วางแผนการใช้ชีวิตหลังเกษียณแบบไหน สู่การเป็นสูงวัยคุณภาพ!

เมื่อก้าวเข้าสู่วัยที่เรียกว่า “สูงอายุ” คุณเคยออกแบบชีวิตในวัยเกษียณกันเอาไว้บ้างหรือไม่ แล้ววางเอาไว้ตอนอายุเท่าไร หลังเกษียณอยากใช้ชีวิตแบบไหน อยากทำอะไร ที่สำคัญคุณเตรียมเงินเอาไว้ใช้ในยามที่อายุมากขึ้นเอาไว้หรือยัง? เหล่านี้คือคำถามที่ต้องคิดเอาไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ นะคะ ซึ่งหลายคนก็วางแผนออกแบบชีวิตในวัยเกษียณเอาไว้แล้ว ถือว่าเป็นสิ่วดีค่ะ เพราะเมื่อถึงวันนั้นคุณจะกลายเป็นผู้สูงวัยที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี

แต่หลายคนก็ยังไม่เคยนึกถึงเรื่องนั้นกันเลยสักครั้ง บางคนไม่รู้ด้วยซ้ำว่าต้องวางแผนการใช้ชีวิตหลังเกษียณแบบไหน เริ่มต้นยังไง ถ้าอย่างนั้นวันนี้เรามาเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ไปพร้อมๆ กันเลยดีกว่าค่ะ

ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมสูงวัยคือ จะมีประชากรกลุ่มคนสูงวัยมากกว่าวัยอื่น นั่นแปลว่าผู้สูงวัยบางคนอาจจะไม่มีลูกหลานหรือญาติมิตรให้พึ่งพิงเลยก็เป็นได้ ดังนั้น คนที่กำลังย่างเข้าสู่วัยที่เรียกว่า “สูงวัย” ซึ่งปัจจุบันคือ กลุ่มคนวัยทำ งการเกษียณอายุเปรียบเสมือนกับการก้าวไปสู่อีกขั้นหนึ่งของชีวิตและถือเป็นเหตุการณ์สำคัญในชีวิตที่กำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ทำให้หลังจากนี้ผู้เกษียณจะมีเวลาว่างมากขึ้น หลายคนอาจจะยังปรับตัวไม่ทัน เพราะช่วงชีวิตการทำงานที่ผ่านมาต้องพบปะเพื่อนร่วมงานทุกวัน และมีงานหรือกิจกรรมที่ต้องทำทุกวัน อาจเกิดผลกระทบต่อสุขภาพจิตใจได้ ผู้เกษียณจึงต้องมีการเตรียมตัวหรือการวางแผน เพื่อเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพพร้อมทั้ง 4 ด้าน ดังนี้

1.ด้านสุขภาพอนามัย ควรออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาอย่างสม่ำเสมอ กินอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ วันละ 6-8 ชั่วโมง หากิจกรรมที่สร้างรายได้ กิจกรรมการกุศลที่เสริมคุณค่าให้ตนเอง กิจกรรมการออกกำลังกายหรือกายบริหารทุกวันอย่างน้อย สัปดาห์ละ 5 วัน ครั้งละ 30 นาที ไม่ควรออกกำลังกายที่หนักเกินไป โดยเฉพาะข้อเข่า เพราะจะทำให้เข่ารับน้ำหนักมากขึ้น จนเป็นสาเหตุของข้อเข่าเสื่อม ควรทำกิจกรรมที่ต้องใช้สมองเพื่อลดการเสื่อมต่าง ๆ ของร่างกาย ควรตรวจสุขภาพร่างกายอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และฝึกจิตและสมาธิ เพื่อให้รู้จักปล่อยวาง มองโลกในแง่ดีเป็นการพัฒนาทางอารมณ์เพื่อไม่ให้แปรปรวนง่าย ซึ่งจะส่งผลดีต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายานที่ใกล้เกษียณจึงควรเตรียมความพร้อมให้ดี ๆ เพื่อจะได้ใช้ชีวิตสูงวัยอย่างมีคุณภาพ

