รักษาตัวจนอาการป่วยต่างๆ หายไป

ตามดูความเสี่ยงสุขภาพ หลังรอดชีวิตจากโควิด-19

ตามดูความเสี่ยงสุขภาพ หลังรอดชีวิตจากโควิด-19

หลัง รอดชีวิตจากโควิด สุขภาพจะดีเหมือนเดิมได้หรือไม่? เชื่อว่าหลายคนคงเคยตั้งคำถามนี้ขึ้นในใจ ซึ่งในระหว่างที่คนจำนวนมากพยายามป้องกันอย่างเต็มกำลังไม่ให้ตัวเองติดเชื้อโควิด-19 แต่มีคนจำนวนหนึ่งที่โชคร้ายติดเชื้อไปแล้วแต่สุดท้ายโชคดีรักษาตัวจนอาการป่วยต่างๆ หายไป แต่ก็มีคำถามเกิดขึ้นมากมายเกี่ยวกับผู้ที่ได้รับเชื้อที่หลายคนยังสงสัยทั้งตัวผู้ที่เคยป่วยเองและคนรอบตัวที่อาจยังกังวลและหวาดกลัวว่าผู้ที่เคยป่วยแล้วบอกว่าหายแล้วจะปลอดภัยกับคนรอบตัวจริงหรือไม่ หรือหลังจากหายป่วยแล้วร่างกายจะเป็นอย่างไร จะมีโอกาสกลับมาเป็นอีกไหม คำถามนี้อาจกำลังดังก้องอยู่ในหัวของใครหลายๆ คน

ณ วันนี้ผลการวิจัยทางการแพทย์ยังไม่สามารถยืนยันได้แน่นอน แต่ก็มีผลการศึกษาบางส่วนที่ออกมาบ้างแล้วเกี่ยวกับเรื่องราวเหล่านี้ อย่างล่าสุดคณะนักวิจัยจากโรงเรียนแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวอชิงตัน ในเมืองเซนต์ลูอิสของสหรัฐฯ ได้ทำการศึกษาพบว่าหลังผู้ป่วยรอดชีวิตจาก โรคโควิด-19 ซึ่งส่วนมากหลังจากป่วยแล้ว 30 วัน พวกเขามีความเสี่ยงเสียชีวิตสูงกว่าประชาชนทั่วไปเกือบร้อยละ 60 ในช่วง 6 เดือนให้หลัง

โดยสัดส่วนการเสียชีวิตส่วนเกินในหมู่ผู้รอดชีวิตจาก โรคโควิด-19 หลังหายป่วยนาน 6 เดือน อยู่ที่ 8 รายต่อ 1,000 ราย ส่วนกลุ่มผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลและรอดชีวิตหลังติดเชื้ออย่างน้อย 30 วัน มีสัดส่วนการเสียชีวิตส่วนเกินในระยะ 6 เดือนหลัง อยู่ที่ 29 รายต่อ 1,000 ราย

รอดชีวิตจากโควิด

ในรางานการศึกษาระบุว่าหลังผู้ป่วยรอดชีวิตจากโรคโควิด-19 ซึ่งส่วนมากหลังจากป่วยแล้ว 30 วัน พวกเขามีความเสี่ยงเสียชีวิตสูงกว่าประชาชนทั่วไป ซึ่งความเสี่ยงทางสุขภาพหลังรอดชีวิตจากโรคโควิด-19 เพิ่มขึ้นตามระดับความร้ายแรงของอาการป่วย

โดยกลุ่มผู้ป่วยหนักเสี่ยงต่อภาวะโควิดระยะยาว (long COVID) และการเสียชีวิตมากกว่ากลุ่มอื่น โดยสาเหตุหลักอาจมาจากเชื้อไวรัสที่โจมตีระบบทางเดินหายใจ แต่ภาวะลองโควิดสามารถส่งผลกระทบต่อระบบอวัยวะเกือบทุกส่วนของร่างกาย

