ดูแล "โรคหัวใจ" ออกกำลังกายแต่พอดี

ดูแล “โรคหัวใจ” ออกกำลังกายแต่พอดี

เยียวยา “โรคหัวใจ” ด้วยการออกกำลังกายแต่ “พอดี” …ประโยคนี้เป็นจริงได้ค่ะ เพราะนี่คือประสบการณ์จริงของ คุณป้อม – เตชะพิทย์ แสงสิงแก้ว วัย 63 ปี อดีตรองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย

เมื่อสิ่งใดที่ทำแล้ว “มากเกินไป” ทำแล้วเคร่งเครียด ไม่มีความสุข ย่อมไม่เกิดผลดีกับตัวเอง เช่นผู้ชายอารมณ์ดีที่เราพูดถึงนี้
นอกจากคุณป้อมจะเป็นอดีตรองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว เขายังเป็นผู้เขียนหนังสือ “คำให้การของคนถูกผ่าตัดหัวใจบายพาส” และ “ต่อปาก-ต่อคำ” ผลงานเล่มล่าสุดของคุณอาป้อมกับคุณหลานจี๊ป-วสุ แสงสิงแก้ว

210ex1คุณป้อมเล่าย้อนถึงชีวิตในวัยเด็กให้ฟังว่า “ผมเริ่มเล่นเทนนิสตั้งแต่อายุ 8-9 ขวบ มีพี่ชายคนโตคือ คุณหมอวิทุร แสงสิงแก้ว เป็นผู้ฝึกหัดให้ พี่เขาเคี่ยวเข็ญให้ผมเล่นกีฬาอย่างหนักตั้งแต่ยังเด็ก เพราะอยากเห็นผมเป็นแชมเปี้ยนโลกก็ว่าได้ ตอนนั้นซ้อมหนักมากทุกๆ วัน”

สำหรับนักกีฬาทุกคน การฝึกซ้อมถือเป็นหัวใจสำคัญ คุณป้อมเองก็เช่นกัน เขาตื่นเช้าตั้งแต่ตีสี่ครึ่ง เพื่อลุกขึ้นมาวิ่งออกกำลังกาย เริ่มออกวิ่งจากบ้านที่คลองสานไปสิ้นสุดที่วงเวียนใหญ่ ระยะทางเกือบ 10 กิโล โดยไม่หยุดพัก และเมื่อกลับมาจากโรงเรียนช่วงบ่าย 2 โมง เขาจะฝึกซ้อมเทนนิสจนถึงมืดค่ำ ก่อนจบท้ายด้วยการเล่นกล้าม เพื่อเสริมสร้างพลังกล้ามเนื้ออีกครึ่งชั่วโมงเป็นอย่างน้อย

เขาเล่าถึงตอนเป็นนักกีฬารุ่นเยาว์ว่า “ผมฝึกซ้อมเช่นนี้เรื่อยมา ไม่มีวันหยุด ถึงแม้ตอนอายุ 14 ปี ได้เป็นแชมป์เทนนิสเยาวชนของประเทศไทยแล้วก็ตาม ผมก็ยังคงทุ่มเทฝึกซ้อมอย่างหนัก เรียกได้ว่าตั้งแต่เด็กจนโตเป็นหนุ่มฉกรรจ์ ผมมีสุขภาพกายและใจแข็งแรงดีมาโดยตลอด จะยกเว้นก็เพียงเมื่อตอนอายุ 19 ปี ที่ต้องเข้าผ่าตัดครั้งแรกในชีวิต เพราะนมข้างขวาที่โตขึ้นมา”

อาการนี้ คุณหมอได้อธิบายว่าเป็นเพราะคุณป้อมหักโหมเล่นเทนนิสด้วยมือขวามาเป็นระยะเวลาหลายปี จนเกิดเป็นก้อนไขมันขึ้นที่เต้านมข้างขวา แม้จะไม่ร้ายแรงมากนัก แต่เป็นเหตุให้รู้สึกอึดอัดและไม่สบายตัวได้ ที่สำคัญ เขาเพิ่งสอบชิงทุนและได้เข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัยที่ประเทศญี่ปุ่น หากเกิดไม่สบายจนต้องผ่าตัดที่โน่นจะลำบากมากกว่า แต่ใครเลยจะรู้ว่าเมื่อเขาได้เดินทางไปเรียนต่อที่ญี่ปุ่น โดยปราศจากเต้านมที่โตแล้ว การใช้ชีวิตอิสระเสรีดั่งนกติดปีกบินในเมืองโตเกียวเกือบสิบปีนั้น จะส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพของเขายิ่งกว่านั้นตามมา

