ดอกแค
ดอกแค เชื่อว่าผู้ใหญ่ในบ้านคงจะรู้จักเป็นอย่างดี แต่สำหรับหนุ่มๆสาวๆวัยรุ่นอาจจะไม่ค่อยรู้จักนัก เนื่องจากปัจจุบันค่อนข้างหายาก และอาจไม่ค่อยถูกปากนัก แต่สรรพคุณและประโยชน์ของมันนั้น…บอกได้เลยว่ามากคุณค่าสุดๆ
มารู้จักกับ “แค” กันเสียก่อน!
“ดอกแค” มีชื่อในภาษาอังกฤษว่า Sesbania Grandiflora ส่วนต้นแคจะใช้ชื่อว่า Cork Wood Tree เป็นพืชสมุนไพรที่มีเฉพาะในแถบเอเชียบางประเทศ เป็นต้นไม้ขนาดกลาง จัดว่าเป็นพืชสมุนไพรที่ชาวต่างชาติมองว่าเป็นของหายาก และมีราคาค่อนข้างสูง แต่ในประเทศไทยเรากลับหาง่าย และราคาถูก หลายคนเข้าใจว่า “แค” คือผักชนิดหนึ่ง แต่ในทางสมุนไพรศาสตร์ “แค” จัดว่าเป็นพืชสมุนไพร เพราะคนสมัยโบราณจะนำดอกแคมาใช้เป็นยาแผนโบราณ ที่อุดมไปด้วยคุณค่ามากมาย…
หลายคนแยกต้นแคไม่ออก หากไม่มีดอกแคสีขาวๆ ให้เห็นก็จะคิดว่าเป็นต้นไม้ชนิดอื่น การขยายพันธุ์ของต้นแคจะทำได้โดยใช้เมล็ดในการเพาะ เราจะพบเห็นต้นแคได้มากที่จังหวัดนครสวรรค์ เพราะสภาพดินและอากาศเหมาะสม จึงนิยมปลูกต้นแคไว้เพื่อการค้าขาย การปลูกก็ไม่ต้องใช้พื้นที่เยอะก็สามารถปลูกให้ขึ้นได้ ใช้ดินร่วนผสมดินเหนียวนิดหน่อยต้นแคจะชอบมาก ในช่วงที่เป็นฤดูฝนต้นแคผลิดอกเต็มที่ นำมากินได้ทั้งดอก ฝักอ่อน ใบ แต่อย่าลืมล้างให้สะอาดเสียก่อน
ตำราหมอยาไทยโบราณ
ดอกแคมีคุณสมบัติเป็นยาแก้อาการปวดศีรษะข้างเดียวหรือ “ไมเกรน” ได้ดีมาก วิธีกินก็ไม่ต้องปรุงยาให้วุ่นวาย อยากกินแบบไหนก็หยิบจับมาทำเมนูกินกับข้าวได้เลย แค่นี้ก็ถือว่าได้กินสมุนไพรที่ดีแก้ “ไมเกรน” ได้แล้ว อาการไมเกรน จะหายไปได้ในไม่กี่วัน หลังจากกินดอกแค
หรือจะนำใบแคสด ใช้ยอดอ่อนไม่จำกัดจำนวน ต้มกับน้ำกินลดไข้ ลวกจิ้มกับน้ำพริก กินแก้ปวดศีรษะข้างเดียว หรือไมเกรน ชาวอินเดีย ใช้สูดน้ำที่คั้นได้จากดอกหรือใบแคเข้าจมูกรักษาโรค ริดสีดวงในจมูก และทำให้มีน้ำมูกออกมา แก้ปวดและหนักศีรษะ ลดความร้อน ลดไข้
คนโบราณนิยมนำไปปรุงอาหาร กินเพื่อแก้ไข้หัวลม “ไข้หัวลมคืออาการไข้ที่มัก
ประโยชน์
ลำต้น : เป็นไม้เนื้ออ่อน เปลือกหนา ขรุขระแตกเป็นสะเก็ด สีน้ำตาลปนเทา สูงประมาณ 3-10 เมตร โตไว เจริญเติบโตได้ดีในเขตร้อน หากเก็บใบมารับประทานบ่อยๆ จะมีอายุสั้นลง จากปกติมีอายุราวๆ 20 ปี
ใบ : ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยมีขนาดเล็ก แตกใบย่อยออกมาเป็นคู่ๆตรงข้ามกัน ขอบใบมน และเรียบ ผิวใบเรียบ
