” ครอบแก้ว ” การบำบัดการรักษาอาการป่วยตามแพทย์แผนจีน ช่วยรักษาอาการป่วยได้หลากหลาย ขจัดสารพิษ เพื่อสุขภาพที่ดี
วันนี้ชวนทุกคนมาทำความรู้จักกับ ครอบแก้ว การบำบัดรักษารักษาทางเลือกของแพทย์แผนจีนชนิดหนึ่ง โดยการนำถ้วยแก้วแบบเฉพาะมาวางบนผิวหนังพร้อมความร้อน มาเคลียร์ให้ชัดครอบแก้วคืออะไร? ที่นี้มีคำตอบ
ครอบแก้ว คืออะไร?
การครอบแก้ว (Cupping Therpy) เป็นศาสตร์การแพทย์จีนโบราณที่เกิดขึ้นพร้อมๆกับการฝั่งเข็ม ที่มีบันทึกในหนังสือและมีประวัตินาวนานกว่า 2,000 ปีมาแล้ว โดยนำถ้วยแก้วแบบเฉพาะมาวางไว้บนผิวหนังพร้อมใช้ความร้อนให้แก้วดูดผิวหนังขึ้นมา สามารถรักษาอาการป่วย อาทิเช่น บรรเทาอาการเจ็บปวด ช่วยในการไหลเวียนเลือก ผ่อนคลาย หรือช่วยในการขจัดสารพิษออกจากร่างกาย
แต่เดิมสมัยก่อนยังไม่มีแก้ว ชาวจีนจึงใช้เขาสัตว์ กระบอกไม้ไผ่แก่ หรือกระปุกเซรามิก ที่มีความกลวงเป็นอุปกรณ์หลักในการครอบและจึงได้วิวัฒนาการเปลี่ยนมาเป็นแก้วจนกระทั่งปัจจุบัน
ครอบแก้วทำอย่างไร?
แพทย์สอบถามอาการผู้ป่วยและจับชีพจร (แมะ) เพื่อวินิจฉัยโรค จากนั้นแพทย์จะทำการรักษาโดยใช้แก้วสีใสปลอดเชื้อ อาศัยความร้อนไล่อากาศภายในแก้วเพื่อให้เกิดภาวะสุญญากาศ จากนั้นครอบแก้วลงบนผิวหนัง แก้วจะดูดผิวหนังและกล้ามเนื้อขึ้นมา ผิวหนังจะเริ่มเปลี่ยนสี
- การครอบแก้วแบบครอบทิ้งไว้บนผิวหนัง เพื่อรักษาอาการปวดจากความเย็น ปวดจากร่างกายเสียสมดุล หรือปวดเฉพาะที่
- การครอบแก้วแบบเคลื่อนไหวหรือการเดินถ้วย (โจ่วก้วน) เพื่อรักษาอาการปวดจากลมปราณติดขัด และอาการชา
- การครอบแก้วแบบดึงเร็ว (ส่านก้วน) ใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการปวดและชาที่ผิวหนัง หรือสมรรถภาพ (ทางร่างกาย) เสื่อมถอย
- การครอบแก้วที่ประสานกับการใช้เข็มปลอดเชื้อ (ซื่อลั้วป๋าก้วน) ใช้รักษาโรคไฟลามทุ่ง ฝีหนอง รวมถึงอาการปวดเมื่อยเคล็ดขัดยอก
- การครอบแก้วที่ใช้คู่กับการฝังเข็ม เพิ่มประสิทธิภาพการฝังเข็มและครอบแก้วควบคู่กัน
โดยการครอบแก้วอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ เกิดรอยแดง ม่วง ช้ำ ซึ่งถือเป็นอาการปกติ สามารถหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์
ครอบแก้วมีวิธีการอย่างไร?
