วิตามินล้างพิษ, สูตรวิตามินธรรมชาติ, สูตรวิตามินเสริม, วิตามินบำรุงร่างกาย

วิตามินล้างพิษ ช่วยสุขภาพดี หัวจรดเท้า ตอนที่ 1

วิตามินเยียวยา โรคหัวใจและหลอดเลือด

โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นโรคเรื้อรังที่พบได้บ่อยอาจารย์สาทิสแนะนำวิธีสังเกตอาการผิดปกติไว้ว่า

CHECKLIST

อาการผิดปกติของระบบหัวใจและหลอดเลือดจากท็อกซินภายใน

1. หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ อาจเป็นเพราะแพ้ยา

2. ไอ เสมหะมีสีเหลืองหรือเขียว มีไข้ อาจเกิดจากการติดเชื้อหรือการอักเสบ

อาการผิดปกติของระบบหัวใจและหลอดเลือดจากท็อกซินภายนอก

1. หัวใจเต้นแรง อาจเกิดจากการแพ้ยาหรือสารทำความสะอาดในบ้าน

2. หายใจไม่ออก แพ้แอสเบสตอสฝุ่นจากฝ้ายและเครื่องไฟฟ้า

วิตามิน, บำรุงหัวใจ, วิตามินล้างพิษ, สูตรวิตามินธรรมชาติ, สูตรวิตามินเสริม
กรดไขมันโอเมก้า-3 ช่วยบำรุงหัวใจ ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ

ไลฟ์สไตล์ก่อท็อกซิน

สมาคมโรคหัวใจ ประเทศสหรัฐอเมริกา รวบรวมข้อมูลจากหลายงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Circulation พบว่า ผู้ที่สูบบุหรี่มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจสูงกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ และผู้ที่เคลื่อนไหวร่างกายน้อย เช่น ทำงานนั่งโต๊ะตลอดวัน พักผ่อนโดยนอนดูทีวี มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจสูงกว่าผู้ที่ขยันหากิจกรรมให้ร่างกายได้เคลื่อนไหวถึง 2 เท่า

ส่วนพฤติกรรมที่ช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด วารสาร The New England Journal of Medicine เก็บข้อมูลจากผู้หญิง 84,129 คน ตั้งแต่ยังมีสุขภาพดีไม่เป็นโรคหัวใจ นาน 14 ปี พบว่า ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดต่ำมีพฤติกรรมที่คล้ายกัน คือ ไม่สูบบุหรี่ไม่อ้วน (มีค่าดัชนีมวลกายต่ำกว่า 25) และออกกำลังกายสม่ำเสมอ เช่น เดินเร็วอย่างน้อยสัปดาห์ละ ½ - 1 ชั่วโมง

นอกจากนี้ยังนิยมกินธัญพืชที่มีใยอาหารสูง เช่น ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต อาหารทะเลที่มีโอเมก้า - 3 สูง เช่น ปลาทูน่า ปลาแซลมอน อาหารที่มีโฟเลตสูง เช่นข้าวกล้อง ผักโขม สับปะรด

กินอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวต่ำ ไขมันทรานส์ต่ำ และอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ (ช่วยชะลอการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำตาลในเลือดหลังกินอาหาร) อีกด้วย

VITAMIN GUIDE

กรดไขมันโอเมก้า - 3 ช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ โดยการลดไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ช่วยเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดี ชื่อเอชดีแอลคอเลสเตอรอล (HDL-Cholesterol) ซึ่งช่วยนำคอเลสเตอรอลร้ายไปกำจัดที่ตับ ลดความดันโลหิตในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง ทั้งช่วยป้องกันการอุดตันในหลอดเลือด จากการรวมตัวกันของเกล็ดเลือด และป้องกันการหนาหรือแข็งตัวของหลอดเลือด สาเหตุของโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ

เพื่อป้องกัน สมาคมโรคหัวใจ ประเทศสหรัฐอเมริกา แนะนำให้ผู้ที่มีสุขภาพดีกินกรดไขมันโอเมก้า - 3 จากปลาทะเลอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ร่วมกับอาหารที่ให้พลังงานเหมาะสม หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว ไขมันทรานส์ เกลือและคอเลสเตอรอลสูง ส่วนผู้ป่วยโรคหัวใจแนะนำให้เสริมกรดไขมันโอเมก้า - 3 ที่มีส่วนประกอบของอีพีเอ (EPA) และดีเอชเอ (DHA) ที่สกัดจากปลาทะเลวันละ 1 กรัม

หนังสือ วิตามินไบเบิล โดย ดร.เอิร์ล มินเดลล์สำนักพิมพ์อมรินทร์สุขภาพ แนะนำวิตามินสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดดังนี้

โคเอนไซม์คิว 10 วันละ 2 – 3 ครั้ง

วิตามินบี  ขนาด 100 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง

ไอโซฟลาโวนอยด์คอมเพล็กซ์จากถั่วเหลืองวันละ 2 ครั้ง

อีพีเอและดีเอชเอ (จากน้ำมันปลาหรือน้ำมันจากเมล็ดแฟลกซ์) วันละ 2 ครั้ง

แต่ถึงอย่างนั้นก็ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อนซื้อวิตามินมากินเอง

วิตามินช่วยเยียวยา ประสาทหูเสื่อม

อาจารย์สาทิส แนะนำอาการผิดปกติ ของหูจากท็อกซินไว้ดังนี้

CHECKLIST

อาการผิดปกติของหูจากท็อกซิน ภายใน

  1. หูอื้อเพราะได้ยินเสียงดังตลอดเวลา
  2. คันรูหู ปวดหู และขี้หูมีกลิ่นเหม็น อาจเกิดจากโรคหูอักเสบ

