เจ็บป่วยฉุกเฉิน และการบริการสุขภาพโรงพยาบาล HA
เจ็บป่วยฉุกเฉิน คนไข้ ผู้ป่วย อาจคิดว่าฉุกเฉิน ต้องรีบไปโรงพยาบาลพบหมอ แล้วรักษาอย่างรวดเร็วแล้วกลับบ้าน แต่แท้จริงแล้วฉุกเฉินอาจไม่ใช่แค่ คนไข้คิดว่าฉุกเฉิน แต่ฉุกเฉินต้องถูกประเมินในทางการแพทย์ด้วย
การจัดการระบบการบริการสุขภาพ ว่าด้วยเรื่องฉุกเฉิน จึงจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการที่ดี เพื่อให้ประชาชนผู้รับบริการให้ประโยชน์ และเข้าถึงการบริการที่เท่าเทียมกัน เเถมลดภาระการทำงานของบุคลากรด้านสุขภาพอีกด้วย
เมื่อไม่นานมานี้ ชีวจิตออนไลน์ได้มีโอกาสไปจังหวัดเชียงราย โรงพยาบาลเเม่สายและโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ เพื่อเยี่ยมชม และศึกษาดูงานพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลมาตรฐาน HA กับสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล องค์การมหาชน
จังหวัดเชียงรายมีการพัฒนาระบบการส่งต่อผู้ป่วยในกรณีฉุกเฉิน การจัดการเวชศาสตร์ฉุกเฉิน ที่เป็นระบบที่เอื้อต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย ตามมาตรฐานการประเมินและรับรองคุณภาพมาตรฐาน HA สามารถบริหารจัดการงานในด้านต่างได้ดี ส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์สูงสุด เช่น มีระบบการจัดการผู้ป่วยฉุกเฉินได้อย่างมีระบบ เป็นไปตามมาตรฐานสากล
นายแพทย์กิตตินันท์ อรรฆมณี ผู้อำนวยการสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (สรพ.) ระบุว่า
“ประเทศไทยมีโรงพยาบาลที่ได้รับการรับรองกระบวนการคุณภาพมาตรฐาน HA ทั้งสิ้น 782 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 66.04 ของโรงพยาบาลทั้งหมด เป็นโรงพยาบาลภาครัฐ 699 แห่ง และภาคเอกชน 83 แห่ง โดยเปอร์เซ็นต์การรับรองประกอบด้วย ประเภทโรงพยาบาลชุมชนร้อยละ 77.85 โรงพยาบาลทั่วไป ร้อยละ 88.54 โรงพยาบาลศูนย์ ร้อยละ87.88 โรงพยาบาลรัฐอื่นๆในสังกัดสธ.ร้อยละ 73.44 โรงเรียนแพทย์/รพ.มหาวิทยาลัย ร้อยละ92.31 ขั้น3รวมโรงพยาบาลที่ได้รับการรับรองขั้นก้าวหน้ากรุงเทพมหานครสังกัดกทม.ร้อยละ 87.50 “
“สำหรับโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ โรงพยาบาลแห่งเเรกที่เกิดขึ้นจากประชาชนโดยตรง สร้างขึ้นมาจากความร่วมมือของคนในชุมชน โดยไม่ต้องพึ่งงบประมาณของรัฐ ถือได้ว่าเป็นโรงพยาบาลประชารัฐอย่างแท้จริง ความสำเร็จของโรงพยาบาลในจังหวัดเชียงราย ในด้านการบริหารจัดการ คุณภาพของโรงพยาบาล ทำให้ประชาชนได้ประโยชน์จากการได้รับบริการสุขภาพอย่างทั่วถึง และครบทั้งวงจร”
โรงพยาบาลคุณภาพมาตรฐาน HA ด้านการจัดการเวชศาตร์ฉุกเฉิน
นายแพทย์วัชรพงษ์ คำหล้า รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า
“กระบวนการพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาลเชียงรายอยู่ภายใต้กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพระบบบริการภายใต้มาตรฐานในระบบHA โดยมีรพ.ในสังกัด18แห่ง ผ่านโรงพยาบาลมาตรฐาน HA ขั้น3 จำนวน17แห่ง และอีก1 แห่ง คือ รพ.ดอยหลวง ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีอาคารผู้ป่วยใน เพราะรพ.เพิ่งเปิดได้แค่2-3ปี โดยอยู่ระหว่างการวางระบบ แต่อย่างไรก็ตาม โดยระบบทั่วไป ก็อยู่ในมาตรการ HA ในการดูแลผู้ป่วยนอก และยังมีกลุ่มงานที่รับผิดชอบโดยตรงคอยดูแล ตรวจเยี่ยม กระตุ้น รพ.ด้วย
“นอกเหนือจากการพัฒนาคุณภาพต่อเนื่องยังเป็นหนึ่งในเครือข่ายศูนย์ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลหรือ HACCของสรพ.อีกด้วยโดยศูนย์ Haccรพ.เชียงรายฯ เป็นศูนย์พี่เลี้ยงใหญ่ทางด้านวิชาการ ลิงค์ข้อมูลโดยตรงกับสรพ. และรพ.ในสังกัด สร้างกิจกรรม การเรียนรู้ กระตุ้น ย่อยข้อมูลสื่อสาร สรพ.จากตำรา วิชาการกำกับหลักสูตรรายงานผลเข้าสู่รพ.และเป็นพี่เลี้ยงช่วยส่งผลงาน HA ฟอรั่มประจำปี
“มาสู่การทำความเข้าใจเพื่อนำไปสู่การปฎิบัติที่เข้าใจง่ายและนำไปใช้ในการทำงานได้โดยตรงโดยมีการติดตามดูแลช่วยเหลือเมื่อมีการร้องขอ เช่น รพ.ในชุมชนขนาดเล็กซึ่งในส่วนนี้จะทำหน้าที่ในการดูแลเพื่อให้เกิดพลังและไม่รู้สึกถูกทอดทิ้งเพื่อการบริการได้มีคุณภาพซึ่งท้ายที่สุดจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนซึ่งศูนย์HACCยังดูแลรวมทั้งจังหวัดพะเยาด้วย”
ทั้งนี้ถือว่าโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ผ่านการต่ออายุมาแล้ว5ครั้ง ครั้งละ3ปีซึ่งกว่า15ปีถือว่า มีประสบการณ์องค์ความรู้และมีการร่วมกันสังเคราะห์เพื่อสร้างความเข้าใจให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงรวมทั้งการส่งต่อภาวะวิกฤต เพื่อสร้างพัฒนา คุณภาพระบบบริการ
จะมีการจัดเวทีทุกหนึ่งเดือนเพื่อนำเคสกรณีศึกษาไม่พึงประสงค์ มาพูดคุยเพื่อทบทวนการทำงานหรือช่องว่างในการพบเจอปัญหาอุปสรรคโดยเป็นการศึกษาเรียนรู้ข้อมูลร่วมกันเพื่ออุดช่องว่างช่องโหว่ ถือเป็นเวทีทบทวนการทำงานประสบการณ์ในเหตุไม่พึงประสงค์หาข้อสรุปจากผู้เชี่ยวชาญร่วมกันและเฝ้าระวังไม่ให้เกิดซ้ำ