ไซส์ สุขภาพ อ้วน ผอม โรคที่เกิดจากความอ้วน ลดน้ำหนัก ลดความอ้วน โรคอ้วน น้ำหนัก

ทำนายสุขภาพตาม ไซส์ ตอน 1 ผอมเกินมาตราฐาน+น้ำหนักปกติ

BMI ≥18.522.9 น้ำหนักปกติ

น้ำหนักพอดีคุมอย่างไรไม่ให้เปลี่ยนแปลง

การมีค่าบีเอ็มไอปกติเป็นเรื่องน่ายินดี แต่ก็ไม่ควรชะล่าใจ เพราะว่าค่าบีเอ็มไอนั้นสามารถเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ รวมถึงบางคนแม้มีค่าบีเอ็มไอปกติ แต่ก็อาจมีโรคร้ายแฝงอยู่

หุ่นมาตราฐาน, ไซส์

พยากรณ์สุขภาพบีเอ็มไอ18.522.9

คนที่มีค่าบีเอ็มไอปกติมีแนวโน้มจะมีสุขภาพแข็งแรง ปลอดโรค แต่ยังต้องใส่ใจใน 3 ประเด็น คือ

1. อายุที่เพิ่มขึ้น

อาจทำให้การทำงานของระบบเผาผลาญเปลี่ยนแปลง จึงต้องสร้างสมดุลให้ร่างกายโดยเพิ่มกิจกรรมที่ต้องใช้พลังงานเพื่อเพิ่มการเผาผลาญ

2. น้ำหนักปกติ

อาจมีไขมันสะสมเฉพาะส่วน ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้เช่นกัน รองศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์วีรพันธุ์ โขวิฑูรกิจ อาจารย์ประจำสาขาวิชาต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายเรื่องนี้ไว้อย่างน่าสนใจว่า “จากการทำงานผมพบว่า แม้หลายคนจะมีค่าดัชนีมวลกายตามมาตรฐานแต่ก็ป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเส้นเลือดสูงเพราะมีไขมันเฉพาะส่วน ดังนั้นจึงต้องตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอด้วยครับ”

3. ระวัง “โยโย่” เพราะไม่พอใจรูปร่าง 

คุณหมอสุมาภาอธิบายพฤติกรรมของสาวที่น้ำหนักตัวพอดี แต่ไม่พอใจในรูปร่างไว้อย่างน่าสนใจ “ดัชนีมวลกาย 18.5 – 22.9 ถือว่าเป็นช่วงกว้างพอสมควร และด้วยรูปร่างที่แตกต่างกัน บางคนที่มีดัชนีมวลกาย 22 ก็อาจมองว่ารูปร่างยังไม่สมดุลและอยากลดลงมาอยู่ที่ 20 ก็ทำได้ค่ะ แต่ต้องทำอย่างสมดุล ค่อยๆ ลดลงมาทีละน้อย ไม่ควรรีบลดด้วยการจำกัดอาหารอย่างเข้มงวด เพราะอาจเกิดปัญหา “โยโย่เอฟเฟ็กต์” ตามมาได้”

นายแพทย์สันต์ ใจยอดศิลป์ ศัลยแพทย์หัวใจและคอลัมนิสต์ประจำนิตยสาร ชีวจิต อธิบายเพิ่มเติมว่า อาการโยโย่เอฟเฟ็กต์เกิดจากการลดน้ำหนักด้วยการอดอาหารอย่างเข้มงวดในเวลาสั้น ๆ ทำให้เกิดปัญหา 2 ประการ คือ หนึ่ง ร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองโดยลดการเผาผลาญพลังงานลงเพื่อสร้างสมดุล สอง คือ การลดปริมาณการกินคราวละมาก ๆ ทำให้ร่างกายปรับตัวไม่ทัน จึงมักทนไม่ไหวและทำได้ไม่นาน ต้องกลับมากินอย่างไม่บันยะบันยังอีก น้ำหนักจึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แถมมากกว่าเก่าที่สำคัญ หากเกิดขึ้นซ้ำ ๆ ระบบการทำงานในร่างกายจะผิดปกติได้

 

How to Fit : เคล็ดลับควบคุมน้ำหนักให้คงที่

เลิกกินอาหารกลั่นแคลอรี

คุณหมอสันต์มีมุมมองเกี่ยวกับการกินที่สอดคล้องกับสิ่งที่นิตยสาร ชีวจิต ย้ำอยู่เสมอ นั่นคือ ควรกินผักผลไม้สดและลดการกินโปรตีนจากสัตว์

“อาหารที่เรากินส่วนใหญ่เป็น ‘อาหารกลั่นแคลอรี’ คืออาหารที่กลั่นสารที่มีประโยชน์ตามธรรมชาติทิ้งไปหมดแล้ว เหลือไว้แต่แคลอรีล้วน ๆ ทั้งน้ำมันพืชที่ผ่านกระบวนการ ข้าวที่ขัดจนขาว และน้ำตาล – น้ำเชื่อมที่กลั่นเอามาแต่ความหวานจนไม่เหลือสารอาหารใดๆ กินเข้าไปก็ได้แต่แคลอรี

“ผมว่าคนยุคใหม่ โดยเฉพาะคนวัยทำงานควรเปลี่ยนมากินอาหารธรรมชาติที่เรียกว่า ‘อาหารโฮลฟู้ด’ (Whole Food) หรืออาหารที่ไม่ผ่านการสกัดขัดสีจะทำให้ร่างกายได้รับทั้งโปรตีน เกลือแร่ วิตามิน ไขมัน และกากใยที่เป็นประโยชน์ อีกทั้งยังได้สารต้านอนุมูลอิสระซึ่งช่วยต้านการอักเสบในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายแทนการกินอาหารกลั่นแคลอรีครับ”

แก้ความเข้าใจผิดของสาวขี้กังวล

คุณธิษณา นักกำหนดอาหารคนเก่ง ชี้ว่า ที่หลายคนมีน้ำหนักพอดี แต่ยังคงรู้สึกว่าตัวเองอ้วนเกิดจากร่างกายเกิดการสะสมไขมันเฉพาะส่วน เช่นหน้าท้อง ต้นแขน ต้นขา สะโพก การควบคุมอาหาร จึงไม่ใช่ทางออกของปัญหานี้ แต่ควรหันมาออกกำลังกายเพื่อลดไขมันเฉพาะส่วนจะได้ผลกว่า

 

ติดตามอ่านต่อ ตอน 2 หุ่นเริ่มท้วม – อ้วนระดับ 1


บทความน่าสนใจอื่นๆ

ผอมเกินมาตราฐาน+น้ำหนักปกติ

หุ่นเริ่มท้วม – อ้วนระดับ 1

อ้วน ระดับ 2 – อ้วนมาก

ติดตาม ชีวจิต ในช่องทางต่างๆ ได้ที่

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.