3Steps สู่ความสุขยามบั้นปลายของชีวิต

3Steps สู่ความสุขยามบั้นปลายของชีวิต

3Steps สู่ความสุขยามบั้นปลายของชีวิต

บั้นปลายชีวิต ของผู้สูงอายุแต่ละคนก็คงแตกต่างกันไป บางคนมีครอบครัวที่แสนอบอุ่นอยู่ดีกินดี สุขภาพร่างกายแข็งแรงลูกหลานอยู่พร้อมหน้าพร้อมตา แต่บางคนก็อยู่เพียงลำพังไร้คนเหลียวแล ก่อให้เกิดปัญหาหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านจิตใจ ซึ่งผู้สูงอายุที่ไม่ได้รับการเอาใจใส่ และความอบอุ่นจากลูกหลานอย่างเพียงงพอ ทำให้รู้สึกว้าเหว่ อ้างว้าง เกิดความกังวลว่าลูกหลานและญติพี่น้องจะทอดทิ้ง กังวลในเรื่องความตาย ผู้สูงอายุมักมีอารมณ์เปลี่ยนแปลงง เช่น เศร้า เฉยเมย เอาแต่ใจตัวเอง

ผลการสํารวจของสํานักงานสถิติแห่งชาติพบว่า 1 ใน 3 ของผู้สูงอายุไทยเป็นผู้มีความเปราะบางทางจิตใจ ซึ่งมีสาเหตุมาจากปัญหาการเจ็บป่วยเรื้อรังความรู้สึกว่าคุณค่าในตนเองลดลง และค่านิยมต่อผู้สูงอายุในสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่ไทยเป็นสังคมกสิกรรม ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุจะได้รับการดูแลเอาใจใส่มากกว่าสังคมอุตสาหกรรมในยุคปัจจุบัน

โดยปัญหาสุขภาพจิตที่พบบ่อยสูงสุดในผู้สูงอายุ 5 อันดับ ได้แก่ ความวิตกกังวล ซึมเศร้า นอนไม่หลับ ภาวะสมองเสื่อม และปัญหาทางเพศ

บั้นปลายชีวิต

ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขได้เคยมีรายงานไว้ว่า หนทางให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตและสุขภาพจิตดีขึ้น มีปัจจัย 3 ประการ ได้แก่ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจสุขภาพ(กาย)  และการมีส่วนร่วมทางสังคม หากต้องการให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตดี จําเป็นต้องพัฒนาจิตใจและอารมณ์ในเชิงบวกอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการรู้จักละวางรักษาจิตใจให้ผ่องใสโดยมีธรรมะของศาสนาที่ตนนับถืออยู่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยว ช่วยให้ใช้ชีวิตอยู่ใน สังคมได้อย่างผาสุกและเป็นที่พึ่งให้ลูกหลานหรือผู้คนรอบข้างได้

แพทย์หญิงศรีประภา ชัยสินธพ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ชี้ให้เห็นถึงแนวทางพัฒนาจิตใจผู้สูงอายุให้ห่างไกลปัญหาสุขภาพจิตไว้ 3 ข้อ ดังนี้

ฝึกละวางและมองเชิงบวก

แม้วัยเกษียณจะมีจุดด้อยด้านกําลังวังชา แต่ในด้านการพัฒนาจิตใจแล้ว นับเป็นช่วงเวลาที่มีต้นทุนชีวิตสูงสุด เพราะได้สั่งสมประสบการณ์ผ่านวัยรุ่นและวัยทํางานมาแล้วหากนํามาพัฒนาต่อ จะนําไปสู่ความมีวุฒิภาวะและปัญญาในท้ายที่สุดต้นทุนดังกล่าวจะช่วยให้ผู้สูงอายุมองเห็นและเข้าใจความ เปลี่ยนแปลงในชีวิตตามความเป็นจริงได้สามารถละวางและลด  ความยึดมั่นถือมั่นต่างๆได้ เรียกว่ามองเห็นธรรมหรือสภาวะธรรมชาติของสรรพสิ่ง ซึ่งเป็นความรู้สากล ไม่จํากัดศาสนา

