พิศาล อัครเศรณี, ภาวะหัวใจล้มเหลว, โรคหัวใจ, ป้องกันโรคหัวใจ

รู้ทันภาวะหัวใจวายของ พิศาล อัครเศรณี ความอันตรายที่ป้องกันได้

พิศาล อัครเศรณี ผู้กำกับ นักแสดงรุ่นใหญ่ ชื่อดัง วัย 73 ปี เสียชีวิตแล้วด้วยภาวะหัวใจวาย

พิศาล อัครเศรณี เสียชีวิตด้วยภาวะหัวใจล้มเหลว เมื่อกลางดึก วันที่ 4 ธ.ค. โดยคุณเปี๊ยก มีโรคประจำตัวคือ โรคหัวใจ ซึ่งอาการเหล่านี้ เรามีหนทางป้องกันได้

เมื่อวันที่ 3 ธ.ค. คุณเปี๊ยก พิศาล บ่นกับภรรยาว่า ปวดหลัง ทางครอบครัวจึงได้พาไปโรงพยาบาล หมอได้ฉีดยาให้ จากนั้นก็กลับบ้าน แต่ช่วงค่ำ อาการปวดหลังไม่ดีขึ้น ประกอบกับมีโรคประจำตัว คือ โรคหัวใจ ครอบครัวจึงรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลที่รักษาโรคหัวใจอยู่เป็นประจำ แพทย์ได้เอกซเรย์กระดูกหลังอย่างละเอียดไม่พบอะไร แต่ยังปวดหลังรุนแรง จึงให้ยาแก้ปวดก่อนให้แอดมิดที่ห้องพักฟื้น

คุณพิศาลก็ยังรู้สึกตัวดี แต่บ่นปวดหลัง เป็นระยะๆ จนช่วง 5 ทุ่ม คุณเปี๊ยกให้ปิดไฟ จะนอน จู่ๆ เกิดอาการหายใจไม่ออก ภรรยาและลูก รีบตามหมอมาดู พบว่า คุณเปี๊ยกเกิดอาการน็อก หมอปั๊มหัวใจ 3 ชั่วโมงครึ่ง จาก 5 ทุ่มกว่าถึงตีสองกว่า แพทย์พยายามช่วยสุดความสามารถแต่ไม่สามารถยื้อชีวิตเอาไว้ได้ โดยครอบครัวเตรียมประสานวัดเพื่อดำเนินการพิธีศพ

โดยกำหนดการงานศพ จะจัดพิธีรดน้ำศพ เวลา 17.00 น. และพิธีสวดอภิธรรมตั้งแต่วันที่ 4 – 11 ธันวาคมนี้ (งดสวดวันที่ 5 ธ.ค.) เวลา 19.00 น. ณ ศาลากลางน้ำ วัด เทพศิรินทราวาส

พิศาล อัครเศรณี, ภาวะหัวใจล้มเหลว, โรคหัวใจ, ป้องกันโรคหัวใจ
ภาพจาก wikipedia

เห็นข่าวแบบนี้แล้ว หลายคนคงอยากรู้วิธีดูแลหัวใจให้แข็งแรง ซึ่งรองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุพจน์ ศรีมหาโชตะ แพทย์อายุรศาสตร์โรคหัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มีคำแนะนำในการดูแลร่างกายมาฝาก

“การป้องกันคือหนทางดีที่สุดในการเลี่ยงภาวะหัวใจล้มเหลว เช่น การออกกําลังกายพอเหมาะ จะช่วยให้ผนังหลอดเลือดมีความยืดหยุ่นดีขึ้น แต่ขณะเดียวกัน การออกกําลังกายที่หักโหมเกินไปก็อาจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการแตกของก้อนไขมันได้เช่นกัน ดังนั้นจึงต้องออกกําลังกายอย่างสมดุล”

หนังสือกินให้ดี โดยนายแพทย์แอนดรู ไวล์ สํานักพิมพ์คลินิกสุขภาพ แนะนําวิธีกินเพื่อป้องกันและเยียวยาผู้ป่วยโรคหัวใจไว้ว่า ลดการกินอาหารที่ทําจากสัตว์และไขมันอิ่มตัวให้น้อยลง กินผักและผลไม้สดให้มากๆ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารแอนติออกซิแดนต์ กินธัญพืชเต็มเมล็ด ถั่วเปลือกแข็งให้มากขึ้น เพื่อให้ร่างกายได้รับใยอาหาร กินกระเทียมและเห็ดหอมเป็นประจํา หากเราสามารถควบคุมปัจจัยเสี่ยงโดยการหันมาดูแลสุขภาพอย่างเต็มที่แล้ว เชื่อว่าเราคงไม่ตกเป็นเหยื่อของภาวะหัวใจล้มเหลวได้อย่างง่ายๆ


บทความอื่นที่น่าสนใจ

สามารถติดตาม ชีวจิต ในช่องทางอื่นๆ ได้ที่

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.