แชร์เคล็ดลับเตรียมตัวก่อนวัยเกษียณ อยากเป็นแบบไหนเลือกเลย!

ก่อนถึงวันเกษียณ ขณะที่เราวิ่งวุ่นอยู่กับการตั้งใจทำ งานหาเงิน อาจทำ ให้เราหลงลืมบางสิ่งบางอย่างที่จำเป็นจะต้องเตรียมสำหรับการเกษียณ นอกเหนือจากการจดบันทึกรายรับ รายจ่าย และการบันทึกแจกแจงสินทรัพย์หนี้สินต่างๆ ที่ควรทำอย่างสมํ่าเสมอในทุกปีแล้ว เราควรทำอะไรเพิ่มเติมอีกบ้าง?

วันนี้มีเช็คลิสต์สำหรับผู้ที่ใกล้จะเกษียณมาให้ตรวจสอบไปด้วยกันค่ะ

ถ้ามีเวลา 10 ปีก่อนเกษียณ  

ทบทวนยอดเงินลงทุนที่มีและปรับการลงทุน

สำหรับการลงทุนที่เราเตรียมไว้ใช้หลังเกษียณควรจะมีการปรับความเสี่ยงการลงทุนลง โดยลดสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ลดสัดส่วนตราสารทุน เพิ่มสัดส่วนตราสารหนี้ในพอร์ตให้มากขึ้น ตัวอย่าง แผนสมดุลตามอายุของ กบข. สำหรับผู้ที่มีอายุ 50 ปี จะมีสัดส่วนตราสารทุน 32% มีตราสารหนี้63% และการลงทุนอื่นๆ 5%  ซึ่งในแต่ละปีก็จะมีการปรับสัดส่วนตราสารทุนลงเรื่อยๆ ปีละ 2-3% จะเห็นได้ว่าเมื่อใกล้เกษียณมากขึ้น เราจำเป็นต้องลดความผันผวนของการลงทุน เนื่องจากใกล้ถึงวันที่เราต้องใช้เงินนั่นเอง

วิธีการปรับการลงทุนนี้สามารถนำ ไปประยุกต์ใช้กับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ(RMF) ที่เราสามารถปรับสัดส่วนการลงทุนได้นะคะ

ทดลองใช้โปรแกรมคำนวณเงินสำหรับการเกษียณ   

ในเว็บไซต์ของสถาบันการเงินหลายแห่งมีบริการจำลองแผนการลงทุนสำหรับการเกษียณ เพื่อให้รู้ว่าเราควรเตรียมเงินเท่าไหร่ถึงจะพอใช้ยามเกษียณ และที่สำคัญทำให้รู้ว่าเราต้องออมเงินหรือลงทุนเดือนละเท่าไหร่ เพื่อให้ได้ตามเป้าหมาย ทั้งนี้จะต้องเตรียมข้อมูลเบื้องต้นในเรื่องข้อมูลส่วนตัว และข้อมูลด้านการเงิน 

ตัวอย่าง เช่น ปัจจุบันอายุ 50 ปี ต้องการเกษียณเมื่ออายุ 60 ปี คาดการณ์อายุขัยอยู่ที่ 80 ปี ประมาณค่าใช้จ่ายหลังเกษียณอยู่ที่ 22,000 บาท อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย2.5% ต่อปี ถ้าเงินออมที่มีอยู่แล้วตอนนี้ 1,000,000บาท จะต้องเก็บเงินตั้งแต่อายุ 50 ปีเพิ่มขึ้นอีกเดือนละ29,000 บาท จะทำ ให้มีเงิน ณ วันเกษียณที่อายุ 60 ปี ประมาณ 6,600,000 บาท ซึ่งจะเป็นจำ นวนเงินที่เพียงพอสำ หรับมาตรฐานการดำรงชีพไปจนถึงอายุ 80 ปี

มีเวลา 5 ปี ก่อนเกษียณ

ปรับการลงทุนให้มีความเสี่ยงน้อยลง

เนื่องจากระยะเวลาก่อนเกษียณมีน้อยลง หากการลงทุนปรับตัวลดลงจนขาดทุน คงไม่ดีแน่ๆ และถ้าการลงทุนมีสัดส่วนตราสารทุนอยู่มากจะทำ ให้มีความผันผวนสำหรับแผนสมดุลตามอายุของ กบข. สำหรับผู้ที่อายุ 55 ปี กำหนดสัดส่วนตราสารทุน 18% ตราสารหนี้ 82%

