รักษาแผนไทย ด้วยการแพทย์แผนไทยแบบไหน
ให้หายจากโรค (ตอนที่2)
รักษาแผนไทย ด้วยการแพทย์แผนไทย มีวิธีการรักษามากมายหลายรูปแบบ อย่างเช่นที่เคยได้บอกไปแล้วบ้างในตอนแรก ซึ่งเป็นวิธีการรักษาด้วยยาสมุนไพร (ตอนที่1)
แต่ในตอนนี้จะได้นำเสนอรูปแบบการรักษาอื่นๆ ที่เหมาะสมด้วยวิธีการรักษาแผนไทย ซึ่งแบบไหนจะเหมาะกับโรคอะไรนั้น ลองมาดูกันครับ
- การนวด นวดเป็นศาสตร์การแพทย์แผนไทยยอดฮิตที่หลายๆคนคุ้นชิน เพราะเมื่อนวดปุ๊บอาการก็ดีขึ้นทันที การนวดจึงเหมาะกํบกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและกระดูก โรคไมเกรน อาการปวดประจำเดือน
- การอบสมุนไพร ช่วยทำให้ระบบหายใจดีขึ้น กล้ามเนื้อคลายตัว ระบบเลือดไหลเวียนได้ดี เหมาะสำหรับคนที่มีอาการภูมิแพ้อากาศ โรคหืดชนิดที่ไม่รุนแรง คนที่นอนไม่หลับ และอาการปวดเมื่อตัวเรื้อรัง
- การประคบร้อน ความร้อนจากการประคบช่วยทำให้ระบบไหลเวียนเลือดดีขึ้น กล้ามเนื้ออ่อนตัวลง และลดอาการปวดได้ ซึ่งปกติแล้วนิยมใช้ลูกประคบนึ่งแล้วประคบบริเวณที่มีอาการ หรือใช้ถุงน้ำร้อน ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบท้องหรือหลัง เพื่อลดอาการปวดประจำเดือนได้
- กวาดยา เป็นการนำสมุนไพรที่มีรสขม หรือยาแก้ไข้ ไอ เจ็บคอ เช่น ยาเขียว มาละลายน้ำต้มสุกหรือน้ำกระสายยา แล้วใช้นิ้วชี้ตักยา ป้ายลงบริเวณโคนลิ้นหรือคอ เช่น เมื่อเจ็บคอ ไอ ให้ใช้ยาเขียวหอม ละลายกับน้ำผึ้ง มะนาว และแทรกเกลือเล็กน้อย ป้ายคอ
- การเผายา เป็นวิธีการใช้ความร้อนนำตัวยาผ่านเข้าสู้ร่างกายทางรูขุมขน เพื่อลดอาการปวดกล้ามเนื้อ ปวดท้อง หรือช่วยระบายลมที่คั่งค้างในร่างกายมากเกินไป ซึ่งวิธีการนี้ต้องทำด้วยแพทย์แผนไทยที่มีความชำนาญเท่านั้น
- การอยู่ไฟ เป็นขั้นตอนการดูแลสุขภาพของมารดาหลังคลอด เพื่อให้ร่างกายปรับสภาพได้เร็วขึ้น มดลูกเข้าอู่ได้เร็ว สำหรับขั้นตอนการอยู่ไฟมีทั้งหมด 7 ขั้นตอน ได้แก่ การนวด ทับหม้อเกลือ(ช่วยให้หน้าท้องยุบเร็วขึ้น มดลูกเข้าอู่ได้ไว) การอบสมุนไพร การดื่มน้ำสมุนไพร การนั่งถ่าน (ทำให้แผลฝีเย็บหายดีขึ้น กระชับช่องคลอด มดลูกเข้าอู่) การอาบน้ำสมุนไพร การพันผ้าหน้าทอง (ทำให้หน้าท้องยุบตัวเร็วขึ้น) โดยคนที่คลอดปกติสามารถอยู่ไฟได้หลังจาก 7 วัน แต่ถ้าหากผ่าคลอด อยู่ไฟได้หลังจาก 30 วัน
- ฤาษีดัดตน เป็นท่าการออกกำลังกายแบบไทยที่พัฒนามาจากท่าการพักอิริยบถของฤาษี ประกอบด้วยหลากหลายท่า ช่วยแก้อาการปวดเมื่อย ปวดศีรษะ ปวดเข่า ปวดหลัง ฯลฯ เหมาะสำหรับใช้ออกกำลังกายเพื่อป้องกันโรค และรักษาอาการเจ็บป่วย
- การแช่เท้า ช่วยทำให้ระบบไหลเวียนเลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น กระตุ้นระบบสัมผัสของผิวหนัง ลดอาการชาเท้า เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ปวดข้อเท้า ปวดส้นเท้า
ต่อไปนี้ ไม่ว่าจะเลือกวิธี รักษาแผนไทย ด้วยการรักษากาแพทย์แผนไทยแบบนั้น ก็ถูกต้องและหายป่วยได้ไว
บทความน่าสนใจอื่นๆ
How to: เลือกรักษาแพทย์แผนไทยแบบไหน ให้หายจากโรค (ตอนที่1)