อาการผิดปกติของหูจากท็อกซิน ภายนอก

  1. หูอื้อหรือไม่ได้ยินเสียงชั่วคราว อาจ เกิดจากการแพ้ยา
  2. หูอื้อชั่วคราวหรือไม่ได้ยินเลย อาจ เป็นเพราะได้รับควันพิษ คาร์บอนไดออกไซด์ ยาปฏิชีวนะ ยาขับปัสสาวะ โลหะหนัก หรือดื่มเหล้า
วิตามิน, ประสาทหู,วิตามินล้างพิษ,สูตรวิตามินธรรมชาติ, สูตรวิตามินเสริม
กินอาหารที่มีโฟเลตสูง ป้องกันประสาทหูเสื่อมได้

ไลฟ์สไตล์ก่อท็อกซิน

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ให้ข้อมูลว่า โรคประสาทหูเสื่อมจากการทำงาน เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่น อุบัติเหตุที่ทำให้ เกิดการบาดเจ็บที่ศีรษะ เกิดแผลไฟไหม้บริเวณหู หรือสัมผัสกับสารเคมีที่มีพิษต่อหู แต่สาเหตุ ส่วนใหญ่พบว่าเกิดจากการทำงานท่ามกลางเสียงดัง ต่อเนื่องเป็นเวลานาน

สำหรับอาชีพเสี่ยงที่ควรระวัง คือ อาชีพที่ ทำงานเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมโลหะ งานตัดไม้ เลื่อยไม้ อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมยาง และพลาสติก อาชีพขับรถรับจ้าง

ผู้เป็นโรคประสาทหูเสื่อมจากการทำงานจะมีปัญหาการฟัง อาการที่พบบ่อย คือ ฟังคนอื่น พูดไม่ชัด ไม่เข้าใจ ได้ยินคำพูดผิดไป และ ยิ่งได้ยินลำบากกว่าปกติเมื่อมีเสียงดังรบกวน นอกจากนี้อาจได้ยินเสียงดังในหู เช่น เสียง หึ่งๆ หรือเสียงกระดิ่ง โดยความผิดปกตินี้ อาจเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวหรือเกิดขึ้นตลอดเวลา และอาการจะหนักขึ้นเมื่ออยู่ในห้องที่เงียบสนิท

รองศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์พงศ์เทพ วิวรรธนะเดช ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะ แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อธิบายว่า

โรคประสาทหูเสื่อมจากเสียงนี้เป็นการสูญเสีย การได้ยินแบบถาวร โดยระดับเสียงที่ดังมากจะทำลายเซลล์บริเวณหูชั้นในแบบไม่สามารถกลับคืน สู่สภาพปกติได้ ยิ่งทำงานท่ามกลางเสียงดังนานๆ เซลล์บริเวณหูชั้นในยิ่งถูกทำลายมากขึ้น

ดังนั้นการป้องกันจึงดีที่สุด โดยหลีกเลี่ยง สถานที่ที่มีเสียงดัง ปรับปรุงสภาพการทำงานให้ อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เช่น ทำงาน 8 ชั่วโมง ค่าเฉลี่ยเสียงไม่ควรเกิน 90 เดซิเบล หรือหาก หลีกเลี่ยงไม่ได้ควรใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียง

VITAMIN GUIDE

โฟเลตมีบทบาทสำคัญในการช่วย สร้างเซลล์ เนื้อเยื่อ พัฒนาระบบ ประสาทและสมอง ควบคุมการสร้าง สารพันธุกรรม ช่วยผลิตเม็ดเลือดแดง ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและลดความ เสี่ยงการเกิดโรคต่างๆ

ข้อมูลจากวารสาร Federation of American Societies for Experimental Biology พบว่า หาก ขาดโฟเลต อาจเร่งให้ประสาทหูเสื่อม จนสูญเสียการได้ยินก่อนวัยอันควร โดยการที่ระดับโฟเลตในเลือดต่ำอาจ มีผลทำให้สูญเสียการได้ยินเฉียบพลัน ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งชั่วคราวและถาวร ทั้งยังมีการศึกษาพบว่า การเสริม กรดโฟลิกมีส่วนช่วยให้การได้ยินของ ผู้สูงอายุดีขึ้นอีกด้วย

สำหรับอาหารที่มีโฟเลตสูง ที่แนะนำ เช่น ข้าวกล้อง ผักโขม อะโวคาโด สับปะรด กล้วย ส้ม

นอกจากนี้หนังสือ วิตามินไบเบิล โดย ดร.เอิร์ล มินเดลล์ สำนักพิมพ์ อมรินทร์สุขภาพ ยังแนะนำสูตร วิตามินสำหรับบรรเทาอาการเสียงดัง ในหูดังนี้

ไนอะซินแบบไม่ทำให้ร้อนวูบวาบ ขนาด 50 – 100 มิลลิกรัม วันละ 3 เวลา

สังกะสี ขนาด 15 – 50 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง

 

รู้จักหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง กินอาหารและวิตามินอย่างเหมาะสม รวมถึงออกกำลังกายสม่ำเสมอ แม้งานหนักก็ไม่หวั่น สุขภาพแข็งแรงไปด้วยกันค่ะ

 

จาก คอลัมน์เรื่องพิเศษ นิตยสารชีวจิต ฉบับ 444


บทความน่าสนใจอื่นๆ

สูตรกินวิตามินบำรุงสมอง สำหรับทุกช่วงวัย

วิตามิน แอนไทเอจจิ้ง กินอย่างไร

เทคนิคกินวิตามินสำหรับสาววัยทอง วัยหมดประจำเดือน

ติดตาม ชีวจิต ในช่องทางต่างๆ ได้ที่

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.