โดยผู้ที่มีกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ที่ครบกำหนดแล้วแนะนำทยอยขายหน่วยลงทุนออกและสะสมกองทุนตราสารหนี้เพิ่มมากขึ้น และหากต้องการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีต่อเนื่อง แนะนำลงทุนกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ(RMF)ที่เป็นประเภทตราสารหนี้โดยกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพต้องลงทุนขั้นตํ่า 5,000 บาทต่อปีและลงทุนต่อเนื่อง 5 ปีนะคะ

จัดการเรื่องบ้านหรือที่อยู่อาศัย

สถานที่ที่จะอาศัยอยู่หลังเกษียณ ควรอยู่ไม่ไกลจากชุมชน และสถานพยาบาล อีกทั้งควรเตรียมความพร้อมให้ที่อยู่อาศัยมีความปลอดภัย และมีลักษณะเหมาะสมกับวัยสูงอายุ  เมื่อผู้ที่เกษียณแล้วมีเงินเก็บไม่เพียงพอ บ้านก็เป็นอีกตัวช่วยหนึ่งซึ่งสามารถตัดสินใจขายบ้าน เพื่อมีเงินไปซื้อบ้านที่เล็กลง หรือเช่าอพาร์ตเมนต์จะเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายได้และมีทางเลือกอื่นๆ เช่น ถ้าอยากอยู่บ้านหลังเดิมก็สามารถใช้บริการสินเชื่อ Reverse Mortgage โดยผู้กู้ยังอาศัยอยู่ในบ้านได้เหมือนเดิมและมีเงินใช้รายเดือนอีกด้วย

ตรวจสอบกรมธรรม์ประกันชีวิตและประกันสุขภาพที่คุ้มครองหลังเกษียณ

โดยอาจพิจารณาการทำ ประกันสุขภาพเพิ่มเติมก่อนที่จะเจ็บป่วยและประกันสุขภาพที่ควรทำ พ่วงไปกับประกันแบบตลอดชีพเนื่องจากจะให้ความคุ้มครองเราได้ในระยะยาวหลังเกษียณ

มีเวลา 1 ปี ก่อนเกษียณ

ประเมินกระแสเงินสดทั้งรายได้และรายจ่าย

หากพบว่าเงิน ณ วันเกษียณไม่เพียงพอสำ หรับใช้ชีวิตยามเกษียณ แนะนำ ให้หาทางลดรายจ่าย เช่นการทำอาหารทานเอง ท่องเที่ยวน้อยลง และหาทางเพิ่มรายได้ เช่น ตัดสินใจทำ งานต่อไป หาอาชีพใหม่ตามความถนัด หรือขายสินทรัพย์ต่างๆ

ปรับสัดส่วนการลงทุนหลังเกษียณและทยอยถอนเงิน

เมื่อถึงเวลาต้องใช้เงิน ควรถอนเงินเป็นรายเดือนเพื่อนำ มาใช้จ่ายเท่าที่จำ เป็น เพราะว่าเงินก้อนใหญ่ที่ยังไม่ได้นำออกมาใช้ ยังสามารถสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนต่อไปได้ทั้งนี้เมื่ออายุมากกว่า 59 ปีแนะนำ ควรลงทุนตราสารทุน 10% มีตราสารหนี้90% และสัดส่วนการลงทุนนี้แนะนำสำ หรับการลงทุนช่วงหลังเกษียณ

เช็คลิสต์เหล่านี้เป็นเรื่องที่จะทำ ก่อนหรือทำหลังอย่างไร ไม่มีอะไรตายตัวนะครับ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และความพร้อมของแต่ละบุคคล ทั้งนี้คนที่จะตัดสินใจทุกเรื่องเกี่ยวกับการเกษียณ ก็คือตัวเราเอง ดังนั้นก่อนตัดสินใจเรื่องใดๆ เราควรพิจารณาอย่างรอบคอบหาข้อมูลและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนตัดสินใจในเรื่องการเงินนะคะ

>>อ่านต่อหน้าถัดไป<< 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.