บ้านที่มีผู้สูงวัยอาศัยอยู่ ควรมี “เครื่องวัดความดันโลหิต” ติดไว้ที่บ้าน!

ปัจจุบัน “ความดันโลหิตสูง”  เป็นโรคเรื้อรังอีกชนิดหนึ่งที่พบเห็นได้บ่อยเป็นอันดับ   ต้น ๆ และหากคุณมีค่าความดันโลหิตที่สูงเกินไป ก็อาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น ภาวะเส้นเลือดโป่งพอง เส้นเลือดในสมองแตก และยังส่งผลไปถึงอาการที่ดูไม่น่าจะเกี่ยวข้องกันอย่าง โรคไตเรื้อรัง หรืออาการจอตาเสื่อมได้เช่นกัน ด้วยเหตุนี้จะเห็นได้ว่า เครื่องวัดความดันโลหิต หรือที่วัดความดัน เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่ทุกครัวเรือนควรมีติดตั้งไว้

เพราะการวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอเป็นเรื่องงที่ผั้ป่วยความดันโลหิตสูงจะต้องทำอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากในครอบครัวของคุณมีผู้สูงอายุอาศัยร่วมอยู่ด้วย คุณหมอมักจะสั่งให้ผู้ป่วยซื้อเครื่องวัดความดันติดบ้านไว้ และจดค่าความดันในทุกๆ เช้า เพื่อปรับการรักษาให้เหมาะสม

ดังนั้น วันนี้เราจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับเจ้าอุปกรณ์ชิ้นสำคัญ ที่ควรมีติดบ้านเอาไว้ ไปดูกันค่ะว่าเครื่องมือชิ้นนี้ที่เรียกว่าเครื่องวัดความดัน มีประโยชน์ควรค่าแก่การซื้อหามาเก็บไว้หรือไม่

“เครื่องวัดความดันโลหิต” จำเป็นแค่ไหน?

จากการรวบรวมข้อมูลที่ทาง คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทำข้อมูลเผยแพร่อันเป็นประโยชน์ต่อประชาชน เกี่ยวกับเรื่องของ “เครื่องวัดความดันโลหิต” เอาไว้ว่า เครื่องวัดความดัน หรือเครื่องวัดความดันโลหิต ซึ่งมีหน้าที่สามารถวัดระดับค่าความดันต่าง ๆ ภายในร่างกายเรานั่นเอง โดยที่ค่าความดันเหล่านี้เราสามารถนำมาใช้วิเคราะห์ให้เห็นภาพรวมของสุขภาพต่าง ๆ ของเราได้ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะกับกลุ่มผู้สูงอายุ ที่มักจะต้องตรวจเช็คค่าความดันโลหิตอยู่บ่อย ๆ นั่นเอง

ทั้งนี้ ความดันโลหิตเกิดจากการบีบตัวของหัวใจ และแรงต้านทานของหลอดเลือด ความดันจะเพิ่มขณะที่หัวใจบีบตัว และลดลงขณะที่หัวใจคลายตัว ความดันโลหิตของคนเราไม่เท่ากันตลอดเวลาขึ้นกับท่าทาง ความเครียด การออกกำลังกาย และการพักผ่อนนอนหลับ ซึ่งค่าความดันปกติของคนเราคือ 120/80 มิลลิเมตรปรอท หากวัดได้สูงกว่า 140/90 มิลลิเมตร แสดงว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคอัมพาต โรคหัวใจเป็นโรคที่มีอัตราตายสูง ดังนั้นการป้องกันความดันโลหิตสูงสามารถป้องกันอัตราการตายจากโรคหัวใจ และโรคอัมพาต โรคความดันโลหิตสูงเป็นภัยเงียบที่คุกคามชีวิตของทุกท่านและไม่มีอาการเตือน ดังนั้นการจะทราบว่าเป็นความดันโลหิตสูงจำเป็นต้องวัดความดันโลหิตอย่างต่อเนื่อง

การวัดความดันโลหิตด้วยตัวเอง

การวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้าน หรือ Home Blood Pressure Monitoring (HBPM) เป็นการวัดฯ ด้วยตัวผู้ป่วยเอง หรือ บุคคลในครอบครัวที่ได้รับการแนะนำวิธีและเทคนิคในการวัดความดันโลหิตมาอย่างถูกวิธี โดยการวัดความดัน ควรทำในห้องที่เงียบสงบ ผู้ป่วยควรอยู่ในท่านั่ง ที่มีการรองหลังและแขน เป็นเวลาอย่างน้อย 5 นาทีก่อนทำการวัดความดัน ควรวัดความดัน 2 ครั้ง ในระยะห่าง 1 ถึง 2 นาที และทำการบันทึกข้อมูลในสมุดจดทันทีที่ทำการวัดเสร็จในแต่ละรอบ การวัดความดันโลหิต ควรทำทุกวัน ติดกันอย่างน้อย 3 ถึง 4 วัน และควรวัดสม่ำเสมอ ที่ระยะทุกๆ 7 วัน ในเวลากลางวัน และเวลากลางคืน

ทำความรู้จักเครื่องวัดความดันโลหิตแต่ละประเภท

เครื่องวัดความดันโลหิตนั้นมีหลายชนิด และหลายแบบด้วยกัน ผู้สูงวัยควรศึกษาถึงลักษณะการทำงานของเครื่องวัดความดันแต่ละชนิด เพื่อเลือกใช้งานได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพนั่นเอง

เครื่องวัดความดันชนิดขดลวด

เป็นเครื่องมือที่ราคาไม่แพง น้ำหนักเบา และพกพาสะดวกมากกว่าชนิดปรอท เครื่องวัดชนิดนี้สามารถวางตำแหน่งไหนก็ได้ บางรุ่น มีหูฟังอยู่ในสายพันแขน ข้อด้อยของเครื่องมือนี้คือ เครื่องมือมีกลไกซับซ้อน ต้องปรับเครื่องมือโดยเทียบกับเครื่องมือชนิดปรอทอย่างน้อยปีละครั้งหรือเมื่อมีการทำตก หากผู้ป่วยใช้ไม่ถูกต้องอาจจะทำให้เครื่องชำรุด

>>อ่านต่อหน้าถัดไป<<

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.