คาร์โนซีน

สมองล้าต้องมองหา คาร์โนซีน

สมองล้าต้องมองหา คาร์โนซีน

ช่วงไหนทำงานหนักๆหรือพักผ่อนน้อย เป็นธรรมดาที่จะรู้สึกมึนๆอึนๆ ไม่มีสมาธิ ซึ่งอาการเหล่านี้เกิดจากภาวะที่เรียกว่าสมองล้า มักเกิดกับคนในวัยเรียนและวัยทำงาน หากปล่อยปัญหาเหล่านี้ไป ในระยะยาวจากสมองล้าก็อาจจะทำให้กลายเป็นสมองเสื่อมได้ เพราะอย่างนั้นแล้วอาการสมองล้าน่ากลัวกว่าที่คิดอีกค่ะ

อาการสมองล้า

สมองล้าเป็นภาวะที่ประสิทธิภาพการทำงานของสมองลดลงเพราะสารสื่อประสาทในสมองเสียสมดุลไป ซึ่งอาการที่บ่งชี้ได้ว่าอยู่ในภาวะสมองล้าคือสมองตื้อ คิดอะไรไม่ออก ปวดหัว อารมณ์ขึ้นลง รู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย งงๆอึนๆ โดยอาการเหล่านี้เกิดได้จากความเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ ขาดสารอาหารบำรุงสมอง รวมไปถึงผลข้างเคียงจากยาบางชนิด และหากปล่อยเรื้อรังก็อาจทำให้สมองเสื่อม กลายเป็นอัลไซเมอร์ได้ อย่างที่บอกไว้ข้างต้นเลยค่ะ

กรดแอมิโนบำรุงสมอง

สารสื่อประสาท ตัวสำคัญลดสมองล้าและช่วยบำรุงสมอง

จะเห็นได้ว่า “สารสื่อประสาท” ในสมองเป็นสิ่งสำคัญในการแก้ไขปัญหาสมองล้า โดยคีย์หลักคือ สารคาร์โนซีน (Carnosine) ซึ่งเป็นโปรตีนไดเปปไทด์ขนาดเล็ก (Dipeptide) ที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ขึ้นได้เองตามธรรมชาติจากกรดแอมิโนจำเป็น 2 ชนิด คือ อะลานีน (Alanine) และฮิสทิดีน (Histidine) โดยคาร์โนซีนนี้จะอยู่ในเซลล์เนื้อเยื่ออวัยวะสำคัญๆคือ สมอง กล้ามเนื้อหัวใจ

อาหารที่มีคาร์โนซีน

คาร์โนซีนเป็นกรดแอมิโนที่พบได้ในเนื้อสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหมู ปลาบางชนิด และเนื้อไก่ แต่จะไม่พบในพืชผักผลไม้ นอกจากนี้วิธีที่จะช่วยดึงสารคาร์โนซีนออกจากเนื้อสัตว์ได้ดีคือนิยมนำไปตุ๋น ไปต้ม หรือนำไปผ่านกระบวนการสกัดที่มีการผ่านความร้อนและความดัน ย่อยโปรตีนจนกลายเป็นเปปไทด์สายสั้นๆที่เรียกว่า ไบโอ-แอมิโนเปปไทด์คอมเพล็กซ์ (Bio-amino Peptide Complex) ทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมคาร์โนซีนไปใช้ได้ทันที ไม่ต้องผ่านกระบวนการย่อยเหมือนการรับประทานเนื้อสัตว์เป็นชิ้น เช่น ซุปไก่สกัดเข้มข้น

นอกจากนี้ปริมาณของคาร์โนซีนที่พบได้ในร่างกายนั้นจะลดลงเรื่อยๆตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นต้องหาสารคาร์โนซีนเติมให้กับสมองและร่างกายอย่างสม่ำเสมอ

คาร์โนซีน ช่วยลดอาการสมองล้า

คาร์โนซีนไม่เพียงเป็นสารสื่อประสาทที่จำเป็นของร่างกาย แต่ยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ลดการอักเสบ และช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ จึงมีคุณสมบัติในการลดการเกิดโรคอัลไซเมอร์ ภาวะขาดเลือดในสมองและหัวใจ อีกทั้งช่วยให้หัวใจเต้นได้ดีขึ้น ในส่วนของผู้ที่มีภาวะเบาหวาน คาร์โนซีนยังช่วยป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนได้อีกด้วย

คาร์โนซีนบำรุงสมอง

ในส่วนของสมอง คาร์โนซีนช่วยให้มีสมาธิมากขึ้น เพิ่มความจำระยะยาว เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมองส่วนหน้าที่มีหน้าที่ควบคุมความคิด การวิเคราะห์ตัดสินใจ รวมไปถึงอารมณ์และพฤติกรรมต่างๆ จึงทำให้สมองทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ

ทั้งนี้คาร์โนซีนไม่เพียงช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานของสมองและร่างกายในระยะยาว ยังช่วยปรับอารมณ์และพฤติกรรมในชีวิตประจำวันอีกด้วย

ลดความเหนื่อยล้าและฟื้นฟูร่างกาย

หากร่างกายเหนื่อยล้า คาร์โนซีนจะช่วยบรรเทาลงได้ คนที่ออกกำลังกายอย่างหนักเมื่อได้รับคาร์โนซีนก็จะช่วยกระตุ้นการฟื้นฟูกล้ามเนื้อทเพิ่มประสิทธิภาพการออกกำลังกาย ทั้งนี้มีงานวิจัยพบว่าหากได้รับคาร์โนซีนและแอนเซอรีน (Anserine) หนึ่งในกรดแอมิโนตัวสำคัญก่อนออกกำลังกาย 60 นาทีจะช่วยเพิ่มสมรรถภาพการออกกำลังกายได้

ปรับอารมณ์

คาร์โนซีนช่วยลดเรื่องการปรับอารมณ์ให้สมดุล ลดความล้าของจิตใจที่เกิดจากความเครียดในชีวิตประจำวัน โดยมีงานวิจัยพบว่าการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาร์โนซีนต่อเนื่องนาน 4 สัปดาห์ช่วยบรรเทาความเครียดและความอ่อนล้าจากการใช้สมองทำงานทั้งวันได้

คาร์โนซีนตอนเช้า

ในปัจจุบันยังไม่มีการกำหนดปริมาณที่ควรได้รับในแต่ละวัน แต่ส่วนใหญ่แล้วเราจะได้รับคาร์โนซีนจากอาหารที่รับประทาน ซึ่งปริมาณจะมากน้อยขึ้นอยู่กับประเภทของเนื้อสัตว์

โดยร่างกายจะดูดซึมสารคาร์โนซีนได้ดีที่สุดในช่วงเช้าที่เราเพิ่งตื่นและนำไปใช้ได้ตลอดทั้งวัน ส่งผลให้สมองทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

สุดท้ายนี้ยังมีงานวิจัยที่ทดลองกับกลุ่มตัวอย่างพบว่าหากได้รับคาร์โนซีนอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้การทำงานของสมองมีประสิทธิภาพมากขึ้น

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.