เพิ่มน้ำหนัก

5 เคล็ดไม่ลับ เพิ่มน้ำหนัก แบบคนสุขภาพดี

5 เคล็ดไม่ลับ เพิ่มน้ำหนัก แบบคนสุขภาพดี

คนจำนวนมากมีปัญหากับการลดน้ำหนัก แต่ขณะเดียวกัน ก็มีคนจำนวนมากเช่นเดียวกัน ที่พยายามหาวิธีเพิ่มน้ำหนักของตัวเอง เนื่องด้วยปัญหาน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ ซึ่งปัญหาน้ำหนักน้อยจริงๆ แล้วส่งผลเสียต่อสุขภาพของเราพอๆ กับการมีน้ำหนักตัวเยอะเลยทีเดียว บทความนี้เราจึงมีเคล็ดไม่ลับของการ เพิ่มน้ำหนัก มาฝาก 5 วิธีด้วยกัน

อาหาร5หมู่

ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่

การทานอาหารครบ 5 หมู่ โดยไม่เน้นสารอาหารใดอย่างเดียว จะทำให้สามารถเพิ่มน้ำหนักได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่สำคัญหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำก่อนมื้ออาหาร โดยเฉพาะน้ำหวาน เพราะจะทำให้อิ่มเร็ว

แบ่งมื้ออาหารให้ถี่ขึ้น

วันหนึ่งจากเดิมทานวันละ 3 มื้อ อาจลองหันมาแบ่งเป็น 5-6 มื้อย่อย โดยเพิ่มอาหารที่มีแคลอรี่สูงหรือมากพลังเข้าไปด้วย แต่ทั้งนี้ต้องให้สารอาหารที่ดี เช่น ทานโยเกิร์ตกับธัญพืช เนยถั่วกับขนมปังโฮลวีต เป็นต้น

ทานอาหารที่มีโปรตีน ควบคู่กับเมนูผัก

อาหารประเภทโปรตีน จะช่วยเสริมสร้างมวลกล้ามเนื้อ (ที่ไม่รวมไขมัน) ที่จะทำให้น้ำหนักตัวของเราเพิ่มมากขึ้นไปด้วย โดยแหล่งโปรตีนที่ดี อย่างเช่น โปรตีนจากปลา ไข่ ธัญพืช ถั่วและเมล็ดพืชต่างๆ  และควรทานผักปิดท้าย เพื่อการเพิ่มน้ำหนักตัวอย่างมีประสิทธิภาพ

ออกกำลังกาย

เพิ่มน้ำหนักของกล้ามเนื้อ

การเพิ่มน้ำหนักของกล้ามเนื้อด้วยการออกกำลังกาย สามารถเพิ่มน้ำหนักตัวได้ อีกทั้งยังสร้างความแข็งแรง ส่งผลให้มีสุขภาพดีอีกด้วย โดยสัปดาห์หนึ่งควรออกกำลังกาย 2-3 วัน ครั้งละ ครึ่งชั่วโมง – 1 ชั่วโมง

 

พักผ่อนให้เพียงพอ

การนอนหลับ โดยเฉพาะการนอนหลับสนิท เป็นสิ่งสำคัญต่อการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อที่จะส่งผลต่อน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น

 

วิธีเบื้องต้นในการคำนวณค่าดัชนีมวลกาย – BMI

สาเหตุโดยทั่วไป สำหรับผู้ที่จำเป็นต้องเพิ่มน้ำหนัก เกิดจากการที่น้ำหนักของผู้ป่วยต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งจะวัดจากค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ในร่างกายนั่นเอง โดยหากต่ำกว่า 20 จะถือว่าน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน มีสูตรการคำนวณง่ายๆ ดังนี้  ในผู้ชายให้ใช้ส่วนสูง (เซนติเมตร) ลบหนึ่งร้อย จะได้น้ำหนักตัวที่เหมาะสม และในผู้หญิงให้ลบหนึ่งร้อยสิบ หรืออีกสูตร คือ น้ำหนักตัว (กิโลกรัม)  หาร  ส่วนสูง (ที่มีหน่วยเป็นเมตร ยกกำลังสอง)

สูตรคำนวณเหมาะสำหรับใช้ประเมินผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป เพื่อดูอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ รวมถึงตรวจสอบภาวะไขมันและความอ้วน


ค่าแสดงดัชนีมวลกาย

น้อยกว่า 18.5   =   ผอม

ระหว่าง 18.5 – 24.9    =     สมส่วน

ระหว่าง 25 – 29.9    =   น้ำหนักเกิน

มากกว่า 30   =  อ้วน

มากกว่า 40   =  อ้วนมาก

 

ผอม, น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์

สาเหตุและอันตรายของผู้ที่มีปัญหาน้ำหนักตัวน้อย

อาการน้ำหนักตัวน้อยผิดปกติ ทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำ ร่างกายอ่อนแอ เสี่ยงต่อการเกิดกระดูกพรุน มีบุตรยากและมีอาการประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ซึ่งมีด้วยกันหลายสาเหตุ ได้แก่ ความผิดปกติของการกิน ในที่นี้รวมถึงอาการเบื่ออาหาร, ปัญหาเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์  ที่สามารถเพิ่มการเผาผลาญและทำให้น้ำหนักลดลง ไปจนถึงโรคเบาหวาน ที่ทำให้น้ำหนักลดลงอย่างรุนแรง หรือโรคมะเร็ง เป็นต้น

ทั้งนี้หากลองปรับการทานตามด้านบนแล้วน้ำหนักตัวยังไม่เพิ่ม แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ เพื่อได้รับการวินิจฉัยที่เหมาะสมตามแต่ละคน

ที่มาข้อมูลเพิ่มเติม

 

บทความน่าสนใจอื่นๆ

วิธีเพิ่มน้ำหนัก อย่างไร ให้สวยสมส่วน

รู้มั้ย ผอมไปเสี่ยง “กระดูกพรุน”

3 เคล็ดลับลดความอ้วน จากประสบการณ์ตรง

กินให้ผอม กินให้ดี กินให้สวย ด้วยชีวจิต

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.