เมื่อหย่อน (ออกกำลังกาย) เกินไปแบบนี้ไม่ดีแน่

เมื่อไม่มีใครมาบังคับให้ฝึกซ้อมเทนนิสอีก คุณป้อมจึงเลิกออกกำลังกายไปโดยปริยาย และใช้ชีวิตวัยรุ่นอย่างเต็มที่ แม้คุณป้อมที่เคยเป็นนักกีฬาที่ฝึกซ้อมอย่างหนักมาเป็นเวลาหลายปี และมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง แต่การใช้ชีวิตสมบุกสมบันตามประสาผู้ชายวัยคะนอง ที่มีทั้งการดื่มเหล้า สูบบุหรี่จัด เครียด เที่ยวดึก กลับเช้า จึงพักผ่อนน้อย แถมด้วยพฤติกรรมการกินแบบผิดๆ โดยเฉพาะอาหารประเภทไขมันสูง ไม่ว่าจะเป็นขาหมู หูหมู เครื่องในต้มซีอิ๊ว หรือตูดไก่ ซึ่งล้วนเป็นของชอบ แต่ร่างกายที่แข็งแรงเพียงใดก็ไม่สามารถต้านทานปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ไปได้

หลังเรียนจบด้านเศรษฐศาสตร์จากญี่ปุ่นและกลับมาทำงานที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ 2 ปี เขากลับมาฝึกซ้อมเทนนิสใหม่อีกครั้ง และยังฟิตซ้อมจนติด 1 ใน 5 ของทีมชาติอีกด้วย จนกระทั่งช่วงบ่ายวันหนึ่ง เขาและพรรคพวกนัดซ้อมเทนนิสกันตามปรกติ ขณะที่กำลังวอร์มอัพกับเพื่อนนักเทนนิสนั้น เขาเริ่มรู้สึกปวดร้าวอ้วน,โรคอ้วน,โรคหัวใจ,หัวใจ,ออกกำลังกาย,การออกกำลังกาย,เทคนิค,ประสบการณ์ชีวิต, โรคหัวใจ, เยียวยาโรคหัวใจ ประสบการณ์โรคหัวใจ, heart attackที่ต้นคอต่อกับไหล่ทั้งสองข้าง โดยไม่ทราบสาเหตุ และปวดมากจนกระทั่งต้องหยุดซ้อมเทนนิสและมานั่งพักสัก 2-3 นาที อาการดังกล่าวจึงหายไป แต่พอกลับมาตีใหม่ก็เป็นอีก เขาตัดสินใจหยุดเล่นและไปหาหมอในวันรุ่งขึ้นทันที

“พอไปเช็คอาการก็พบว่าผมเป็นโรคหัวใจ หมอบอกให้ผ่าตัดหัวใจตั้งแต่ตอนนั้นแล้ว แต่ผมก็หนีหมอมาตลอดเกือบ 18 ปี เพราะกลัวการผ่าตัด ยิ่งเมื่อสมัย 33 ปีก่อนนั้นการผ่าตัดหัวใจบายพาสยังถือเป็นเรื่องใหม่และเป็นเรื่องใหญ่มาก”

แต่จนแล้วจนรอด ในที่สุดคุณป้อมต้องไปนอนบนเตียงผ่าตัดจนได้ เมื่ออาการถึงที่สุดแล้ว เพราะนอกจากรู้สึกแน่นหน้าอก ยังมีอาการเหนื่อยง่าย ชนิดที่ไม่ต้องออกแรงก็เหนื่อยแล้ว เช่นการปล่อยให้น้ำลายไหลยืดทุกครั้งที่แปรงฟัน เพราะเหนื่อยแทบขาดใจ หรือเคี้ยวข้าวแทบไม่ไหว เพราะเหนื่อยสุดขีด จนในที่สุด เขาจึงได้รับการผ่าตัดหัวใจบายพาสอย่างเรียบร้อยในเวลาต่อมา

ทั้งหมดนี้เป็นผลพวงมาจาก “ความตึงเกินไป” ในการออกกำลังกายช่วงหนึ่ง และต่อมาก็ “หย่อนเกินไป” และกลับมา “ตึง” อีกครั้ง จนส่งผลร้ายกับร่างกายของเขา เรียกว่าเป็นการออกกำลังกายแบบขาด-เกินสลับกัน

