โควิด-19 ระยะเวลาที่อยู่ร่วมกัน สำคัญกว่าระยะห่าง
อ่านเจอข่าวงานวิจัยที่บอกว่าการ ติดโควิด-19 เรื่องของระยะเวลาที่อยู่ร่วมกันในอาคาร สำคัญกว่าการเว้นระยะห่าง เพราะถึงแม้ว่าจะสวมหน้ากากอนามัย แล้วอยู่ห่างกัน แต่อยู่ร่วมกันในสถานที่แออัดเป็นเวลานานก็มีโอกาสติดเชื้อ โควิด มากกว่า เรื่องนี้น่าสนใจเลยอยากเอามานำเสนอให้ทุกคนได้ทราบกันเพิ่มเติมค่ะ
เรื่องนี้เป็นงานวิจัยของสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) สหรัฐอเมริกา โดยศาสตราจารย์มาร์ติน บาแซนท์และศาสตราจารย์จอห์น บุช ได้ทำการวิจัย โดยได้ทดลองคำนวณความเสี่ยงจากการสัมผัสกับโควิด -19 ภายในอาคาร ภายใต้ปัจจัยที่อาจส่งผลต่อการแพร่เชื้อ เช่น ระยะเวลาที่อยู่ในอาคาร การไหลเวียนของอากาศ การสร้างภูมิคุ้มกัน การสวมหน้ากากอนามัย ท่ามกลางกิจกรรมที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุย การรับประทานอาหารร่วมกัน การร้องเพลง ซึ่งล้วนแต่ต้องมีการสูดอากาศเข้าสู่ร่างกายทั้งสิ้น
เพราะฉะนั้น การเว้นระยะห่าง 6 ฟุต ( 1.8 เมตร) จึงอาจไม่เกิดประโยชน์มากนักแม้ว่าจะสวมใส่หน้ากากอนามัย” โดยเหตุผลของทั้งสองคนมองว่า การที่ผู้คนอยู่ร่วมกันภายใต้อาคารหรือที่สถานที่ปิด การสูดหายใจขณะสวมหน้ากากอนามัยใช้อากาศในการหายใจจะหมุนเวียนอยู่ในพื้นที่จำกัด อากาศจะเคลื่อนที่ขึ้นลงและหมุนวนอยู่ภายในห้อง ทำให้มีความเสี่ยงจากการติดเชื้อโควิด-19 มากกว่าการเว้นระยะห่างด้วยซ้ำ
ละอองของเชื้อโรคมีโอกาสเดินทางผ่านอากาศภายในอาคาร เมื่อมีคนพูดคุย หายใจ หรือรับประทาน ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าการแพร่กระจายทางอากาศมีบทบาทอย่างมากในการแพร่กระจายของโควิด -19 ในระลอกหลัง เมื่อเทียบกับช่วงก่อนๆ ที่จะเน้นไปที่การล้างมือถือบ่อย
ดังนั้น ตัวแปรสำคัญที่ถูกมองข้ามคือ ยิ่งอยู่บ้าน ห้อง อาคาร กับผู้ติดเชื้อนานเท่าไหร่โอกาสในการแพร่และรับเชื้อก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น ระยะห่างไม่ได้ช่วยคุณได้มากขนาดนั้นและยังทำให้คุณรู้สึกปลอดภัยอย่างผิด ๆ อีกด้วยเมื่ออยู่ในอาคาร เพราะไม่ว่าคุณจะเว้นระยะห่างที่ 6 ฟุต (1.8 เมตร) ก็มีความเสี่ยงเท่ากับที่คุณอยู่ที่ 60 ฟุต (18 เมตร) ทุกคนในพื้นที่นั้นมีความเสี่ยงพอๆ กัน
สรุปได้ว่าการที่คนเราอยู่ห่าง 6 ฟุต หรือ 60 ฟุต ก็มีโอกาสติดโควิดในอาคารเท่ากัน เพราะอากาศที่บุคคลสูดหายใจเข้าไปในขณะที่สวมหน้ากากอนามัยนั้นมีแนวโน้มที่จะเคลื่อนที่ขึ้นและลงอยู่ภายในห้อง
ดังนั้นบุคคลจึงมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อโควิด-19 จากอากาศรอบๆ ตัวมากกว่าจากการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล แต่ความเสี่ยงจะมีน้อยลงหากพื้นที่นั้นๆ มีอากาศถ่ายเทได้ดี
เรียกว่าผลการวิจัยนี้เป็นเป็นการท้าทายคำแนะนำที่ใช้กันทั่วโลกที่ให้ประชาชนเว้นระยะห่างทางสังคมราว 6 ฟุต (six-foot rule) เพื่อป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ขององค์การอนามัยโลก(WHO) กันเลยทีเดียว ซึ่งนักวิจัยระบุว่าแปรสำคัญที่ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (ซีดีซี) และองค์การอนามัยโลก (ดับเบิลยูเอชโอ) มองข้ามคือระยะเวลาที่บุคคลอยู่ร่วมกันภายในอาคาร
เพราะหากบุคคลอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อนานเท่าใด โอกาสที่จะติดเชื้อก็จะยิ่งเพิ่มขึ้นมากเท่านั้น
นอกจากนี้ การวิจัยระบุว่า การเปิดหน้าต่างหรือการติดตั้งพัดลมเพื่อให้อากาศมีการเคลื่อนที่ถ่ายเทมากขึ้นนั้น อาจมีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้จ่ายเงินจำนวนมากเพื่อติดตั้งระบบกรองอากาศใหม่
ผลการวิจัยนี้บ่งชี้ให้เห็นว่า หากพื้นที่ใดที่มีการระบายอากาศอย่างเหมาะสม พื้นที่นั้นๆ ก็สามารถทำให้เป็นสถานที่ซึ่งปลอดภัยได้ แม้ว่าจะมีจำนวนคนเต็มความจุของสถานที่ก็ตาม
อ่านจบแล้วก็ทำให้กลับมาคิดว่า เรื่องของเวลาที่อยู่ร่วมกันกับคนจำนวนมากสำคัญกว่าการเว้นระยะห่าง ดังนั้น เราก็ไม่ควรอยู่ร่วมกันหลายๆ คน เป็นเวลานาน ยิ่งเว้นระยะห่างด้วยก็ยิ่งดี อยู่ร่วมกับคนจำนวนน้อยๆ ไม่มีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมเป็นเวลานาน อยู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเท สิ่งเหล่านี้น่าจะทำให้เรามีความเสี่ยงจากการติดเชื้อน้อยลง จริงมั้ยคะ หรือคุณผู้อ่านคิดเห็นอย่างไร ลองบอกให้ฟังกันหน่อย!!
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