เบาหวาน ประสบการณ์สุขภาพ หายจากเบาหวาน โรคเบาหวาน

5 ประสบการณ์จริง ของคนที่รอดตายจาก เบาหวาน

วินัยการกินต้านเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์

เรื่องราวการป่วยเป็นเบาหวานของ คุณเอ้ อายุ 36 ปีต้องถือว่าเกิดขึ้นแบบไม่ทันตั้งตัว แต่ในที่สุดเธอก็สามารถเยียวยาเบาหวานได้ด้วยตัวเองด้วยวินัยในการควบคุมอาหารอย่างเข้มข้น

“เราไม่เคยมีพันธุกรรมเบาหวานมาก่อน พ่อแม่ก็ไม่ได้เป็น แต่กลับมาตรวจพบเบาหวานตอนท้อง ตอนคุณหมอนัดเจาะเลือดในสัปดาห์ที่ 28 คือย่างเข้าเดือนที่ 7 ปกติถ้าเป็นว่าที่คุณแม่ที่มีความเสี่ยงทางพันธุกรรม ทางโรงพยาบาลจะให้ตรวจหาเบาหวานตั้งแต่เดือนที่ 5 แต่ของเราเป็นการตรวจตามรอบ

ปกติของคนท้องที่ไม่มีความเสี่ยง ซึ่งพบค่าน้ำตาลสูงค่อนข้างมาก คือ อยู่ที่ 174 คุณหมอนัดให้ไปตรวจคัดกรองรอบที่ 2 เพื่อจะยืนยันผลว่าเราเป็นเบาหวานหรือไม่ ก็ตรวจพบว่าค่าน้ำตาลยังสูงอยู่ที่ 140 และคุณหมอก็ยืนยันว่าเราป่วยเป็นเบาหวานแล้ว”

เมื่อรู้เช่นนั้นคุณเอ้มีความตั้งใจที่จะเอาชนะเบาหวานให้ได้ เพราะกังวลว่าอาจส่งผลต่อสุขภาพของลูกในครรภ์ และส่งผลต่อสุขภาพของตัวเองในระยะยาว

“ตอนนั้นเรากังวลว่าจะส่งผลถึงลูกไหม ซึ่งคุณหมอก็บอกว่าจะทำให้ลูกมีน้ำหนักมาก เราเริ่มมาทบทวนตัวเองถึงสาเหตุการป่วยเป็นเบาหวานก่อนเลยก็พบว่าเราป่วยเพราะพฤติกรรมการกินแท้ๆ เพราะตอนท้องชอบกินของหวานและผลไม้หวานๆ เช่น ทุเรียน น้ำหวาน ขนมหวาน และกินข้าวเยอะมาก ครั้งหนึ่ง 3 – 4 ทัพพี จะเลือกกินแต่ของอร่อยๆ ไม่อร่อยไม่กิน คือติดรสชาติมาก

“พอเรารู้สาเหตุ ประกอบกับฟังคำแนะนำของคุณหมอ ก็ลงมือปรับเปลี่ยนเรื่องอาหารการกิน และต้องมีวินัยกับตัวเองเรื่องการกินมากขึ้น คือจะงดอาหารที่เป็นแป้งขาวทั้งหมด เช่น ข้าวขาว เส้นก๋วยเตี๋ยวทุกชนิด หันมากินข้าวกล้องมื้อละ 1 ทัพพี เพื่อให้การดูดซึมน้ำตาลเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป งดขนมหวานและผลไม้รสหวานจัดด้วย แม้จะเป็นผลไม้ที่รสไม่หวานจัดอย่างฝรั่ง ชมพู่ แอ๊ปเปิ้ล ส้ม ก็ยังต้องจำกัดปริมาณการกิน จะไม่กินมากจนเกินไป”

 

เบาหวาน ประสบการณ์สุขภาพ หายจากเบาหวาน โรคเบาหวาน

 

อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันดีว่า คนท้องหิวบ่อยซึ่งคุณเอ้ก็มีเคล็ดลับในการปรับเปลี่ยนอาหารที่ทำให้ตัวเองไม่ต้องทรมานกับอาการหิวบ่อย และยังช่วยให้สามารถดำเนินชีวิตได้เป็นปกติและสามารถควบคุมเบาหวานอย่างได้ผลด้วย

“คนท้องจะหิวตลอด เมื่อเรารู้สึกหิว ก็จะเน้นกินโปรตีน เช่น ปลา ไข่ ถั่วต่างๆ อาหารกลุ่มนี้ช่วยได้

เพราะไม่ทำให้น้ำตาลขึ้น และจะเน้นผักต่าง ๆ ด้วย

“นอกจากนี้เราต้องช่างสังเกตและดีไซน์อาหารแต่ละมื้อของเราเอง โดยดูจากค่าน้ำตาลในการเจาะเลือดหลังมื้ออาหารแต่ละครั้ง ซึ่งในแต่ละวันเราต้องเจาะเลือดดูค่าน้ำตาลวันละ 3 ครั้ง เช้า กลางวัน เย็น คือครั้งที่หนึ่งเจาะก่อนกินอาหาร ครั้งต่อไปเจาะหลังอาหาร 1 ชั่วโมง อีกครั้งเจาะหลังอาหาร 2 ชั่วโมง เราก็จะรู้ว่าอาหารที่กินเข้าไปในแต่ละมื้อเป็นเมนูที่ลงตัวแล้วหรือยัง อย่างมื้อไหนค่าน้ำตาลขึ้น เราก็จะรู้แล้วว่าเรากินอะไรมากไปที่ทำให้น้ำตาลขึ้น มื้อต่อไปก็จะปรับ หรือมื้อไหนกินแล้วค่าน้ำตาลปกติ ก็จะจำไว้ว่าเมนูเหล่านี้กินด้วยกันแล้วค่าน้ำตาลเราดี เราก็จะจดไว้ จะทำให้เราได้รู้ถึงชนิดอาหารและสัดส่วนที่เหมาะสมที่เรากินได้”

แม้หลังจากคลอดแล้ว คุณเอ้จะหายจากภาวะเบาหวานแต่คุณหมออธิบายว่า เธอยังคงมีความเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวานเมื่อสูงวัยได้ คุณเอ้จึงยังคงมีวินัยการกินอย่างต่อเนื่อง ทำให้ทุกวันนี้เธอมีสุขภาพแข็งแรงดีเยี่ยม

 

 

 

 

<< อ่านต่อหน้าที่ 5 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.