2.ด้านการปรับตัวทางสังคมและจิตใจ ควรศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ เพื่อให้ทันสมัยพูดคุยกับผู้อื่นรู้เรื่อง และอาจให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ต่อลูกหลานได้ ส่วนลูกหลานและญาติควรให้ความสำคัญกับผู้เกษียณอายุ เพราะถือเป็นผู้สูงอายุประจำบ้าน ควรหาเวลาเพื่อพบปะหรือโทรศัพท์พูดคุยก็จะช่วยให้ผู้เกษียณไม่เหงาและเกิดภาวะซึมเศร้า

3.ด้านพฤติกรรมการออม ต้องออมทรัพย์สำรองไว้ใช้จ่ายหลังเกษียณให้เพียงพอในแต่ละเดือน จะช่วยลดปัญหาและภาวะเครียดจากค่าใช้จ่ายที่ไม่พอใช้ได้

4.ด้านที่อยู่อาศัย ต้องวางแผนว่าจะพักอาศัยอยู่กับใครหรืออยู่ตามลำพัง โดยควรจัดบ้านและสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม คำนึงถึงความปลอดภัยเพื่อลดอุบัติเหตุและอันตรายต่าง ๆ เช่น ใช้วัสดุกันลื่นในห้องน้ำ มีราวจับ ใช้โถส้วมแบบนั่งราบ จัดบ้านให้โล่งและอากาศถ่ายเทได้สะดวก ดังนั้น ในช่วงวัยก่อนเกษียณจึงควรมีการเตรียมตัวหากลุ่มเพื่อน กลุ่มเครือข่ายต่าง ๆ ไว้ หรืออาจหากลุ่มสมาชิกผู้สูงอายุใกล้ ๆ เพื่อจะได้ร่วมกิจกรรมต่าง ๆ เสริมคุณค่าให้กับชีวิต และเป็นการส่งเสริมสุขภาพกาย จิตใจ และลดความเสี่ยงภาวะซึมเศร้า เหงาและเครียดได้

5 เตรียมตัวด้านทรัพย์สินเงินทองความเป็นจริงแล้ว การวางแผนชีวิตควรเริ่มต้นตั้งแต่อายุยังน้อยเพื่อเป็นการวางเป้าหมายในชีวิต เนื่องจากบุคคลเมื่อถึงเวลาเกษียณอายุ รายได้ที่เคยได้รับประจำก็ลดลง ดังนั้นถ้าไม่มีแผนการใช้จ่ายอย่างรัดกุม เงินอาจหมดไปอย่างรวดเร็ว จึงต้องเตรียมตัวด้านการเงิน ดังนี้

-ประเมินรายจ่ายแต่ละเดือน วิเคราะห์รายจ่ายต่างๆ ทำเป็นตารางงบออกมา ให้เห็นและเข้าใจง่าย

-ประเมินรายรับแต่ละเดือน วิเคราะห์รายรับเพื่อคาดคะเนจำานวนรายได้ เนื่องจากเมื่อเกษียณอายุ รายได้พิเศษต่างๆ อาจสิ้นสุดไป

-ควบคุมค่าใช้จ่ายในบ้านให้สมดุลกับรายได้ ควรหาทางเพิ่มรายได้หรือตัดรายจ่ายไม่จำเป็นออก

-เตรียมสะสมเงินเพื่อสำรองไว้ใช้ยามเจ็บป่วย ฉุกเฉินหรือเมื่อมีปัญหาทางเศรษฐกิจ ควรเริ่มต้นสะสมเป็นเวลาอย่างน้อย 10-15 ปี ก่อนการเกษียณอายุ อาจเป็นการสะสมในรูปอสังหาริมทรัพย์ การซื้อพันธบัตร การประกันชีวิต หรือบริหารเงินที่ได้รับหลังเกษียณ

