3 เมนูจีน หยุดปวดประจำเดือน
เมนู หยุดปวดประจำเดือน ประจำเดือนช่วยบอกสุขภาพของผู้หญิงเราได้ ไม่ว่าผู้ป่วยจะมีอาการใดก็ตาม แพทย์จีนจะต้องซักประวัติประจำเดือน เพื่อนำมาช่วยในการวินิจฉัยและรักษา
ปัญหาที่พบบ่อยคือ การปวดประจำเดือน แพทย์แผนปัจจุบันอธิบายว่า เกิดจากมดลูกผิดปกติ เช่น โพรงมดลูกตีบแคบ มีพังผืดในผนังมดลูก มีเนื้องอกในมดลูก ซึ่งเป็นเหตุให้มดลูกหดตัวอย่างรุนแรงในช่วงมีประจำเดือน หรืออาจเกิดจากมีการหลั่งสารพรอสตาแกลนดิน (Prostaglandin) มากเกินไป ซึ่งสารนี้มีฤทธิ์กระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก หรือเกิดจากสภาวะอารมณ์ เช่น เครียด วิตกกังวล ส่งผลให้การทนต่อความเจ็บปวดลดลง
สำหรับการแพทย์แผนจีนมองว่า สาเหตุหลักของ อาการปวดประจำเดือน เกี่ยวข้องกับอารมณ์ รองลงมาคือ การได้รับความเย็นและความชื้นจากอาหาร อากาศ การใช้ชีวิต เช่น การแต่งกาย การอยู่ในห้องแอร์ เป็นต้น
อาการปวดประจำเดือน ที่พบบ่อย คือ ปวดท้องน้อยร้าวไปถึงก้นกบ การถูกกระทบจากอารมณ์ และความเย็นในช่วงก่อนมีประจำเดือนจะทำให้การหมุนเวียนเลือดบริเวณอุ้งเชิงกรานติดขัด และเกิดการบีบรัดตัวของมดลูกเพื่อขับประจำเดือนออกมา ส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่มีอาการปวดประจำเดือนมักมีลิ่มเลือดร่วมด้วย ซึ่งแพทย์แผนจีนอธิบายว่า เกิดจากเลือดคั่ง มีการหมุนเวียนเลือดในโพรงมดลูกช้า
ปัจจัยที่ทำให้เลือดคั่งเกิดจากอารมณ์ขุ่นมัวต่างๆ ส่งผลให้ชี่หรือลมปราณเดินไม่สะดวก เกิดภาวะชี่ติดขัดจนเลือดไหลเวียนไม่สะดวก จะสังเกตว่าผู้หญิงเราหากอยู่ในภาวะเครียด เช่น ช่วงใกล้สอบ ประจำเดือนจะเลื่อนออกไปหรือมาช้ากว่าปกติ จนกว่าจะหายเครียด ประจำเดือนจึงจะมา
ภาวะชี่ติดขัดสังเกตได้จากจะมีอาการท้องอืดแน่น คัดตึงเต้านมก่อนมีประจำเดือน แสดงให้เห็นว่า อารมณ์มีผลอย่างมากต่อการไหลเวียนเลือด
การเกิดลิ่มเลือดประจำเดือน นอกจากจะเกี่ยวข้องกับสภาวะอารมณ์แล้ว ยังเกิดจากได้รับความเย็นร่วมด้วยเนื่องจากประเทศไทยเป็นเมืองร้อน คนนิยมดื่มเครื่องดื่มเย็นๆ ชอบอยู่ในห้องแอร์เย็นๆ สวมเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มตามสมัยนิยม เช่น นุ่งสั้น แขนกุด สายเดี่ยว ทำให้อวัยวะภายในมีความเย็นมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ประจำเดือนมาช้า มาน้อย เป็นลิ่มเลือด มีสีดำหรือแดงเข้ม ผู้ป่วยกลุ่มนี้มือเท้าจะเย็นได้ง่าย การประคบร้อนบริเวณท้องน้อยจะช่วยลดอาการปวดได้มาก
การรักษา หยุดปวดประจำเดือน จากการได้รับความเย็น ต้องรักษาโดยใช้ยาฤทธิ์อุ่นร้อน เพื่อให้เลือดไหลเวียนสะดวกและลดการบีบตัวของมดลูก ร่วมกับการฝังเข็มบนจุดที่เชื่อมกับปลายประสาทที่ควบคุมการบีบตัวของมดลูก และต้องออกกำลังกายเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนเลือดในอุ้งเชิงกราน เช่น ไท้เก๊ก ชี่กง รมยาก่อนมีรอบเดือนเพื่อลดการบีบรัดตัวของมดลูก ประคบร้อนบริเวณท้องน้อย