การเดิน

มหัศจรรย์แห่ง การเดิน แรงกระแทกต่ำ ทำได้ทุกคน

มหัศจรรย์แห่ง การเดิน แรงกระแทกต่ำ แต่ทำได้ทุกคน

การเดิน บนพื้นราบ หรือเดินบนลูวิ่งสายพาน (Treadmill) มีการศึกษาที่ยืนยันแล้วว่า แม้จะมีแรงกระแทกลงกระดูกและข้อต่อระดับ “ต่ำ” แต่ก็สามารถเพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูกและความแข็งแรงของกระดูกได้

การเดินใช้อวัยวะหลายส่วนทำงานร่วมกัน ได้แก่ กระดูก กล้ามเนื้อ ข้อต่อ เส้นเอ็น และเส้นประสาท เริ่มก้าวเดิน อวัยวะเหล่านี้จะขยับ เสียดสี และมีแรงกระเทกเกิดขึ้นตามมาเบา ๆ ตามการลงน้ำหนัก

ดังนั้นแม้การเดินจะเป็นการเคลื่อนไหวช้า ๆ แต่หากเดินผิดท่าก็อาจทำให้มีการเสียดสี แรงกระแทกเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ รวมทั้งมีอาการปวดกล้ามเนื้อ เมื่อยล้า หรือเคล็ดขัดยอกได้ จึงควรเดินให้ถูกสุขลักษณะ ดังนี้

การเดิน

  • ขณะเดิน ศีรษะ ลำคอ และลำตัวตั้งตรง พยายามอย่ากดคางลงไปที่คอ สายตามองตรงไปข้างหน้า
  • ไหล่สองข้างอยู่ในระดับตั้งตรง ไม่งองุ้ม เมื่ออกเดินหลังจะตรง ขยับเฉพาะช่วงโค้งของเอว
  • ก้าวเท้าให้สั้นกว่าช่วงแขนตั้งฉากประมาณ 1 ฝ่ามือ ไม่ก้าวยาวมากเกินไป เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อต้นขาและ สะโพกเมื่อยล้าเร็วกว่าปกติ และไม่ควรก้าวสั้นเกินไป เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อต้นขาและสะโพกเกร็งตัวเกินไป
  • แกว่งแขนซ้ายขวาสลับหน้าหลังตามจังหวะการก้าว โดยแกว่งขนานกับลำตัวเบา ๆ เพื่อเพิ่มแรงส่งให้ร่างกายไป ข้างหน้า การแกว่งแขนนอกจากจะช่วยให้การทรงตัวดีขึ้นแล้ว ยังช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของระบบน้ำเหลือง ในร่างกายให้ดีขึ้น ขับของเสียที่คั่งค้างตามจุดต่างๆ ของร่างกายออกไป แต่ไม่ควรแกว่งแรงจนเกินไปนัก
  • งอข้อศอกทั้งสองข้างเล็กน้อยประมาณ 90 องศา มือกำหลวมๆ ลักษณะผ่อนคลาย
  • เดินลงน้ำหนักด้วยส้นเท้าแล้วค่อยถ่ายน้ำหนักไปที่ฝ่าเท้า เหยียบพื้นให้เต็มฝาเท้าก่อน แล้วจึงกดปลายเท้าลง ตาม ส่วนขาอีกข้างให้ยกส้นเท้าขึ้นเพื่อส่งน้ำหนักลงไปที่ปลายเท้าซึ่งกดพื้นไว้ เช่นนี้ไปเรื่อย ๆ ตลอดเวลาที่เดิน

รู้เทคนิคการเดินกันแล้ว อย่าลืมนำไปทำตามกันนะคะ

อ่านต่อหน้า 2 ประโยชน์ของการเดิน

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.