สำหรับแหล่งเงินได้หลังเกษียณ แบ่งได้ ดังนี้

– กองทุนประกนสังคม หากจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนมา 15 ปี พออายุ 55 ปี ก็จะได้ร้บเงินบำนาญชราภาพ ประมาณ 3,000 บาทต่อเดือน คิดจากเพดานเงินเดือนสูงสูด 15,000 บาท ตามข้อกำหนดของกองทุน หากจ่าย เงินสมทบเกินกว่า 15 ปีก็จะได้ โบนัสอีกปีละ 1.5% สมมติเราจ่ายสมทบมา 30 ปีก่อนเกษียณ จะได้โบนัส 15 ปี หรืออีก 3,375 บาท รวมเป็น 6,375 บาทต่อเดือน ซึ่งยังไม่ได้ปรับด้วยเงินเฟ้อ

– กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ กรณีเป็นข้าราชการท่ีเป็นสมาชิกกองทุนจะได้รับเงินบํานาญ

= (เงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย x อายุราชการ) / 50 แต่ต้องไม่เกิน 70% ของเงินเดือนเฉลี่ย หรืออาจเป็นเงินบำเหน็จ = เงินเดือน เดือนสุดท้าย x อายุราชการตามเงื่อนไขทางราชการ

– กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่ลูกจ้างและนายจ้างสมัครใจร่วมกันสมทบเข้ากองทุน ถ้าเราเริ่มทำงานและสะสมเงินเข้ากองทุนน้ีตั้งแต่อายุ 25 ปีโดยสะสม 3% ของเงินเดือน เดือนละ 20,000 บาท ถ้าเงินเดือนเพิ่มขึ้นปีละ 5% นายจ้างสมทบให้ 3% และกองทุนได้ผลตอบแทนเฉลี่ย 4% เมื่ออายุ 60 ปีเราจะมีเงินประมาณ 1.2 ล้านบาท จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

– กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF ซึ่งจะช่วยสร้างวินัยในการลงทุนให้เราได้ เพราะเป็นการลงทุนระยะยาวที่ต้องลงทุนอย่างต่อเนื่อง และเรายังได้รับประโยชน์ทางภาษีในช่วงที่ลงทุนอีกด้วย ปัจุบันมีกองทุนรวม RMF มากมาย ใหเราเลือกได้ตามนโยบายการลงทุนที่ต้องการ

อย่างไรก็ตาม การเตรียมตัวในด้านต่างๆ ควรปฏิบัติและทำให้สำเร็จก่อนเกษียณอายุทำงาน เพราะต้องใช้เวลานานและต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง หากได้เตรียมความพร้อมไว้เร็วเท่าไร ก็จะยิ่งทำให้คุ้นชินกับการเกษียณอายุอย่างมีความสุขยิ่งขึ้น

ต้องไม่ลืมว่า ทุกวันนี้เงินเป็นปัจจัยสำคัญ ซึ่งความมั่นคงทางการเงินนี้ก็มีจากการทำงานเพื่อตนเอง และมีรายได้สะสมอ่านบทความนี้แล้วก็เริ่มต้นคิด และวางแผนการเงินกันเสียตั้งแต่ตอนนี้ก็ยังไม่สาย เมื่อถึงวัยเกษียณขึ้นมาจะได้มีความมั่นคง ใช้ชีวิตในบั้นปลายอย่างมีความสุข ไม่เป็นภาระของลูกหลานยังไงล่ะค่ะ

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ 

ผู้สูงอายุกับปัญหาโรคติดต่อที่ทุกคนควรต้องรู้ไว้

วิธีป้องกันฝุ่น PM2.5 ที่มากระทบสมอง ปอด หัวใจ ของผู้สูงอายุ

เพราะสุขภาพสำคัญ! ควรป้องกันการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร

 

 

 

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.