วิธีเลิกกินเค็ม, กินเค็ม, ไต, โรคไต, อาหารที่มีโซเดียม, เกลือ

8 วิธีเลิกกินเค็ม… ลดเสี่ยงสารพัดโรค

วิธีเลิกกินเค็ม แบบง่ายๆ และไม่รู้สึกว่า รสชาติไม่อร่อย

วิธีเลิกกินเค็ม ต้องทำอย่างไร เพราะหลายคนยังติดนิสัยขอพริกกะเกลือจิ้มผลไม้ ข้าวผัดกล่องนี้ราดพริกน้ำปลาให้ด้วย เส้นเล็กต้มยำของฉันใส่น้ำปลาสามช้อนเหมือนเดิมนะŽ แต่รู้หรือไม่ว่า ในแต่ละวันอาหารที่เรารับประทานนั้นมีเกลือเป็นส่วนผสมอยู่มากน้อยเพียงใด

เพราะแม้โซเดียมจะเป็นสารอาหารสำคัญที่ร่างกายต้องการ แต่ปริมาณโซเดียมที่แนะนำให้บริโภคในแต่ละวันคือ ไม่ควรเกิน 2,400 มิลลิกรัม หรือเทียบเท่ากับเกลือแกงปริมาณ 6 กรัม (1 ช้อนชา) ในขณะที่ในน้ำปลาหรือซีอิ๊วหนึ่งช้อนโต๊ะมีปริมาณโซเดียมมากถึง 1,000 มิลลิกรัม ยังไม่รวมอาหารอีกมากที่มีส่วนผสมของเกลือโซเดียมปริมาณสูง โดยเฉพาะอาหารแห้ง อาหารหมักดอง และเครื่องปรุงรส เช่น กะปิ น้ำปลา ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของอาหารไทย

นอกจากนี้ การบริโภคเกลือมากเกินความต้องการยังเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดโรคต่างๆ ทั้งโรคไต โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง หรืออัมพฤกษ์ อัมพาต และโรคหัวใจขาดเลือด เพื่อสุขภาพของคุณและคนที่คุณรัก ชวนกันปรับเปลี่ยนนิสัยการรับประทานอาหารให้จืดลง หรือเริ่มต้นด้วยการลดปริมาณเกลือในอาหารด้วย 8 เคล็ดลับง่ายๆ ที่เรานำมาฝากค่ะ

8 เคล็ดลับง่าย หยุดกินเค็ม

1. จำกัดการใช้เกลือ หรือเครื่องปรุงรสในการปรุงอาหารและบนโต๊ะอาหาร

2. ชิมอาหารทุกครั้ง ก่อนที่จะมีการเติมเครื่องปรุงทุกชนิด

3. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีปริมาณเกลือโซเดียมสูงหรือมีรสเค็มจัด เช่น อาหารกระป๋อง อาหารแช่แข็งและปรุงสำเร็จอาหารหมักดอง อาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก หมูยอ และขนมขบเคี้ยว

4. หลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงมาจากเครื่องปรุงที่มีเกลือโซเดียมมาก แต่ไม่มีรสเค็ม เช่น อาหารใส่ผงชูรส (โมโนโซเดียมกลูตาเมท) อาหารใส่ผงฟู (โซเดียมไบคาร์บอเนต)อาหารใส่สารกันบูด (โซเดียมเบนโซเอต)

วิธีเลิกกินเค็ม, กินเค็ม, ไต, โรคไต, เกลือ, อาหารที่มีโซเดียม
กินอาหารสดจากธรรมชาติ ลดความเสี่ยงบริโภคโซเดียมเกินความต้องการ

5. เมื่อจับจ่ายซื้ออาหารสำเร็จรูป อ่านฉลากกำกับทุกครั้ง และเลือกชื้ออาหารที่ระบุชัดเจนว่ามี โซเดียมต่ำŽหรือ ไม่มีเกลือหรือไม่เติมเกลือŽ เท่านั้น

6. ถ้าต้องการเพิ่มรสชาติอาหาร ให้ใช้เครื่องเทศแทนการใช้เกลือ เช่น น้ำส้ม มะนาว กระเทียม ขิง หัวหอม พริกหรือใช้เครื่องปรุงรสที่มีโซเดียมต่ำแทนเครื่องปรุงรสสูตรปกติ

7. เลือกรับประทานอาหารสดจากธรรมชาติ เช่น ผักผลไม้ ข้าวซ้อมมือ

8. ลดความถี่ของการรับประทานอาหารที่ต้องมีเครื่องปรุง เช่น สุกียากี้

ถ้ารักสุขภาพ ชวนกันลดอาหารเค็ม และลองหันมารับประทานอาหารรสธรรมชาติ ที่มีทั้งความหวานและความกรอบใหม่ของผักผลไม้สดๆ เรียกว่าอร่อยได้ประโยชน์และไม่ทำลายสุขภาพกันค่ะ

ขอขอบคุณ สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข


บทความอื่นที่น่าสนใจ

อาหารไทย ประโยชน์สารพัด เป็นมิตรต่อระบบทางเดินอาหาร

คู่มือกินน้ำตาลทราย น้ำตาลอ้อย น้ำตาลปี๊บ ป้องกันโรคเบาหวาน

แนะนำการกินอาหารสำหรับคนเป็นโรคเบาหวานพ่วงโรคไต

สามารถติดตาม ชีวจิต ในช่องทางอื่นๆ ได้ที่

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.