- ขั้นตอนแรกให้แพทย์แผนจีนตรวจและวินิฉัยอาการเพื่อหาสาเหตุ
- ใช้สำลีชุดแอลกอฮอล์แล้วจุดไฟใส่เข้าไปในถ้วยแก้วเพื่อให้เกิดสุญญากาศ แล้วจึงนำถ้วยแก้วนั้นวางคว่ำไปยังตำแหน่งที่ต้องการรักษา
- แรงดูดสุญญากาศจากภายในแก้วจะดูดผิวหนังและกล้ามเนื้อของผู้บำบัดขึ้นมาซึ่งผิวหนังบริเวณนั้นจะเปลี่ยนเป็นสีแดงหรืออาจทำให้มีเลือดคั่ง ของเสียออกมาจากผิวหนัง
- ในวิธีครอบแก้วแบบแห้งจะใช้เวลาที่ประมาณ 5-10 นาที ส่วนวิธีการครอบแก้วแบบเปียกแพทย์อาจจะกรีดแผลเล็กๆเพื่อเป็นการระบายเลือดออกโดยใช้เวลาประมาณ 2-3 นาทีเท่านั้นแล้วจึงทาขี้ผึ้งและปิดด้วยผ้าผันแปลเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อ รอยแดงที่เกิดจากการครอบแก้วจะสามารถหายไปภายใน 5-7 วัน
ครอบแก้วตำแหน่งไหนได้บ้าง?
การครอบแก้วสามารถทำได้ทุกส่วนของร่างกายที่มีอาการผิดปกติ และสามารถวางถ้วยแก้วขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3-5 เซนติเมตรได้ เช่น หน้าอก หน้าท้อง แผ่นหลัง แขน ขา
สีของผิวหลังครอบแก้วบอกอะไรกับเรา?
เมื่อทำการรักษาโดยการครอบแก้วเสร็จแล้ว ตรงบริเวณผิวหนังที่โดนครอบจะเกิเป็นรอยจ้ำสีเข้มๆ แดงๆ หรืออาจจะม่วง ซึ่งความเข้มของรอยจ้ำนั้นสามารถบอกลักษณะอาการปวดตรงบริเวณนั้นๆได้ว่าเป็นอย่างไร
รอยสีดำคล้ำ หมายถึง มีเลือดคั่งอยู่ภายใน
รอยสีม่วง หมายถึง มีความเย็นหรือเลือดคั่งอยู่
รอยมีจุดสีม่วงๆ กระจายอยู่ หมายถึง ชี่ติดขัดหรือมีเลือดคั่ง
รอยสีแดงสด หมายถึง พลังและเลือดพร่อง หรืออินพร่อง
รอยสีดำคล้ำ หมายถึง มีความร้อนอุดกั้นไว้ภายใน โดยรอยแดงที่เกิดขึ้นจะสามารถจางหายไปเอาภายใน 1 อาทิตย์
ครอบแก้วมีประโยชน์อย่างไร?
หลังการของเสียสารพิษต่างๆ ถูกดึงออกจากบริเวณที่ถูกครอบแก้วจะเกิดการเพิ่มการไหลเวียนเลือดที่ดีขึ้น กระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายโดยกลไก 2 ประการ
- การกระตุ้นกลไกการอักเสบเฉพาะที่
- เพิ่มการไกลเวียนของน้ำเหลือง
นอกจากนี้การครอบแก้วมีผลให้เกิดการหลั่งสารสื่อประสาทและกระตุ้นปลายประสาทรับสัมผัสบางชนิด ทำให้มีฤทธิ์ลดปวด และนำมาใช้ในการรักษาอาการปวดต่างๆ อาทิเช่น ปวดหลัง ปวดคอ
แต่ประโยชน์ของการครอบแก้วไม่มีเพียงรักษาอาการปวดเท่านั้น ยังสามารถนำมาใช้ในรักษา สิว ฝ้า อัมพาตใบหน้า อ่อนเพลีย ซึมเศร้า รวมถึงเพิ่มภูมิต้านทานให้แก่ร่างกายอีกด้วย
โรคที่เหมาะกับการรักษาด้วยการครอบแก้ว
- โรคระบบทางเดินหายใจ โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลันและเรื้อรัง หอบหืด ปอดบวม ปอดอักเสบ เยื่อหุ้มปอด อักเสบ
- โรคระบบทางเดินอาหาร กระเพาะอักเสบเฉียบพลันและเรื้อรัง ปวดระบบประสาทกระเพาะ อาหารไม่ย่อย กรดเกินในกระเพาะอาหาร
- โรคระบบหมุนเวียนเลือด ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด โรคโลหิตจาง
- โรคระบบการเคลื่อนไหวร่างกาย ปวดกระดูกต้นคอ ปวดข้อศอก ปวดหลัง ปวดเอว
- โรคระบบประสาท เช่น โรคปวดศีรษะ ความเครียด ความวิตกกังวล ปวดไมเกรน ภาวะซึมเศร้า
- โรคสตรี ปวดท้องประจําเดือน
- โรคและปัญหาเกี่ยวกับผิวหนัง สิว ฝี หนอง โรคผิวหนังอักเสบ
การเตรียมตัวก่อนรับการรักษาด้วยการครอบแก้ว
ก่อนรับการรักษาด้วยการครอบแก้วเตรียมตัวให้พร้อมโดยรับประทานอาหารตามปกติมาก่อนประมาณ 1-2 ชั่วโมง ไม่ควรรับประทานจนอิ่มเกินไป หากมีโรคประจำตัวสามารถรับประทานยาได้ปกติ และระหว่างรักษาหากมีอาการปวดมากควรรีบแจ้งให้แพทย์ทราบโดยทันที
หลังครอบแก้วควรทำอย่างไร?
- หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำเย็น ควรดื่มน้ำสะอาดที่อุณหภูมิห้องหรือน้ำอุ่นเป็นเวลา 1 วัน เพราะการดื่มน้ำอุ่นจะมีส่วนช่วยให้ร่างกายขับของเสียออกได้โดยง่าย
- งดอาบน้ำหรือตากแอร์เย็นเป็นเวลา 2 ชั่วโมง หลังจากครอบแก้ว
- ควรพักผ่อนหลังจากครอบแก้ว เพราะการครอบแก้วอาจทำให้ผู้ป่วยบางรายเกิดอาการอ่อนเพลียได้
- อาการผิดปกติที่ควรโทรสอบถามหรือมาพบแพทย์ เช่น มีอาการบวม แดง แสบร้อน มากผิดปกติ ปวดรุนแรงบริเวณจุดครอบแก้วหรือมีไข้สูง
- โดยเฉลี่ยสามารถครอบแก้วได้สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง หากผู้ป่วยมารับการรักษาต่อเนื่อง ร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามคำแนะนำของแพทย์ จะทำให้ผลการรักษามีประสิทธิภาพสูงขึ้น
ผลข้างเคียงจากการครอบแก้ว
- ระหว่างครอบแก้วและเมื่อครอบเสร็จอาจเกิดอาการเจ็บปวดตำแหน่งที่ครอบแก้ว
- ระหว่างครอบแก้วอาจรู้สึกวิงเวียนศีรษะ เหงื่ออกมากคล้ายจะเป็นลม
- ผิวบริเวณที่ครอบแก้วจะเกิดแผลไหม้ หรือรอยจ้ำสีม่วงๆ ขึ้น หรือรอยฟกช้ำ ในบางรายอาจมีเลือดออกได้
- รู้สึกไม่สบายตัวบริเวณที่ครอบแก้ว
- มีโอกาสติดเชื้อบริเวณที่ครอบแก้วได้ หากอุปกรณ์ที่ใช้ไม่สะอาด
ข้อห้าม ข้อควรระวัง ในการครอบแก้ว
โดยปกติคนทั่วไปสามารถรับการรักษาแบบครอบแก้วได้ แต่กลุ่มที่ไม่ควรรับการรักษาโดยวิธีนี้เช่น
หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคหัวใจ เด็ก ผู้มีผิวหนังเป็นแผลเปิด ผู้ป่วยโรคG6PD ผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะลุกลาม กลุ่มตัวอย่างเหล่านี้ไม่ควรรับการครอบแก้วอย่างเด็ดขาด
กล่าวโดยสรุปก็คือ ผู้ที่ต้องการเข้ารับการรักษาด้วยการครอบแก้ว ควรให้แพทย์วินิฉัยและแนะนำวิธีการก่อน และควรเลือกสถานที่รักษาที่มีการรับรอบว่าผ่านเกณฑ์มาตรฐาน สะอาด เพื่อความปลอดภัย ความสบายใจของตัวท่านเอง และระวังผลข้างเคียงหลังการครอบแก้วด้วย
ข้อมูลจาก โรงพยาบาลหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
___________________________________________
บทความอื่นที่น่าสนใจ
การครอบแก้ว ครอบกระปุก (Cupping Therapy)
การครอบแก้ว (Cupping) เพื่อการบำบัดและการรักษา
เคล็ดลับ เสริมภูมิคุ้มกัน ธรรมชาติจากศาสตร์แพทย์แผนจีน ยุคโควิด