ไม่ว่าเมื่อไหร่ เรื่องของโพรไบโอติกส์ก็ไม่เคยหายไปจากกระแสของสุขภาพ แต่หลายคนอาจจะยังสงสัย รวมถึงไม่แน่ใจความว่าโพรไบโอติกส์ และพรีไบโอติกส์ แตกต่างกันตรงไหน รวมถึงมีประโยชน์อย่างไร วันนี้แอดจะมาเล่าให้ฟัง
โพรไบโอติกส์ คือ
จุลินทรีย์ดีขนาดเล็ก ที่พบได้ในนมเปรี้ยว โยเกิร์ต อาหารหมักดอง ที่ทำให้สุขภาพดีในคงทนต่อกรดและด่าง สามารถกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ที่ไม่ดี
พรีไบโอติกส์ คือ
อาหารของโพรไบโอติกส์ เป็นสิ่งไม่มีชีวิต ซึ่งร่างกายไม่สามารถย่อยและดูดซึมได้ที่ลำไส้เล็ก ตัวอาหารจึงไปที่ลำไส้ใหญ่และถูกย่อยโดยโพรไบโอติกส์ และเพิ่มความแข็งแรงให้กับโพรไบโอติกส์นั่นเอง
โพรไบโอติกส์กับประโยชน์ต่อร่างกาย
ประโยชน์ของโพรไบโอติกส์
โพรไบโอติกส์มีประโยขน์หลากหลาย โดยเฉพาะในระบบทางเดินอาหาร
- ช่วยสร้างเกราะป้องกันเยื่อบุลำไส้ ไม่ให้เชื่อก่อโรคมาอยู่
- ยับยั้งไม่ให้เชื้อก่อโรคเติบโต
- สร้างเอนไซม์ที่ช่วยย่อยอาหาร
- รักษาสมดุลของจุลินทรีย์ในร่างกาย
- กระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย
ซึ่งประโยชน์เหล่านี้ช่วยเยียวยาอาการและโรคภัยต่างๆ ของร่างกาย
- โรคระบบทางเดินอาหาร เช่น กรดไหลย้อน ลำไส้แปรปรวน ท้องร่วงจากการเดินทาง ท้องผูก เป็นต้น
- โรคภูมิแพ้
- โรคภายในผู้หญิง เช่นภาวะติดเชื้อในช่องคลอด ช่องคลอดแห้งหลังหมดประจำเดือน เป็นต้น
- โรคระบบทางเดินปัสสาวะ เช่นภาวะติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะ
โพรไบโอติกส์กับไขมัน และความดัน
มีงานวิจัยศึกษาพบว่าจุลินทรีย์บางชนิดช่วยลดไขมัน และคอลเลสเตรอลในเส้นเลือดได้ จึงช่วยลดความดันโลหิตสูง และยังลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ
เลือกโพรไบโอติกส์จากฉลากผลิตภัณฑ์
การเลือกโพรไบติกส์ควรต้องอ่านฉลากโดยคำนึง 2 ปัจจัยสำคัญคือ
- จำนวนและการมีชีวิตของจุลินทรีย์ ต้องมีจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ที่มีชีวิตไม่น้อยกว่า 106 cfu/g ตลอดอายุการเก็บรักษา
- สายพันธุ์ของจุลินทรีย์ โดยสายพันธุ์ที่ปลอดภัยและนิยมใช้คือ แบคทีเรีย Lactobacillus และ Bifidobacterium โดยเป็นจุลินทรีย์ดีที่อาศัยอยู่ในลำไส้ของมนุษย์และได้รับการตรวจสอบว่าปลอดภัยต่อการบริโภค นอกจากยังมีแบคที่เรียชนิดอื่นๆ เช่น Lactococcus, Enterococcus, Propionibacterium และยีสต์ เช่น Saccharomyces cerevisiae, S. boulardii
ข้อมูล นิตยสารชีวจิต, โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์