ไขความลับ ” เก๋ากี้ ” ยาอายุวัฒนะในตำราจีน

” เก๋ากี้ ” ยาอายุวัฒนะตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน

วันนี้ผู้เขียนจะมาแนะนำทุกคนให้รู้จักกับ ” เก๋ากี้ ” ยาอายุวัฒนะในตำราจีน โดยเป็นผลไม้ที่นำมายารักษาโรคได้หลายชนิด และถูกใช้ในตำราจีนมายาวนานกว่า 2,000 ปี

ทำความรู้จักกับเก๋ากี้

เก๋ากี้มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Chinese Wolberry และ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Lycium barbarum หรือบางตำรา เรียกทับศัพท์ว่า โกจิเบอร์รี่ (Goji Berry) จัดอยู่ในกลุ่ม ผลไม้ชนิดหนึ่งในตระกูลเบอร์รี่ ลักษณะต้นเป็นพุ่มไม่สูง มาก มีสายพันธุ์ประมาณ 70 – 80 สายพันธุ์ มีสีแดงจัด ลักษณะเป็นเม็ดเล็ก ๆ ผลที่สุกแล้วจะมีสีแดงเข้มเหมือน เลือด จึงมีอีกชื่อในภาษาจีนว่า “ฮ่วยกี้”หรือ “โก๋วฉีจึ” (枸杞子)ในบ้านเรานิยมใช้อยู่ 2 สายพันธุ์ คือ พันธุ์ Lycium barbarum มีลักษณะสีแดงเม็ดเล็ก อมเปรี้ยวกว่า มักใส่ในซุปไก่ตุ๋น เรียกว่า”เก๋ากี้จีน” ส่วนอีกหนึ่งสายพันธุ์ คือ Lycium chinense สีแดงเข้มและเม็ดใหญ่กว่า ออกหวานมากกว่า ไม่เปรี้ยว มักใส่ในชา เป็นขนมเคี้ยวเล่น และใส่ในของหวาน เรียกว่า “เก๋ากี้ฮ่องกง” เก๋ากี้นั้นมีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย เพาะปลูกและเติบโต ได้ดีในแถบประเทศจีนตอนเหนือ เพราะมีอากาศเย็นและ สภาพทางภูมิศาสตร์เป็นบริเวณเทือกเขา ผลของเก๋ากี้ มักจะสุกในช่วงฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วง ชาวจีนจะนิยมเก็บผลมาตากแห้ง จึงสามารถนำไปปรุงอาหารได้หลากหลาย ตลอดจนนำมาแปรรูปเป็นชาชงดื่ม สำหรับศาสตร์การแพทย์แผนจีนเก๋ากี้ถูกใช้ในตำรายาจีน มานานกว่า 2,000 ปี ระบุไว้ว่า เก๋ากี้เป็นผลไม้ที่นำมาทำเป็น ยารักษาโรคได้หลายชนิด มีรสหวาน มีฤทธิ์เป็นกลาง ไม่ร้อนไม่เย็นเกินไป และไม่มีพิษ
ฤทธิ์ของเก๋ากี้ช่วยบำรุงเส้นลมปราณตับ ไต กระเพาะอาหาร และ ปอด มีสรรพคุณช่วยบำรุงให้ชุ่มชื่น ช่วยบำรุงสายตา สามารถป้องกัน และรักษาอาการตาแห้งได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้แพทย์จีนส่วนใหญ่นิยม ใช้บรรเทาและรักษาอาการของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในตำรายาจีนมีข้อมูล ว่าเก๋ากี้ช่วยบำรุงร่างกายของเพศชายได้ดี

ข้อมูลเพิ่มเติม

เก๋ากี้เหมาะกับทุกเพศทุกวัย สามารถกินได้ตามปกติ แต่มีข้อ ควรระวังสำหรับคนที่ท้องเสียบ่อย หรือธาตุอ่อน ควรกินในปริมาณ ที่จำกัด เพราะคนกลุ่มนี้มีภาวะ ม้ามอ่อน คือ ระบบย่อยไม่ค่อย ดี ไฟเบอร์และน้ำมันของเก๋ากี้ จะช่วยระบายท้องได้ดีเกินไปจน ถ่ายเหลวได้

ข้อมูลจาก

นิตยสาร ชีวจิต ฉบับที่  534 ( 1 มกราคม 2564)

  _____________________________________________________

บทความอื่นที่น่าสนใจ

เก๋ากี้ โกจิเบอร์รี่ กินแล้วดีอย่างไร

แก้ปวดเมื่อย ด้วยซุปกระเพาะหมู สมุนไพรตู้จ้ง-ตั่งเซิน-เก๋ากี้

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.