อ่านหนังสือ, จำแม่น, วิธีอ่านหนังสือให้จำแม่น, สมอง, ความจำ

7 เทคนิค อ่านหนังสืออย่างไร ให้จำแม่น

วิธี อ่านหนังสือ ให้จำแม่น

การอ่าน ถือเป็นหนึ่งในทักษะจำเป็นในชีวิตประจำวัน ทั้งการเรียน การทำงาน การเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจในทักษะอื่นๆ ศาสตร์อื่นๆ และวิทยาการอื่นๆ แต่บางคนรู้สึกว่า อ่านหนังสือ แล้วจำไม่ค่อยได้ อ่านแล้วผ่านเลยไป หรือข้อมูลสำคัญๆ ตกหล่นจากความทรงจำไป วันนี้เราจึงมีเทคนิคการอ่านอย่างมีประสิทธิภาพ ที่จะช่วยให้จดจำข้อมูลที่อ่านได้ดียิ่งขึ้นมาฝาก

เทคนิคเหล่านี้อ้างอิงข้อมูลจากบทความของ W. R. (Bill) Klemm, ศาสตราจารย์ด้านประสาทวิทยาที่ มหาวิทยาลัยเท็กซัส เอแอนด์เอ็ม ซึ่งแบ่งออกเป็นข้อๆ ดังนี้

อ่านหนังสือ, จำแม่น, วิธีอ่านหนังสือให้จำแม่น, สมอง, ความจำ

รู้วัตถุประสงค์ในการอ่าน

สิ่งแรกที่นักอ่านทุกคนต้องรู้คือ “ทำไมเราถึงอ่านสิ่งๆนี้อยู่” และ “อ่านไปเพื่ออะไร” เช่น คุณที่กำลังอ่านบทความนี้อยู่ อยากได้เทคนิคการอ่านให้จำแม่นเมื่อตอบคำถามเหล่านี้ได้ เราจะรู้จุดมุ่งหมายและรู้ว่าเราต้องการสาระสำคัญอะไรจากสิ่งที่กำลังอ่านอยู่

กวาดตาคร่าวๆ ก่อน

ก่อนจะตั้งใจอ่านคำต่อคำ ประโยคต่อประโยค อยากให้ลองกวาดสายตามองสิ่งที่อ่านอยู่คร่าวๆ ก่อน หรือที่หลายคนรู้จักเทคนิคนี้ว่า Skimming ถือลองจับจุดสำคัญๆ เช่นหัวข้อหลัก หัวข้อย่อย รูปประกอบ กราฟต่างๆ ที่อยู่ในบทความ และคำสำคัญหรือ keyword ที่ส่วนใหญ่มักปรากฏอยู่ในหัวและท้ายบทความนั้นเอง วิธีนี้จะช่วยให้เราจับใจความสำคัญของสิ่งที่กำลังอ่านอยู่ได้ดี

มีเทคนิคการใช้สายตาให้การอ่าน

การอ่านโดยการไล่โฟกัสสายตาจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งนั้นมีผลต่อความจำและประสิทธิภาพในการอ่าน สิ่งที่อยากจะแนะนำคือ เมื่อเริ่มต้นอ่านจริงจัง ให้มองทุกประโยคและองค์ประกอบในหน้านั้น (ต่างจากการ skimming) และในการโฟกัสสายตาเพื่ออ่าน ให้มองเห็นคำศัพท์แวดล้อมรอบๆ หลายๆ คำด้วย ไม่ใช่การอ่านโดยการมองทีละคำ วิธีนี้จะช่วยให้การอ่านลื่นไหล ต่อเนื่อง เพิ่มความเข้าใจมากขึ้น

ใช้การไฮไลท์หรือจดโน้ต

วิธีนี้เหล่านักเรียนนักศึกษามักใช้กัน การจดโน้ต หรือใช้ปากกาสีสันต่างๆ ขีดเน้นในจุดที่คิดว่าสำคัญ ช่วยให้ผู้อ่านจดจำข้อมูลเหล่านั้นได้ดียิ่งขึ้น

อ่านหนังสือ, จำแม่น, วิธีอ่านหนังสือให้จำแม่น, สมอง, ความจำ

คิดเป็นภาพ

ภาพคือสิ่งที่มนุษย์จดจำได้ง่ายกว่าคำศัพท์ การอ่านและคิดภาพในใจช่วยให้สามารถเรียกความทรงจำของข้อมูลช่วงนั้นภายหลังได้ง่ายกว่า

ลองทบทวนสิ่งที่อ่านไป

หลังอ่าน ลองเรียกความทรงจำในสิ่งที่อ่านไป ภาพในใจต่างๆ คำสำคัญในแต่ละหัวข้อ เพื่อให้ผู้อ่านรู้ตัวว่าจดจำได้มากน้อยเพียงใด

อ่านเมื่อมีสมาธิ

การพยายามอ่านขณะที่มีสิ่งรบกวนหรือไม่มีสมาธิค่อนข้างเสียเวลาเปล่า ดังนั้นควรสร้างบรรยากาศในการอ่านให้เราสามารถจดจ่อและตั้งใจกับสิ่งที่อ่านได้จริงๆ

รู้เคล็ดลับแล้ว หนังสือเล่มต่อไปลองนำเทคนิคเหล่านี้ไปใช้ รับรองว่าจะช่วยให้จดจำเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้นแน่นอนค่ะ


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

10 ข้อดีของการอ่านหนังสือ ที่ทำให้องค์กรอยากจ้างงานคุณ

เทรนด์ฮิตปี 2019 เติมพลังสมองให้ฟิตเปรี๊ยะ ความจำดีเลิศ ต้องรู้อะไรบ้าง

อายุมากขึ้น จะแน่ใจได้อย่างไรว่าปลอดภัยจากภาวะ สมองเสื่อม อัลไซเมอร์

ความเเตกต่างอัลไซเมอร์ VS สมองเสื่อม และวิธีป้องกันแบบง่ายที่คุณไม่เคยรู้

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.