ได้ผลสำหรับทุกคนหรือไม่
ยังไม่มีการตีพิมพ์งานวิจัยเป็นระยะเวลายาวนานออกมาให้เห็น และสมาคมเบาหวานของประเทศส่วนใหญ่ ก็อยู่ในช่วงเฝ้าดู แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์และนักวิจัยทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงผลวิจัยเป็นจำนวนมากขึ้น และผู้คนนับหมื่นที่ได้
กินตามแนวทางที่ชื่อว่า LCHF (Low Carb High Fat) ลงความเห็นว่าปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
ซึ่งเมื่อเดือนมกราคม 2015 ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์จาก 26 ประเทศทั่วโลกได้ สนับสนุนให้จำกัดปริมาณการกินคาร์โบไฮเดรต ในฐานะมาตรการแรกที่จะจัดการควบคุมเบาหวานและภาวะเสี่ยงต่อการเกิดเบาหวาน ผ่านบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nutrition ในพฤษภาคมปีนี้ฟอรั่ม เบาหวาน UK ออนไลน์ได้ประกาศในฐานะส่วนหนึ่งของงานวิจัยที่ซึ่งกลุ่มตัวอย่าง 120,000 คนได้ลงชื่อเพื่อทดลองปฏิบัติตัวตามโปรแกรม Low Carb High Fat เป็นเวลา 10 อาทิตย์ซึ่งส่วนใหญ่รายงานว่า เห็นพัฒนาการที่ดีของน้ำตาลในเลือดและลดน้ำหนักได้ดีขึ้น
เป็นเวลากว่าหนึ่งทศวรรษที่นายแพทย์แอนเดรียส เอ็นเฟลด์ ชาวสวีเดน ได้ให้คำปรึกษาคนไข้ที่เป็นทั้งโรคอ้วน อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการเกิดเบาหวาน และป่วยเป็นเบาหวานประเภทที่สองแล้ว ให้ปรับเปลี่ยนมารับประทานอาหารในแนวทาง Low Carb High Fat ไม่กี่เดือน ปรากฏว่าอาการดีขึ้น อาการเบาหวานลดน้อยถอยลง และสามารถที่จะไม่ใช้ยา

ด็อกเตอร์ท่านนี้ในปี 2007 ที่ได้ก่อตั้งเว็บไซต์ภาษาสวีเดนไม่เพื่อการค้าไดเอ็ดด็อกเตอร์.com ในปี 2010 หนังสือชื่อ Low Carb High Fat Food Revolution ซึ่งได้กลายเป็นหนังสือขายดีของสวีเดนและได้รับการแปลอีกกว่าแปดภาษา
ในปี 2011 เขาเริ่มต้นเว็บไซต์ภาศาอังกฤษ Dietdoctor.com ซึ่งขณะนี้มีอัตราการมาเยี่ยมชม 2,000,000 ครั้งต่อเดือน และมีมากกว่า 300 เสียงยืนยันถึงสุขภาพที่ดีขึ้นเมื่อทานอาหารในแนว Low Carb High Fat
สิ่งอื่นสิ่งใดบ้างที่คุณทำได้อีก
-ออกกำลังกาย
กล้ามเนื้อของคนเราทำหน้าที่เหมือนฟองน้ำในการช่วยซึมซับกลูโคสในกระแสเลือด ยิ่งเราเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อประสิทธิภาพในการซึมซับยิ่งทำได้ดี การออกกำลังกายในที่นี้ ไม่จำเป็นต้องฝึกเพื่อไปวิ่งมาราธอน สิ่งที่ต้องการก็คือการเดินรอบรอบบ้าน หรือเดินขึ้นลงบันได เพื่อที่จะลดระดับน้ำตาลในเลือดลงซักเล็กน้อย
ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่แนะนำว่า ให้ออกกำลังกาย 30 นาทีโดยเลือกการเคลื่อนไหวที่เกิดแรงกระแทกน้อยในประจำวัน ลองเลือกการออกกำลังกายประเภทเดินเร็วถ้าไม่สะดวกที่จะเคลื่อนไหวร่างกายด้วยกิจกรรมอื่นๆ
-เพิ่มคุณภาพในการนอนหลับ
ผลวิจัยในปีที่ผ่านมาชี้ว่า มีความเชื่อมโยงกันระหว่างคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดี โรคนอนไม่หลับ และการอดนอน ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้น้ำหนักเพิ่มและเพิ่มแนวโน้มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน
-นอนหลับอย่างมีคุณภาพให้ได้คืนละ 7-8 ชั่วโมง
จะช่วยลดความเสี่ยงดังกล่าวได้คำแนะนำบ้างเล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับการนอนหลับให้ดีขึ้น คือต้องไม่วางโทรศัพท์โทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์หลับท็อปในห้องนอน รวมทั้งไม่นำสัตว์เลี้ยงมาอยู่ในห้องนอนและรถปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ก่อนเวลาเข้านอน ดูแลอุณหภูมิในห้องแอร์เย็นสบาย สวมที่อุดหูเพื่อป้องกันเสียงรบกวนและมีกิจวัตรการนอนที่ช่วยให้ผ่อนคลายอย่างสม่ำเสมอ
-การลดความเครียด
ความเครียดจะเพิ่มฮอร์โมนคอร์ติซอล เมื่อร่างกายการนอนหลับไม่เพียงพอ ก็จะทำให้ฮอร์โมนคอร์ติซอลเพิ่มมากกว่าเช่นเดียวกัน ซึ่งจะส่งผลต่อการเพิ่มของระดับน้ำตาลในเลือด ความเครียดเรื้อรังเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะการดื้อต่ออินซูลิน นำไปสู่การเกิดไขมันในช่องท้อง และเพิ่มอัตราเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดเบาหวานและเบาหวานประเภทที่สอง
ดังนั้น การลดความเครียดเป็นสิ่งจำเป็น เทคนิคพิเคบางอย่างในการลดความเครียด ได้แก่ การฝึกทำสมาธิ การฝึกโยคะ การนวด และการออกกำลังกายที่สร้างความผ่อนคลาย
การมีความเข้าใจในทันทีถึงอันตรายจากการได้รับผลวินิจฉัยว่ามีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดเบาหวาน จะส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตต่างๆ เปลี่ยนไปควบคุมปริมาณคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลในอาหาร ยกน้ำหนัก เดินที่ต่างๆและนอนหลับให้สนิท ซึ่งผลพลอยได้คือทำให้น้ำหนักตัวลดลง และการหมั่นตรวจเช็คปริมาณน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดเป็นประจำเป็นสิ่งจำเป็น
จริงๆแล้ว หลายคนที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นเขาหวานแล้วเกิดความรู้สึกกลัว อาจจะเป็นเรื่องที่โชคด เพราะมันอาจช่วยให้เราหันกลับมาพัฒนาสุขภาพและป้องกันไม่ให้เราป่วยเป็นโรคเบาหวานประเภทที่สอง
เราจำเป็นที่จะต้องเผยแพร่ความรู้นี้ออกไปให้มากๆ เพื่อให้คนสามารถที่จะได้ประโยชน์และเกิดการปฏิบัติ เพื่อพัฒนาสุขภาพของตัวของเขาเอง
บทความอื่นที่น่าสนใจ
5 โรคเบาหวาน ที่คุณควรรู้ เป็นหรือเปล่า
ออกกำลังกายแอโรบิก ช่วยป้องกันโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ได้จริง