วิธี “ปรับตัว ปรับใจพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของผู้สูงวัย”

วิธี “ปรับตัว ปรับใจพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของผู้สูงวัย”

วิธี “ปรับตัว ปรับใจพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของผู้สูงวัย

เมื่อถึงช่วงเวลาหนึ่งคํานามที่คนอื่นเคยเรียกเราว่า “พี่” จะค่อยๆ หายไปจากชีวิตแล้วแปรเปลี่ยนเป็นคําว่าคุณลุงคุณป้าไปจนถึงคุณปู่คุณย่าคุณตาคุณยายแทน

ความคิดของผู้เขียนคําเรียกเหล่านี้เป็นคําที่น่ารักแต่ท่านผู้อ่านที่ถูกเรียกแบบนี้เป็นประจําอาจกําลังคัดค้านอยู่ในใจ(เพราะยังอยากเป็นวัยรุ่นกันอยู่…ฮา)  ถึงอย่างไรท่องไว้ค่ะว่า “อายุเป็นเพียงตัวเลข” เพราะหากทุกท่านสามารถดูแลสุขภาพร่างกายให้ฟิตเต็มร้อยรวมทั้งดูแลจิตใจให้สดใสกระชุ่มกระชวยเหมือนตอนเป็นหนุ่มเป็นสาวได้อยู่ เราก็ยังคงดูอ่อนกว่าวัยได้เสมอ ชีวจิตจึงมีเทคนิคดูแลใจสําหรับคนสูงวัยมาฝากเพื่อให้ทุกท่านเป็นคุณลุงคุณป้าที่น่ารักและอารมณ์ดีไม่แพ้ลูกหลานค่ะ

คำอธิบายจากนายแพทย์เทอดศักดิ์ เดชคง ในหนังสือเรื่องสติบําบัดกล่าวถึงความหมายของคําว่า “อารมณ์” ไว้ว่า อารมณ์เกิดจากการมีสิ่งเร้า เช่น การได้ยิน การเห็นภาพหรือความต้องการภายในร่างกายเช่นความหิวความต้องการต่างๆ มากระตุ้นให้ตัวเราแปลความหมายของสิ่งเหล่านั้นไปในทางบวก(สุข) ทางลบ(ทุกข์) หรือธรรมดา(ไม่สุขไม่ทุกข์) ความจริงแล้วคนเราสามารถควบคุมอารมณ์ของตนไม่ให้เอนเอียงไปในทางลบได้

ยิ่งในวัยผู้สูงอายุซึ่งเป็นวัยแห่งการเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงหลายๆ อย่างการปรับเพื่อเตรียมพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงจึงเป็นทักษะที่คนสูงวัยทุกท่านควรฝึกฝนโดยเริ่มต้นจากวิธีต่อไปนี้ค่ะ

มองความเปลี่ยนแปลงว่าไม่ใช่ปัญหา

พญ.ศรีประภา ชัยสินธพ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยผู้สูงอายุย่อมมีความเปลี่ยนแปลงตามภาวะธรรมชาติเกิดขึ้น เช่น ร่างกายเสื่อมถอยไม่มีเรี่ยวแรงในการทําสิ่งต่างๆ หรือบางคนอาจมีปัญหาด้านจิตใจซึ่งเกิดจากการสูญเสีย เช่น สูญเสียคนใกล้ชิด เพื่อนสนิทถึงแก่กรรม หรือลูกหลานแยกย้ายไปมีครอบครัว แม้สิ่งที่เกิดขึ้นนี้จะเป็นเรื่องธรรมชาติ

แต่บางครั้งความเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาตินี้ก็อาจกลายเป็นปัญหา เช่น ผู้สูงอายุบางท่านอาจเคยเป็นคนที่เดินได้ว่องไวแต่มาวันนี้ต้องใช้ไม้เท้าช่วยพยุงตัวสิ่งที่เกิดขึ้นจึงอาจส่งผลต่ออารมณ์ของคนสูงวัยได้เนื่องจากความรู้สึกที่ว่าตนเองไม่สามารถทําอะไรได้ดั่งใจเหมือนเมื่อก่อน แต่ในเมื่อเราไม่สามารถควบคุมสิ่งที่ร่วงโรยไปตามธรรมชาติได้สิ่งที่ควรทํามากกว่า จึงเป็นการเลิกยึดติดว่าสิ่งเหล่านั้นคือปัญหาและหันมาให้ความสนใจกับสิ่งที่เรายังควบคุมได้จะดีกว่า ไม่ว่าจะเป็นการกินอาหารที่ช่วยบํารุงร่างกายเพื่อไม่ให้สุขภาพแย่ลง

การออกกําลังกาย การพักผ่อนให้เพียงพอการดูรายการตลกเพื่อสร้างความผ่อนคลาย หรือทําสิ่งใดก็ได้ที่มีความสุขและไม่ทําให้ใครเดือดร้อนก็จะช่วยให้ผู้สูงอายุมองข้ามความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นค่ะ

ฝึกคิดถึงเรื่องดีๆ

ธรรมชาติของคนเราจะจดจําเรื่องร้ายได้มากกว่าเรื่องดีเมื่อเรื่องร้ายๆ ถูกบันทึกที่ศูนย์ควบคุมอารมณ์ในสมองจึงทําให้เราคอยนึกว่าคนอื่นๆมักจะทําไม่ดีกับเราแล้วก็เอามาต่อว่ากันทะเลาะกัน”