ทั้งนี้ยังไม่สามารถตอบคำถามนี้ได้แน่ชัดเพราะโควิด-19 เป็นโรคอุบัติใหม่ ความเสี่ยงของอาการต่างๆ แตกต่างกันตามแต่การรักษา ทั้งผู้ป่วยที่ได้รักษาในโรงพยาบาล และไม่ได้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล รวมทั้งเป็นไปตามความรุนแรงของโรค อายุ เพศ เชื้อชาติ รายได้ โดยเฉพาะปัญหาสุขภาพที่มีอยู่ก่อน อีกทั้งนักวิจัยยังไม่ได้ศึกษาคนไข้ในระยะเวลาที่ยาวนานพอ เนื่องจากการระบาดของโรคเพิ่งเกิดขึ้นเพียงไม่กี่ปี จึงยังไม่สามารถสรุปผลกระทบทางด้านสุขภาพในระยะยาวได้อย่างแน่ชัด รวมทั้งยังไม่สามารถบอกอัตราส่วนจำนวนของคนไข้ที่ได้รับผลกระทบ และระยะเวลาของอาการป่วยที่แน่ชัดได้

นักวิจัยบางส่วนระบุว่า ไวรัสมรณะ ทำให้เกิดปัญหาต่อเนื่องในระยะยาว อย่างอาการล้าเรื้อรังจนไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ รวมทั้งอาการปวดกล้ามเนื้อสมองและไขสันหลังอักเสบ สมองเสื่อม พาร์กินสัน เบาหวาน และไตวาย นอกจากนี้ผู้ป่วยโควิดในระยะยาวราว 68.9 เปอร์เซ็นต์จะมีประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ซึ่งหากคำนวณจากผู้ป่วยโควิดกว่า 142 ล้านคนทั่วโลก แม้จะมีผู้ที่มีอาการป่วยระยะยาวเพียงเล็กน้อย ก็ย่อมส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างมหาศาล และความเสียหายนี้จะยิ่งขยายตัวออกไป หากคนทั้งโลกยังต้องเผชิญกับการระบาดของไวรัสชนิดนี้ไปอีกเป็น 10 ปี

โควิด-19

ยังมีผลวิจัยระบุอีกว่า ผู้ป่วยโควิด-19 มีความเสี่ยงที่จะเผชิญอาการป่วยด้านจิตเวชหรือระบบประสาทเพิ่มขึ้นถึง 44% เมื่อเทียบกับผู้ที่หายป่วยจากโรคไข้หวัดใหญ่ และหากเทียบกับผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจอื่นๆ จะมีความเสี่ยงมากกว่าราว 16% อีกทั้งผู้ป่วยโควิด-19 ราว 1 ใน 50 คน จะประสบอาการโรคหลอดเลือดสมองตีบ ซึ่งเป็นลิ่มเลือดที่ส่งผลกระทบต่อสมอง

แต่ถึงกระนั้น สิ่งหนึ่งที่ผลการศึกษาวิจัยฉบับนี้ชี้ให้เห็นชัดเจนคือ ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จะกลายเป็นภาระในระยะยาวต่อระบบสาธารณสุข

แม้ว่าความเสี่ยงส่วนบุคคลสำหรับความผิดปกติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะมีเพียงเล็กน้อย แต่ผลกระทบต่อประชากรทั้งหมดอาจมีความสำคัญต่อระบบการดูแลสุขภาพและสังคม เนื่องจากขนาดของการแพร่ระบาดและภาวะอาการเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นอาการเรื้อรัง ด้วยเหตุนี้ระบบบริการสุขภาพจึงจำเป็นต้องได้รับการจัดหาทรัพยากร เพื่อรับมือกับความจำเป็นที่คาดการณ์ไว้ ทั้งในระดับบริการแบบปฐมภูมิและทุติยภูมิ

อย่างไรก็ตามผู้ที่หายป่วยแล้วต้องระมัดระวังตัวเองให้ดี ดูแลสุขภาพอย่างเข้มงวด ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ ที่อย่าเคร่งครัดจะดีที่สุดค่ะ

ที่มา: xinhuathai.com

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ 

วิจัยชี้ วิตามินดี อาจช่วยต้าน โควิด-19 คนที่ขาด เสี่ยงเป็นมากขึ้น

โควิดในอินเดีย การกลายพันธุ์ครั้งใหม่ของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

เมื่อโควิด-19ระลอกใหม่ ไม่แสดงอาการ หมอชี้ วัดระดับออกซิเจนในเลือด บอกได้ดีกว่า

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.