ผู้สูงอายุแต่ละคนก็คงแตกต่างกัน

หากผู้สูงอายุนําประสบการณ์ที่ผ่านมาของตน ใช้พิจารณาความเป็นไปรอบตัวได้เช่นนี้จิตใจก็จะโปร่งเบา ตัดห่วงกังวลได้ หากรักษาใจให้ผ่องใสเช่นนี้ได้อยู่เสมอ ความทุกข์ใจก็จะลดลง แนวทางดังกล่าวช่วยให้ผู้สูงอายุหลายท่านมีมุมมองชีวิตเชิงบวก ทั้งยังพลิกเป็นอารมณ์ขันและไหวพริบในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้มากกว่าวัยรุ่นและวัยทํางาน เรียกว่ามีประสบการณ์ชีวิตเป็นแต้มต่อในการทําความเข้าใจธรรมะนั่นเอง

งานอดิเรกรักษาใจให้สดชื่น

งานอดิเรกรักษาใจให้สดชื่น

น่าเสียดายว่าในช่วงวัยหนุ่มสาวและวัยทํางานหลายคนมองข้ามประโยชน์ ของงานอดิเรก จึงปล่อยให้เวลาว่างผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์แต่คุณๆ ทราบหรือไม่ว่าการมีงานอดิเรกหรือกิจกรรมสร้างสรรค์ที่ตนเองชอบและทําอย่างต่อเนื่องในยามว่าง มีส่วนช่วยให้บุคคลนั้นๆ ปรับตัวง่ายขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยเกษียณ นอกจากได้รับความเพลิดเพลินแล้ว การทํางานอดิเรกยังช่วยขยายขอบเขตความรู้ความเชี่ยวชาญพิเศษอื่นๆ นอกเหนือไปจากการทํางานประจําด้วย

หากทําได้ดีและเชี่ยวชาญมากพอยังเป็นที่มาของการสร้างรายได้เสริมอีกช่องทางหนึ่ง ซึ่งช่วยสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจลดความกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ผู้สูงอายุมีได้อีกด้วย เมื่อมีองค์ความรู้อื่นๆ และหากมีรายได้พิเศษเสริมเข้ามาในช่วงบั้นปลาย ชีวิต งานอดิเรกสามารถนําไปสู่การขยายเครือข่ายทางสังคมช่วยให้ผู้สูงอายุ ไม่รู้สึกโดดเดี่ยวหรือซึมเศร้า

ช่วยเหลือสังคม

 Help the Community ช่วยเหลือสังคม

ผู้สูงวัยมีประสบการณ์ทั้งในด้านความรู้และทักษะสามารถ เป็นที่ปรึกษาในแวดวงที่ตนมีความชํานาญได้ดี อีกทั้งมีเวลาว่างจึงเหมาะกับการทํางานเพื่อสาธารณะประโยชน์ต่างๆ เช่น งานอาสาสมัครตามโรงพยาบาล หรือครูสอนวิชาชีพแก่ผู้ด้อยโอกาส

นอกจากนี้ควรส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้ช่วยเหลือ ซึ่งกันและกัน  เช่น เป็นอาสาสมัครออกเยี่ยมเยียน ผู้ป่วยในชุมชนที่ตนอาศัยอยู่จะได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ฝ่ายรับความช่วยเหลือก็มีกําลังใจ ฝ่าย  ให้ความช่วยเหลือก็มีความภูมิใจ สามารถใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าและเป็นที่พึ่งพาแก่คนรอบข้างได้

หากคุณอายุมากขึ้นสิ่งที่ต้องตระหนักย่อมมีมากขึ้นด้วย ลองทำสิ่งเหล่านี้ดู เชื่อว่าหากทำได้ ในบั้นปลายชีวิตน่าจะมีความสุขขึ้น ลองดูค่ะ!!

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ 

ยิ่งอายุมากยิ่งไม่ควรประมาทกับชีวิต

เคล็ดลับปรับครัว เสริมสุขภาพจิต สว.

กินเปลี่ยนโลก เปลี่ยนสุขภาวะผู้สูงวัย

 

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.