คํากล่าวด้านบนเป็นของศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์ประเวศ วะสี ที่สะท้อนให้เราเห็นว่ายิ่งอายุเพิ่มมากขึ้นทั้งเรื่องร้ายและดีย่อมผ่านเข้ามาในชีวิตมากขึ้น แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกท่านสามารถทําได้คือการเลือกคิดถึงสิ่งดีๆ ที่ผ่าน เข้ามาให้มากกว่าเรื่องร้ายๆ โดยเริ่มฝึกสังเกตตัวเองว่าในแต่ละวันเรามักจะนั่งนึกถึงสิ่งที่ไม่ดีอยู่บ่อยๆ หรือไม่ซึ่งเมื่อไรที่รู้ตัวว่ากําลังคิดลบอยู่ควรรีบหยุดความคิดนั้นเพื่อให้สมองได้บันทึกเรื่องราวดีๆ ลงไป  

ดังใจความตอนหนึ่งจากหนังสือเรื่องสงบเขียนโดยพระราชสังวรญาณ(หลวงพ่อพุธฐานิโย) ที่บอกไว้ว่า “เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นที่จิตจิตจะทําหน้าที่แก้ของเขาเอง…เมื่อเขาแก้แล้วผิดหรือถูกเราอย่าไปสําคัญมั่นหมาย…แม้บางทีจิตอาจเถียงกันเราเพียงแต่ฟังมันเท่านั้นอย่าเอามาเป็นอารมณ์” แล้วเราจะสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งต่างๆ ได้โดยไม่ต้องเก็บมาเครียดค่ะ

ทํากิจกรรมที่ชอบ

หนังสือเรื่องเข้าใจ…โลกสํานักพิมพ์อมรินทร์ธรรมะมีใจความตอนหนึ่งเขียนไว้ว่า“ค่านิยมการรีไทร์หรือเกษียณอายุของชาวตะวันออกและตะวันตกช่างแตกต่างกันมากเพราะสําหรับชาวตะวันออกคนที่เกษียณจะมีความหดหู่จากการหมดอํานาจบารมีคนล้อมหน้าล้อมหลังหายไปหลายคนจึงรู้สึกกลัวว่าตัวเองจะไร้คุณค่า “แต่สําหรับชาวตะวันตกคนที่เกษียณมีความยินดีและตื่นเต้นว่าชีวิตหลังจากนี้เขาจะได้ทําอะไรที่ยังไม่ได้ทํามีเวลาทําสิ่งที่ตัวเองรักและใฝ่ฝันและหาความรู้เพื่อพัฒนาตัวเองได้อย่างอิสระเพราะไม่มีคําว่าแก่เกินไปสําหรับการเรียนรู้”

เมื่อเข้าสู่วัยเกษียณแล้วผู้สูงอายุจึงควรมองโลกในแง่ดีว่าชีวิตในช่วงนี้ก็คล้ายกับช่วงเวลาปิดเทอมในวัยเด็กซึ่งเป็นเวลาที่เราจะได้พักผ่อนอย่างเต็มที่และมีเวลาทําอะไรก็ได้ที่อยากทํา

ดังนั้น หากใครรู้สึกเบื่อหรือเหงาอาจหากิจกรรมที่เป็นประโยชน์มาทําเพื่อฆ่าเวลาเช่นงานเย็บปักถักร้อยทําอาหารร้องเพลงหรืออาจเข้าร่วมชมรมต่างๆ เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ได้เจอเพื่อนใหม่ในวัยเดียวกันวิธีนี้จะช่วยบําบัดความเครียดและทําให้เราได้ดึงความสามารถของตนออกมาใช้ซึ่งจะช่วยให้คนสูงวัยรู้สึกภูมิใจในตนเองมากขึ้น

ออกกําลังสมองวิธีนี้แนะนําโดยศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทิกาทิวชาชาติภาควิชาจิตเวชศาสตร์คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยคุณหมอบอกว่าการออกกําลังสมอง หรือนิวโรบิกส์เอกเซอร์ไซส์(Neurobics Exercise) คือการฝึกให้สมองส่วนต่างๆ ทํางานเชื่อมโยงกันได้ดีขึ้นซึ่งมีส่วนช่วยฝึกความจําสมาธิการรับรู้รวมทั้งอารมณ์และยังถือเป็นการชะลอความเสื่อมของร่างกายอย่างหนึ่ง

ตัวอย่างการออกกําลังสมองได้แก่การหยิบสิ่งของด้วยมือข้างที่ไม่ถนัด เพื่อให้สมองทั้งซีกซ้ายและซีกขวาได้ใช้งานทั้งสองข้างการปิดไฟแล้วใช้มือคลําหาสิ่งของเพื่อกระตุ้นประสาทด้านการสัมผัสหรือวิธีง่ายๆ อย่างการอ่านหนังสือก็ถือเป็นตัวช่วยในการเพิ่มเติมข้อมูลใหม่ๆให้สมองได้ค่ะ

นอกจากการมีอายุยืนยาวแล้วต้องมีสุขภาพกายและใจที่สมบูรณ์ไปพร้อมๆ กันด้วยถึงจะคว้าตําแหน่งคนสูงวัยที่มีความสุขอย่างแท้จริงค่ะ

ที่มา: นิตยสารชีวจิต ฉบับที่ 354

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

สร้างเสริมสุขภาวะของผู้สูงวัย ด้วยการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม

เทคนิคเตรียมตัวใช้ชีวิตหลังเกษียณอย่างมีความสุข

เกมพาเพลิน เสริมระบบความจำวัยเก๋า

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.