พรีไบโอติกส์ คู่หูโปรไบโอติกส์ ที่สำคัญและขาดกันไม่ได้
หลายคนอาจสงสัยว่า พรีไบโอติกส์ คืออะไร ทำไมถึงเรียกว่า เป็นคู่หูของโปรไบโอติกส์ เพราะอะไรนะ เราลองมาทำความเข้าใจและหาคำตอบไปพร้อมๆกันค่ะ
พรีไบโอติกส์ (Prebiotics) คืออะไร
พรีไบโอติกส์ คือ ใยอาหารที่ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถย่อยได้ ไม่ถูกดูดซึมได้ในระบบทางเดินอาหาร ทั้งกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก แต่จะถูกย่อยด้วยแบคทีเรียบริเวณในลำไส้ใหญ่ โดยจะกระตุ้นการทำงานและส่งเสริมการเจริญของจุลินทรีย์โปรไบโอติกส์ (Probiotic) ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ช่วยเพิ่มปริมาณการขับถ่ายและลดระยะเวลาที่ของเสียตกค้างอยู่ในลำไส้ ทำให้ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ ได้ เช่น มะเร็งลำไส้ และโรคในระบบทางเดินอาหาร
4 ประโยชน์ของพรีไบโอติกส์
1. ส่งเสริมการทำงานของระบบทางเดินอาหารให้เป็นปกติ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มจุลินทรีย์ชนิดดีในลำไส้ ป้องกันอาการท้องผูก และท้องเสีย เหล่านี้ล้วนเป็นคุณสมบัติของพรีไบโอติกส์ที่ช่วยเสริมสร้างสุขภาพของระบบทางเดินอาหาร ช่วยเพิ่มปริมาณการขับถ่ายและลดเวลาที่ของเสียตกค้างอยู่ในลำไส้ ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต่างๆ ได้ เช่น มะเร็งลำไส้
2. ส่งเสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์เพื่อสุขภาพในลำไส้ เพราะพรีไบโอติกส์จัดเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ชนิดดีในลำไส้โดยเฉพาะกลุ่ม แลคโตบาซิลลัสและบิฟิโดแบคทีเรีย
3. เพิ่มความสามารถในการดูดซึมแร่ธาตุบางชนิด พรีไบโอติกส์จะถูกนำไปย่อยโดยแบคทีเรียในลำไส้โดยได้กรดไขมันชนิดสายสั้น (Short Chain Fatty Acid; SCFA) ซึ่งด้วยสภาวะความเป็นกรดจึงช่วยเสริมการดูดซึมของแร่ธาตุบางชนิดเช่น แคลเซียม แมกนีเซียมได้ดีขึ้น
4. กระตุ้นและส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย โดยจะมีผลต่อการทำหน้าที่ของเซลล์ภูมิต้านทานในลำไส้ รวมถึงช่วยเพิ่มความแข็งแรงของเซลล์เยื่อบุผิวในลำไส้ส่งผลให้มีความสามารถในการป้องกันการติดเชื้อได้เป็นอย่างดี
รู้จักพรีไบโอติกส์กันไปแล้วเราลองมาทำความเข้าใจกับคู่หูโปรไบโอติกส์กันบ้าง
โปรไบโอติกส์ (Probiotics) คืออะไร
โปรไบโอติกส์ หรือโพรไบโอติก คือแบคทีเรียที่อาศัยอยู๋ในบริเวณลำไส้ใหญ่ของคน ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นแบคทีเรียชนิดดี มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น แบคทีเรียที่สร้างกรดแล็กทิก (lactic acid) แล็กบาโทซิลัส (Lactobacillus) ซึ่งจะพบในผลิตภัณฑ์อาหารหมัก เช่น นมเปรี้ยว กิมจิ เทมเป้ นัตโตะ ฯลฯ
5 ประโยชน์ของโปรไบโอติกส์
- สร้างกรดแล็กทิก (lactic acid) ที่จุลินทรีย์สร้างจะยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสีย ท้องร่วงรุนแรง ฯลฯ
- ช่วยลดระดับไขมันเลวในเลือด เช่น คอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ โดยการยับยั้งการดูดซึมคอเลสเตอรอลผ่านผนังลำไส้
- ช่วยการทำงานของลำไส้ ลดอาการท้องผูก โดยกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ และช่วยเพิ่มความชื้นของอุจจาระ ทำให้สามารถขับถ่ายได้สะดวกมากขึ้น
- ช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมในระบบย่อยอาหาร
- สามารถผลิตวิตามินต่างๆ เช่น วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี6 วิตามินบี12 ไบโอติน กรดนิโคทินิก และ กรดโฟลิก เพื่อเสริมการทำงานของร่ายงกายได้
สรุปความแตกต่างระหว่างพรีไบโอติกส์และ โปรไบโอติกส์
- พรีไบโอติกส์ (Prebiotics) สามารถพบได้จากผัก ผลไม้ และธัญพืช คุณสมบัติความเป็นพรีไบโอติกส์ คือ ไม่ถูกทำลายด้วยความร้อน ความเย็น หรือระยะเวลา
- โปรไบโอติกส์ (Probiotics) สามารถพบได้จากอาหารที่ผ่านการหมัก เช่น โยเกิร์ต นมเปรี้ยว ชีส กิมจิ ผักดอง เป็นต้น มีคุณสมบัติ สามารถถูกทำลายได้ด้วยความร้อน ระยะเวลา หรือความเป็นกรดในระบบทางเดินอาหาร
สุดท้ายนี้อย่าลืมว่ากินโปรไบโอติกส์แล้ว อย่าลืมหาพรีไบโอติกส์ที่เหมาะสมกับกับโปรไบโอติกส์นะคะ เพื่อประโยชน์ของระบบลำไส้ และการขับถ่ายของเรา
สนับสนุนข้อมูลโดย :Meifiber
สถานที่จำหน่าย : ร้านขายยาชั้นนำทั่วประเทศ
Shoppee: https://shopee.co.th/meijiwellness_thailand
Lazada : https://bit.ly/2on7K5l
Facebook : Meifiber.thailand
Instagram : Meifiber_thailand