ผู้สูงวัยเกิดปัญหาการกลืนลำบาก ลูกหลานอย่านิ่งนอนใจ!!

ว่าเป็นเทคนิคช่วยกลืนที่สอนผู้ป่วยได้ง่าย หลักการจัดท่าทั่วไปสำหรับการกลืนที่ปลอดภัย คือ นั่งตัวตรง 90 องศา ทำให้อาหารและน้ำที่อยู่ในระยะช่องปากไม่เข้าสู่ระยะคอหอยเร็วเกินไปลดการสำลักอาหารออกทางจมูก ทางเดินอาหารทั้งคอหอยและหลอดอาหารอยู่ในแนวดิ่งตั้งตรง รวมทั้งมีผลจากแรงโน้มถ่วงเข้ามาช่วยไล่อาหารตามการบีบตัวของหลอดอาหารด้วย เทคนิคการจัดท่าที่ใช้บ่อย ได้แก่

การหันศีรษะไปยังด้านอ่อนแรง จะใช้ในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกจากโรคหลอดเลือดสมอง เพื่อปิดทางเดินอาหารด้านอ่อนแรง เมื่อกลืนอาหาร ๆ จะลงสู่คอหอยด้านที่แข็งแรงกว่า

การเอียงศีรษะไปด้านที่ดี จะใช้ในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกจากโรคหลอดเลือดสมองเช่นเดียวกัน โดยการเอียงศีรษะจะทำให้คอหอยเอียงด้วย เมื่อกลืนอาหาร ๆ จะลงสู่คอหอยด้านที่แข็งแรงกว่า

การก้มหน้าขณะกลืน จะใช้เมื่อกระบวนการกลืนระยะช่องปากและคอหอยไม่สัมพันธ์กันกล่าวคือ เมื่ออาหารถูกส่งผ่านจากระยะช่องปาก แต่ทางเดินหายใจยังไม่ปิดการก้มหน้าจะช่วยลดความเร็วของการกลืนทำให้อาหารผ่านจากระยะช่องปากเข้าระยะคอหอยช้าลง จะทันเวลาที่ทางเดินหายใจปิดพอดี

การกระตุ้นการรับความรู้สึก (Sensory facilitation)

ดังที่กล่าวข้างต้นว่าในผู้สูงอายุ รีเฟล็กซ์การกลืนจะเกิดขึ้นช้าดังนั้นการกระตุ้นความรู้สึกจึงมีจุดประสงค์เพื่อกระตุ้นให้เกิดรีเฟล็กซ์การกลืน วิธีการกระตุ้นทำได้โดยใช้แรงกล ปรับอุณหภูมิ หรือรสชาติของอาหาร เช่น การใช้ไม้พันสำลีถูบริเวณคอหอย การรับประทานอาหารรสเปรี้ยว การรับประทานอาหารที่มีอุณหภูมิสูงหรือต่ำกว่าอุณหภูมิกาย เป็นต้น

การปรับอุปกรณ์ที่ใช้รับประทานอาหาร (Adaptive equipment)

มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมการกลืนที่ปลอดภัยและให้ผู้ที่มีภาวะกลืนลำบากสามารถรับประทานอาหารด้วยตนเองได้ ตัวอย่างอุปกรณ์ ได้แก่ nosey cup(ถ้วยที่มีลักษระคล้ายเหยือก)  เพื่อให้ผู้ที่มีภาวะกลืนลำบากสามารถดื่มน้ำได้หมดโดยไม่ต้องแหงนหน้าไปด้านหลัง ในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก การใช้จานหรือชามใส่อาหารที่มีขอบ วางบนพรมหรือผ้ารองจานที่ไม่ลื่นไหล จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถใช้มือเดียวตักอาหารรับประทานได้เอง หรืออาจใช้เป็นที่กั้นอาหาร ช่วยซึ่งให้ผลเช่นเดียวกัน

การดูแลสุขภาพช่องปาก (oral hygiene)

เป็นส่วนสำคัญสำหรับการรักษาภาวะกลืนลำบาก และมักถูกมองข้ามการดูแลสุขภาพช่องปากจะลดการสะสมของแบคทีเรียในช่องปากและลดความเสี่ยงของการเกิดปอดอักเสบจากการสำลักทำได้โดยพบทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอ ใช้น้ำยาบ้วนปากที่ไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์เพื่อลดอาการปากแห้ง ในผู้ที่บ้วนปากไม่ได้ควรเช็ดทำความสะอาดช่องปากและลิ้นหลังอาหารทุกมื้อ ดูแลเอาอาหารที่ค้างในปากออกให้หมด และเฝ้าระวังการเกิดเชื้อราในช่องปาก เป็นต้น

ต้องอย่าลืมว่า เมื่อผู้สูงงอายุเกิดภาวะขาดน้ำ ขาดอาหาร ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีความสามารถในการช่วยเหลือตนเองลดลง หากเป็นรุนแรงจะเกิดปอดอักเสบจากการสำลักซึ่งเสี่ยงต่อการเสียชีวิตตามมาได้ ฉะนั้น อย่าปล่อยให้พวกท่านเกิดภาวะกลืนลำบาก มาป้องกันเสียแต่เนิ่นๆ ดีกว่าค่ะ

ข้อมูลจาก: ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ 

เราจะรับมือกับความชราอย่างไร เมื่อวันนั้นใกล้จะมาถึง!

เรียนรู้การอยู่กับโรคชรา อยู่อย่างมีคุณค่าและมีความสุขในบั้นปลายชีวิต!

เมื่อเวลาผ่านไประบบต่างๆ ย่อมเสื่อมลงตามกาลเวลา!

 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.