สารสกัดหญ้าหวาน, หญ้าหวาน, น้ำตาล, ความหวาน, ประโยชน์ของหญ้าหวาน, Stevioside

ฉลาดเลือก! หญ้าหวาน ลดน้ำตาล กินแบบไหนไม่เสี่ยงโรค

ฉลาดเลือก! หญ้าหวาน ลดน้ำตาล กินแบบไหนไม่เสี่ยงโรค

หญ้าหวาน สมุนไพรรสชาติหวานเจี๊ยบสมดังชื่อ แถมเปี่ยมด้วยคุณประโยชน์ ทางเลือกของคนรักสุขภาพเช่นกัน

“ชอบกินรสหวาน แต่น้ำตาลในเลือดก็สูงปรี๊ด”

“ชอบกินรสหวาน แต่ก็อยากลดความอ้วน”

เพราะความหวานเป็นรสชาติที่หลายคนขาดไม่ได้ แต่ในขณะเดียวกันความหวานก็เป็นศัตรูตัวร้ายที่คอยทำลายสุขภาพ ปัจจุบันอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มหลายชนิด จึงหันมาสนใจใช้สารให้ความหวานจากธรรมชาติแทนสารสังเคราะห์มากขึ้น

 

หญ้าหวาน…ของดีตั้งแต่ครั้งโบราณ

หญ้าหวานจัดเป็นพืชล้มลุกระยะยาว มีลักษณะคล้ายต้นกะเพราหรือต้นแมงลัก ลำต้นกลมและแข็ง มีใบเดี่ยวรูปหอก ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย ใบให้สารที่มีรสหวาน และมีช่อดอกสีขาว โดย อาจารย์ ดร.ณัฐิราอ่อนน้อม ฝ่ายวิทยาศาสตร์การอาหารสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดลเล่าถึงที่มาของหญ้าหวานให้ฟังว่า

“หญ้าหวานเป็นพืชพื้นเมืองของประเทศบราซิลและทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศปารากวัย ซึ่งนิยมใช้ผสมกับชาเพื่อดื่มกันมานานแล้วส่วนชาวญี่ปุ่นเองก็กินหญ้าหวานกันอย่างแพร่หลาย โดยใช้หมักเป็นผักดองหรือทำเต้าเจี้ยว”

“สำหรับในประเทศไทยนั้นเริ่มมีการนำหญ้าหวานมาใช้กันเมื่อปี พ.ศ.2518 โดยนิยมนำไปตากแห้ง ชงผสมกับเครื่องดื่มแทนน้ำตาล”

หญ้าหวาน, น้ำตาล, ลดความอ้วน, ใบหญ้าหวาน, ประโยชน์ของหญ้าหวาน, กินหญ้าหวาน
หญ้าหวานให้ความหวานมากกว่าน้ำตาล โดยไม่ให้พลังงาน ดีต่อสุขภาพ

หวานธรรมชาติ เปี่ยมคุณประโยชน์

รูปแบบของหญ้าหวานที่นิยมกินมี 2 แบบด้วยกัน คือ นำใบหญ้าหวานมาผสมกับชาสมุนไพรต่างๆ เพื่อเติมรสหวาน หรือสารสกัดจากหญ้าหวานเป็นผงสำเร็จรูปบรรจุซองสำหรับเติมลงในชา กาแฟ หรืออาหารต่างๆ ทั้งนี้อาจารย์ ดร.ณัฐิราได้อธิบายถึงคุณโยชน์ของหญ้าหวานว่า

“ใบหญ้าหวานจะให้ความหวานมากกว่าน้ำตาล 10 – 20 เท่า ส่วนสารสกัดบริสุทธิ์จากหญ้าหวาน หรือที่เรียกว่า สารสตีวิโอไซด์ (Stevioside) ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาล 200 – 300 เท่า โดยไม่ให้พลังงาน (0 แคลอรี) จึงเหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ต้องการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก แถมยังช่วยบำรุงตับอ่อน ลดไขมันในเส้นเลือด ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและความดันโลหิตสูงได้

“นอกจากนี้สารสกัดจากหญ้าหวานยังไม่ทำให้ฟันผุ ทั้งมีความทนทานต่อกรดและความร้อน เมื่อใช้ผสมกับอาหารหรือเครื่องดื่มที่ต้องผ่านความร้อนสูงจึงไม่กลายเป็นสีน้ำตาล ทำให้สารสกัดจากหญ้าหวานถูกนำไปใช้ในการผลิตอาหารหรือเครื่องดื่มบางชนิด เช่น เบเกอรี่ ลูกอม หรือแม้แต่น้ำอัดลม”

 

 

<< อ่านต่อหน้าที่ 2 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.