โพรไบโอติก ของดีที่ช่วยเสริมสร้าง ฟื้นฟูระบบภูมิคุ้มกัน ป้องกันการเสื่อม ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้จุลินทรีย์ก่อโรคเติบโตมากเกินไป ตัวอย่างเช่น ในระบบทางเดินอาหารต้องมีสัดส่วนจุลินทรีย์ดีต่อจุลินทรีย์ก่อโรคในอัตราส่วน 80 : 20 จึงจะทำให้ระบบทางเดินอาหารทำงานได้ตามปกติ ดังนั้นการกินอาหารที่มีโพรไบโอติกจึงช่วยป้องกันโรคและส่งเสริมให้ร่างกายแข็งแรง
โพรไบโอติก ฟื้นฟูระบบภูมิคุ้มกัน ป้องกันการเสื่อม ทำได้อย่างไร ดังนี้
- กินอาหารหมักดองด้วยกฎ 1 สัปดาห์
คุณดอนน่าแนะนำว่า ให้กินอาหารหมักดอง 1 ชนิดติดต่อกัน 1 สัปดาห์ เพื่อทดสอบปฏิกิริยาของร่างกาย ว่าจะปฏิเสธ หรือตอบรับจุลินทรีย์ในอาหารหมักดองประเภทนั้น เป็นธรรมดาที่ช่วง 2 – 3 วันแรก อาจมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ หรือท้องเสีย แต่ถ้าร่างกายปรับตัวได้แล้ว อาการดังกล่าวจ ะแทบไม่เกิดขึ้นอีกเลย หากผ่าน 1 สัปดาห์ไปแล้ว ยังมีอาการไม่พึงประสงค์อยู่ แนะนำให้เปลี่ยนไปกินอาหารหมักดองชนิดอื่นแทน
เธอทิ้งท้ายว่า กลไกดังกล่าว เป็นวิธีปรับตัวของร่างกายตามธรรมชาติ อีกทั้งแต่ละคนมีสมดุลจุลินทรีย์ในร่างกายที่แตกต่าง ดังนั้น จึงต้องสังเกตอาการที่เกิดขึ้นเฉพาะราย ไม่มีสูตรสำเร็จที่ใช้ได้กับทุกคน - เลือกอาหารหมักดองตามกลไกธรรมชาติ
ควรกินอาหารหมักดองทุกวัน โดย คุณดอนน่า ย้ำว่า ต้องเป็นอาหารหมักดองที่มีจุลินทรีย์ที่เติบโตเองตามธรรมชาติ เพราะปลอดภัย และมีประสิทธิภาพดีกว่าโพรไบโอติกแบบแคปซูล ซึ่งผลิตในห้องปฏิบัติการ ทั้งนี้การกินอาหารหมักดองธรรมชาติเป็นประจำ ส่งผลให้เอนไซม์ในร่างกายทำงานดีขึ้น จึงดูดซึมสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายได้เต็มที่ อีกทั้งช่วยรักษาสมดุล กรด – ด่าง ในร่างกายได้อีกด้วย - ใช้โพรไบโอติกเป็นยานอนหลับ
คุณดอนน่า แนะนำว่า คุณสามารถโบกมือลาการกินยานอนหลับ และความรู้สึกด้านลบต่าง ๆ ทั้งความวิตกกังวล เครียด เศร้า ไปได้เป็นปลิดทิ้ง ด้วยการทำสมู้ตทีผลไม้ผสมโยเกิร์ตหรือคีเฟอร์ดื่มเป็นประจำ โดยเธอแนะนำให้ดื่มเครื่องดื่มนี้ ในตอนเช้าอย่างน้อยวันละ 1 แก้ว เหตุผลคือ ในโยเกิร์ต และคีเฟอร์มีทริปโตแฟน (tryptophan) ซึ่งประกอบด้วย กรดแอมิโน แคลเซียม และแมกนีเซียม ช่วยให้ระบบประสาทผ่อนคลาย ลดเครียด เมื่อไม่มีความเครียดสะสมระหว่างวัน ย่อมช่วยให้คุณภาพการนอนค่อย ๆ ดีขึ้นในที่สุด
วิธีเลือกโยเกิร์ตอุดมโพรไบโอติก
โยเกิร์ต ที่วางขายในท้องตลาด ไม่ใช่ทุกยี่ห้อที่จะมีโพรไบโอติก หากอยากกินโยเกิร์ตเพื่อเติมจุลินทรีย์สุขภาพ สร้างสมดุลให้ลำไส้ รองศาสตราจารย์วิมล ศรีศุข อาจารย์ประจำภาควิชาอาหารเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล แนะนำวิธีสังเกตชื่อ จุลินทรีย์สุขภาพข้างถ้วย ผ่านบทความ การเลือกโปรไบโอติก ว่าข้างถ้วยโยเกิร์ต ควรมีชื่อจุลินทรีย์ ดังต่อไปนี้คือ
- สเตร็ปโตค็อคคัส เทอร์โมฟิลัส (Streptococcus thermophilus)
- แล็คโตแบซิลลัส เดลบรูคคิไอ ซับสปีชี่ส์ บัลการิคัส (Lactobacillus delbrueckii subsp. bulgaricus)
- แล็คโตแบซิลลัส บัลการิคัส (Lactobacillus bulgaricus)
ชื่อเหล่านี้ เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่ใช้ทำโยเกิร์ตธรรมดา ไม่จัดเป็น โพรไบโอติก แนะนำให้มองหาชื่อเชื้อจุลินทรีย์อื่นข้างถ้วย ดังนี้
- ไบฟิโดแบคทีเรียม ไบฟิดุม (Bifidobacterium bifidum)
- ไบฟิโดแบคทีเรียม แอนิมาลิส (Bifidobacterium animalis DN173010)
- แล็คโตแบซิลลัส เคซิไอ (Lactobacillus casei )
- แล็คโตแบซิลลัส แอซิโดฟิลลัส (Lactobacillus acidophilus)
นอกจากนี้ ยังแนะนำให้เลือกผลิตภัณฑ์ที่เก็บในตู้แช่ที่เย็นจัด และควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณเชื้อจุลินทรีย์สุขภาพมาก โดยสังเกตข้างถ้วย เช่น 20,000 ล้านตัว หรือนับจากเลขศูนย์ หลังตัวเลขว่าควรมีอย่างน้อย 10 ตัว
เรื่อง สาทิส อินทรกำแหง ภาพ iStock เขียนลงเว็บ เนื้อทอง ทรงสละบุญ
ชีวจิต 454 – FREE 84 TIPS FOR NEW AGINGนิตยาสารรายปักษ์ ปีที่ 20 : 1 กันยายน 2560
– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –
บทความน่าสนใจอื่นๆ
6 โพรไบโอติกไทยๆ กินลดพุง หุ่นเพรียว สุขภาพแข็งแรง
เมนูชีวจิต หลนข้าวหมาก อาหารพื้นบ้าน โพรไบโอติกสูงมาก
ชวนทำ กิมจิโฮมเมด และเบอร์เกอร์กิมจิ โพรไบโอติกส์ดีต้องกิน ดีต่อร่างกาย