รู้หรือไม่ การวิ่ง ใช้อวัยวะใดช่วยซัพพอร์ตบ้าง ?

บางคนเข้าใจว่า การวิ่ง จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับขาและเท้าเท่านั้น แต่ความเป็นจริงแล้ว เราใช้อวัยวะหลายส่วนในการวิ่งมาก

 

หากเรารู้ว่าการวิ่งจำเป็นต้องใช้อวัยวะส่วนไหนแล้วก็จะช่วยให้เราบริหารอวัยวะดังกล่าวให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการบาดเจ็บจากการวิ่งแถมยังทำให้วิ่งได้ระยะทางอย่างที่ใจหวัง

 

หนังสือยืดเหยียดคลายกล้ามเนื้อเพื่อสุขภาพโดยดร.สันทณี เครือขอน สำนักพิมพ์ Amarin Health แนะนำไว้ว่าการวิ่งจัดอยู่ในกลุ่ม Power เพราะไม่ว่าจะวิ่งระยะสั้น

 

เรามักจะมีเป้าหมายว่า อยากไปถึงเส้นชัยในเวลาที่ดีที่สุด คนทั่วไปมักเข้าใจว่า การวิ่งจะต้องใช้ขาเป็นหลัก แต่การวิ่งจำเป็นต้องใช้ความแข็งแรงของร่างกายหลายส่วนประกอบกันได้แก่

 

  • ขา กล้ามเนื้อเอ็นข้อต่อและกระดูกทุกชิ้นในขาต้องปกติ มีความแข็งแรง และพร้อมจะทำงานร่วมกันเพื่อให้วิ่งได้
  • สะโพก เวลายกขาสูงต้องใช้กล้ามเนื้อเหยียดและกล้ามเนื้องอสะโพก
  • เท้า ช่วยในการทรงตัว สปริงตัว และส่งแรง ถ้าเท้าผิดปกติ เช่น เท้าแบนหรือเท้าปุก จะทำให้ทรงตัวได้ไม่ดี และเสี่ยงต่อการบาดเจ็บทั้งแบบกะทันหัน คือล้มหรือเท้าพลิก และแบบมีอาการผิดปกติตามมาภายหลัง เช่น ปวดอักเสบ
  • แขน ต้องช่วยในการพยุงตัวและส่งแรง
  • ลำตัว ต้องมีการบิดเพื่อส่งแรง
  • หน้าท้อง หากกล้ามเนื้อหน้าท้องไม่แข็งแรงจะเกิดอาการจุกจากการวิ่ง
  • ปอดและหัวใจ ต้องพร้อมสำหรับการแลกเปลี่ยนก๊าซและดึงพลังงานจากออกซิเจนมาใช้

 

ดังนั้นก่อนการวิ่งควรประเมินสุขภาพร่างกายของเราให้พร้อมก่อนนะคะ

 

ไอเดียสุขภาพก่อนการวิ่ง

เนื่องจากคนมักไม่รู้ว่าการวิ่งต้องเตรียมร่างกายมากขนาดนี้ จึงทำให้เกิดการบาดเจ็บตามมา ผู้ป่วยจึงมักจะตั้งคำถามว่า ทำไมคนอื่นไม่เห็นบาดเจ็บเหมือนตัวเอง ซึ่งจริงๆ แล้วเขาก็อาจบาดเจ็บแต่เราไม่รู้ หรือแม้แต่เจ้าตัวเองก็อาจยังไม่รู้ตัว (เพราะไม่รู้ว่าความปกติคืออะไร หรือบ้างก็คิดว่า เป็นเรื่องปกติที่จะมีอาการปวดจากการวิ่ง) หรือในอีกกรณี เขาอาจจะเตรียมตัวมาดี ศึกษาหาข้อมูลมาก่อน มีการเตรียมความพร้อมของร่างกาย ฝึกซ้อมมาอย่างดีจนกระทั่งถึงจุดที่วิ่งได้ถึงไปวิ่ง

นี่คือแนวทางที่ถูกสำหรับทุกชนิดกีฬา แต่คนทั่วไปมักจะไม่ค่อยทำกันด้วยหลายๆเหตุผล บ้างก็ไม่ทำเพราะไม่รู้ บ้างก็รู้แต่ไม่ทำ นั่นเป็นเพราะการเตรียมความพร้อมนั้นต้องใช้เวลา พอรู้สึอยากทำก็จะทำเลย ไม่สามารถยับยั้งหรือรอได้

 

ที่มา : นิตยสารชีวจิต ฉบับที่ 583

 


เนื้อหาอื่นๆ ที่น่าสนใจ

“ไทยปราณ” เพิ่มพลังงาน ช่วยกล้ามเนื้อยืดหยุ่น

วูบขณะออกกำลังกาย อันตรายถึงตายนะ

ออกกำลังกายแบบไหนดี เหมาะกับตัวเรา ?

สายฟิตต้องรู้ ออกกำลังกายวันละ 30 นาที ไม่ได้ดีสำหรับทุกคน

 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.