3. จุดเซิ่นซู
ตำแหน่ง
ใต้ปุ่มหนามกระดูกสันหลังส่วนเอว (Spinous process) ข้อที่ 2 (ใต้ L2) ห่างจากแนวกลางกระดูกสันหลังมาทางด้านซ้ายและขวา 1.5 ชุ่น (1.5 ชุ่น เท่ากับครึ่งหนึ่ง ของความกว้าง 4 นิ้วมือ ได้แก่ นิ้วชี้ กลาง นาง ก้อย)
วิธีหาจุด
มือสองข้างเท้าสะเอว จุดจะอยู่ที่นิ้วโป้งในระนาบเดียวกับสะดือ ห่างออกจาก แนวกลางกระดูกสันหลัง 1.5 ชุ่น) หรือกล้ามเนื้อที่นูนที่สุด เมื่อกดลงไปจะรู้สึกตึงๆ หน่วงๆ
ประโยชน์
ช่วยบำรุงไต ลดอาการวัยทอง เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ อ่อนเพลียง่าย
วิธีกดจุด
ใช้นิ้วโป้งกดคลึงที่จุด 3 – 5 วินาที นับเป็น 1 ครั้ง ทำซ้ำ 30 ครั้ง วันละ 2 รอบ เช้า – เย็น หรือใช้สันมือถูครั้งละ 3 – 5 นาที วันละ 2 ครั้ง เช้า – เย็น
4. จุดไป่ฮุ่ย
ตำแหน่ง
อยู่กึ่งกลางศีรษะ
วิธีหาจุด
ใช้นิ้วโป้งแตะที่ยอดใบหูทั้งสองข้าง นิ้วกลางประกบกัน จุดจะอยู่ตรงกึ่งกลางศีรษะ
ประโยชน์
บำรุงสมอง เพิ่มความจำ ลดอาการปวดเวียนศีรษะ นอนไม่หลับ
วิธีกดจุด
ใช้นิ้วกลางกดคลึงที่จุด 3 – 5 วินาที นับเป็น 1 ครั้ง ทำซ้ำ 30 ครั้ง วันละ 2 รอบ เช้า 3 – 5 เย็น
5. จุดเน่ยกวน
ตำแหน่ง
กำมือให้แน่น จะเห็นเส้นเอ็นสองเส้นอย่างชัดเจนที่บริเวณข้อมือด้านหน้า ได้แก่ Palmaris Longus และ Flexor carpi Radialis เหนือรอยพับข้อมือด้านในขึ้นมา 2 ชุ่น (ความกว้างของนิ้วโป้ง 2 นิ้ว)
ประโยชน์
ช่วยให้จิตใจสงบ คลายเครียด ลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ นอนไม่หลับ
วิธีกดจุด
ใช้นิ้วโป้งกดคลึงที่จุด 3 – 5 วินาที นับเป็น 1 ครั้ง ทำซ้ำ 30 ครั้ง วันละ 2 รอบ เช้า 3 – 5 เย็น
จะเห็นได้ว่า แพทย์แผนจีนเน้นการดูแลแบบองค์รวม คือ ต้องทำให้ทุกระบบอวัยวะใน ร่างกายแข็งแรง ก็จะช่วยให้สุขภาพแข็งแรง รวมถึงช่วยการทำงานของฮอร์โมนในร่างกายด้วย ดังนั้นเราต้องดูแลเรื่องอาหาร พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกาย และหมั่นดูแลจิตใจด้วย
จาก คอลัมน์หมอจีนประจำบ้าน นิตยสารชีวจิต ฉบับ 452
บทความน่าสนใจอื่นๆ
การแช่เท้าด้วยยาจีนช่วย แก้ปวดประจำเดือน