แล้วอาการที่ป่วยหนักขนาดนี้ จะมีวิธีรักษายังไงจนหาย อยากรู้คลิก

หน้าถัดไป

ค้นหา “สมดุล” ของการออกกำลังกาย

นอกจาก “โรคหัวใจ” จะทำให้คุณป้อมได้ค้นพบผลพวงของการไม่ออกกำลังกายแล้ว อดีตนักกีฬาอย่างเขายังได้รับรู้ว่า “การออกกำลังกาย” สำคัญกับร่างกายมากเพียงใด

“น่าเสียดายที่ไม่เคยมีใครบอกผมเลยว่า นักกีฬาที่ฝึกซ้อมมาหนักๆ หากคิดจะเลิกเล่นกีฬาทันที เช่นจะขอแขวนแร็กเก็ตหรือเลิกเล่นกีฬาอาชีพแล้ว เขาควรจะยังต้องฝึกซ้อมหรือออกกำลังกายเบาๆ ให้พอมีเหงื่ออย่างสม่ำเสมอต่อไปทุกวันจนตลอดชีวิต เพราะหากหยุดไปเลยทันที และมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตแบบผิดๆ ร่วมด้วย ยิ่งส่งผลให้เกิดโรคหัวใจชนิดเส้นเลือดตีบตันในภายหลังได้”

ทุกวันนี้ถึงแม้ร่างกายของคุณป้อมบางส่วนจะเปลี่ยนแปลงไป เพราะได้รับการผ่าตัดหัวใจมาเป็นระยะเวลา 10 ปี แต่สิ่งหนึ่งที่คงอยู่และไม่เปลี่ยนก็คือวินัยในการดูแลสุขภาพของตัวเอง

หลังจากการผ่าตัดหัวใจครั้งนั้น เขาโรคหัวใจ,หัวใจ,ออกกำลังกาย,การออกกำลังกาย,เทคนิค,ประสบการณ์ชีวิต, โรคหัวใจ, เยียวยาโรคหัวใจ ประสบการณ์โรคหัวใจ, heart attackก็เริ่มต้นปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตใหม่ทันที ตั้งแต่หยุดสูบบุหรี่ เลิกดื่มเหล้า ไม่เครียด ควบคุมอาหาร โดยเลิกกินของทอดของมัน โดยเฉพาะขาหมูของโปรด และหันมารับประทานอาหารชีวจิต เน้นทานปลา ผัก และผลไม้ ที่สำคัญเหนืออื่นใดคือออกกำลังกาย เป็นกิจวัตรประจำวันที่เขาขาดไม่ได้เสียแล้ว เขาเล่าถึงความพยายามครั้งนั้นให้ฟังว่า

รพ”คนป่วยด้วยโรคหัวใจ แค่เดินเร็วก็ลำบากมากแล้ว ผมได้ใช้ความพยายามและแรงใจที่มีอยู่ทั้งหมด โดยเริ่มต้นจากเดินช้าๆ และค่อยๆ เพิ่มความเร็วขึ้นทีละน้อย ทุกวันนี้ผมออกกำลังกายด้วยการเดินเร็วๆ วันละครึ่งชั่วโมงเป็นอย่างน้อย ให้เหงื่อได้ซึม และที่สำคัญทำให้ได้ทุกวัน”

สำหรับการออกกำลังกายที่ดีต่อหัวใจและสุขภาพทั่วไปนั้น คุณป้อมแนะนำว่าควรเป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิก เพื่อให้ร่างกายได้เคลื่อนไหวสม่ำเสมอติดต่อกันเป็นเวลา 30 นาทีขึ้นไปจนถึงหนึ่งชั่วโมง เช่น เดิน วิ่งจ๊อกกิ้ง ว่ายน้ำ รำตะบองชีวจิต เป็นต้น และได้ฝากทิ้งท้ายไว้ว่า

“อย่าลืมว่าเหงื่อแต่ละหยดและโกร๊ธฮอร์โมนที่พรั่งพรูกันออกมาเมื่อได้ออกกำลังกายจนถึงพีคนั้น มีผลดีต่อสุขภาพยิ่งกว่ายาชนิดอื่นใดในโลกทั้งหมด ทำให้เรารู้สึกสบาย แข็งแรง และจิตใจเบิกบานเป็นพิเศษได้”

ข้อมูลเรื่อง “เยียวยา โรคหัวใจ ด้วยการออกกำลังกายแต่พอดี” จากนิตยสารชีวจิต ฉบับที่ 210 หน้าที่ 32-34

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.