภาวะมดลูกหย่อน อาการปวดบริเวณท้องน้อย (อุ้งเชิงกราน) หรือบริเวณหลัง
  • ตรวจเมื่อเริ่มมีการตั้งครรภ์
  • ตรวจเพื่อหาร่องรอยในกรณีที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ

ต้องตรวจภายในเมื่อไหร่

เป็นอีกหนึ่งคำถามคาใจ ของสาวๆ หลายคนว่า จะเริ่มตรวจครั้งแรกเมื่อไหร่ดี คำตอบคือ เมื่ออายุ 30 ปี และหลังจากนั้นครวจตรวจปีละครั้ง แต่สำหรับผู้หญิงที่เคยมีเพศสัมพันธ์แล้ว สามารถตรวจได้เลย และในกรณีที่ควรตรวจคือ

  • เมื่อร่างกายมีความผิดปกติและมีความกังวลเกี่ยวกับมะเร็งรังไข่ และมดลูก โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือปัญหาด้านอื่น ๆ เกี่ยวกับระบบอวัยวะสืบพันธุ์
  • ในปัจจุบันพบว่าการตรวจภายในแบบทั่วไปยังไม่มีประโยชน์ในผู้ที่ไม่มีอาการส่วนใหญ่มักจะหมายถึงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (Pap Smear) ที่ต้องตรวจทุก 3 ปี
  • ในผู้ที่มีอาการหรือมีความเสี่ยงตามดุลพินิจของแพทย์ อาจต้องเข้ารับการตรวจภายในมากกว่าปีละ 1 ครั้ง

เตรียมตัวให้พร้อม 

แม้ว่าการตรวจภายในจะไม่จำเป็นต้องอดน้ำ อดอาหารเหมือนการเจาะเลือดตรวจ แต่ก็ยังต้องมีการเตรียมตัวอยู่บ้างเล็กน้อยค่ะ

  1. ควรตรวจก่อนและหลังมีประจำเดือนอย่างน้อย 1 อาทิตย์ ค่ะ เพราะในช่วงมีประจำเดือน จะเป็นช่วงที่ติดเชื้อโรคได้ง่ายมากกว่าปกติ
  2. แต่ถ้ามีความผิดปกติระหว่างมีประจำเดือน ก็สามารถมาพบคุณหมอได้เช่นกัน
  3. งดสวนล้างช่องคลอด หรือใช้ยาเหน็บก่อนตรวจอย่างน้อย 2 วัน 
  4. หลีกเลี่ยงการมีเซ็กส์ก่อนตรวจภายใน 
  5. เลือกเสื้อผ้าสบายๆ เป็นกระโปรงได้ยิ่งดี แต่ถ้าเป็นกาางเกงก็ไม่ควรใส่กางเกงรัดรูปค่ะ 
  6. ถ้ามีประจำเดือน แต่จำเป็นต้องตรวจวินิจฉัยโรค สามารถตรวจได้ โดยไม่ต้องรอประจำเดือนหมดนะคะ 
  7. ถ้ามีตกขาว ก็ปล่อยได้เลยค่ะ แพทย์จะได้นำไปตรวจหากมีความผิดปกติ
  8. ปัสสาวะก่อนเข้าตรวจนะคะ 
  9. ผู้ที่ใช้ยาทารักษาภาวะช่องคลอดแห้ง หรือฮอร์โมนชนิดเหน็บซ่องคลอด ควรสอบถามแพทย์ก่อน แต่ปกติมักจะให้หยุดใช้อย่างน้อย 2 วันก่อนตรวจ

ส่วนใหญ่แล้วการตรวจภายใน มักทราบผลภายในวันเดียว และหากไม่มีความผิดปกติก็สามารถกลับบ้าน และใช้ชีวิตได้ตามปกติ แต่หากมีความผิดปกติ แพทย์อาจจะนัดเพื่อทำการตรวจเพิ่มเติม

นอกจากตรวจภายในแล้ว คุณหมออาจแนะนำให้ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยการตรวจ แปปสเมียร์ ซึ่งแพทย์จะใช้เครื่องมือสอดและถ่างขยายช่องคลอด เพื่อเก็บเซลล์จากช่องคลอด และส่งตรวจ เพื่อดูว่ามีเซลล์มะเร็งหรือไม่

คำถามยอดฮิด “เจ็บไหม?”

สาวเวอร์จิ้นก็อาจจะไม่คุ้นเคย แต่ถามว่าเจ็บไหม มันก็จะเจ็บๆ ตึงๆ หน่วงๆ นิดหน่อย แต่คุณหมอและคุณพยาบาลก็จะพยายามช่วยเรานะคะ ด้วยการเลือกเครื่องมือขนาดเล็ก และใช้น้ำยาหล่อลื่น ส่วนผู้เข้ารับการตรวจ ก็ควรจะผ่อนคลาย อย่าไปเกร็งค่ะ แล้วเราจับผ่านมันไปได้  (บีบมือให้กำลังใจ) 

เริ่มตรวจเมื่อไหร่ดี 

ตามปกติแล้วแพทย์แนะนำเมื่ออายุ 25 – 30 ปีขึ้นไปค่ะ แต่หากว่ามีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย ก็ตรวจได้ก่อน 25 ปี นะคะ และแนะนำให้ตรวจทุกปี เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต่างๆ ค่ะ 

ข้อมูล

  • หนังสือ เจาะลึกตรวจสุขภาพ 4.0 เขียนโดย เภสัชกรณัฐวุฒิ รักแคว้น โดยสำนักพิมพ์ AMARIN HEALTH
  • โรงพยาบาลเปาโล
  • โรงพยาบาลวิมุต

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ประสบการณ์สุขภาพ : นึกว่าแค่ปวดท้อง ที่แท้ มะเร็งรังไข่

สวยสยอง อันตรายจากศัลยกรรม

เคล็ดลับง่ายๆ ดูแลลำไส้ ช่วยห่างไกลจาก โรคมะเร็งลำไส้

ติดตามชีวจิตได้ที่

Instagram Cheewajitmedia
Facebook นิตยสารชีวจิต

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.