ดอก : ดอกออกเป็นช่อ คล้ายดอกถั่ว มีหลายสี เช่นสีขาว สีแดง กลิ่นหอม กลีบเลี้ยงคล้ายๆ ระฆัง
ผล : หรือฝักแค เป็นฝักกลมยาว มีเม็ดด้านในหลายเม็ด สีเขียว ฝักอ่อนรับประทานได้
เมล็ด : เมล็ดกลม สีน้ำตาล ใช้ขยายพันธุ์ได้
- มีวิตามินหลากหลายชนิด ได้แก่ เบต้าแคโรทีน ธาตุเหล็ก และให้โปรตีนแก่ร่างกาย
- ถูกใช้เป็นวัตถุดิบสำคัญในตำหรับอาหารไทยหลากหลายเมนู นิยมนำไปลวกจิ้มเป็นเครื่องเคียง หรือกินกับน้ำพริก หรือใส่ลงในแกงต่างๆอย่างแกงส้ม เป็นต้น
- ดอกแคเป็นพืชฤทธิ์เย็น ช่วยลดความร้อนในร่างกาย แก้ร้อนในได้ดี
- ใช้เป็นยาขับเสมหะ ลดน้ำมูก ลดอาการอักเสบของเยื่อบุโพรงจมูก
- มีสรรพคุณช่วยบำรุงสายตา เนื่องจากมีเบต้าแคโรทีนที่สูง
- มีสรรพคุณช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด เหมาะแก่ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
- ดอกและยอดอ่อน มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง
การใช้ประโยชน์
ยอดอ่อนและใบอ่อนสามารถนำมาปรุงอาหารได้ เป็นสมุนไพรช่วยดับพิษร้อนถอนพิษไข้ ดอกใช้เป็นอาหาร แก้ไข้หัวลม และช่วยบำรุงอาหาร ฝักอ่อนใช้เป็นอาหารได้
การเกษตร
แคเป็นต้นไม้พื้นบ้าน เป็นไม้เนื้ออ่อน นิยมปลูกเป็นรั้วบ้าน คันนา และริมถนน ปลูกได้ในทุกพื้ที่ทั้งดินเหนียว ดินร่วน สามารถปลูกไว้ในบริเวณบ้านเพื่อปรับพื้นที่ให้มีปุ๋ย เนื่องจากใบแคที่ผุแล้วทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ มีธาตุอาหารมากขึ้น เมื่อเมล็ดแก่จัดจะแพร่พันธุ์ด้วยเมล็ด มีอายุประมาณ 20 ปี และเจริญเติบโตได้ทุกพื้นที่ทั่วโลกในเขตร้อนชื้น
ส่วนที่นำมารับประทานได้ของแค คือ ยอดอ่อน ฝักอ่อนออกในช่วงฤดูฝน ใบอ่อนมีรสหวาน ดอกอ่อนออกในช่วงฤดูหนาว ดอกแคมีเส้นใยอาหาร แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก แคโรทีน วิตามินเอ วิตามินบีหนึ่ง วิตามินบีสอง และวิตามินซี ก่อนนำไปทำอาหารต้องดึงเอาเกสรออกก่อนเพื่อลดความขม ส่วนที่รับประทานได้ของแคสามารถนำไปปรุงอาหารได้หลายอย่าง อาทิ เช่น แกงส้มดอกแค แกงเหลืองปลากระพงดอกแค ดอกใบยอกฝักอ่อนของแคนำมาลวกจิ้มน้ำพริกได้ ล้วนเป็นอาหารที่มีคุณค่าให้ประโยชน์ทั้งสิ้น
ดอกแคดิบ คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์)
- พลังงาน 113 kJ (27 kcal)
- คาร์โบไฮเดรต 6.73 g
- ไขมัน 0.04 g
- โปรตีน 1.28 g
- วิตามิน ไทอามีน (บี1) (7%) 0.083 มก.
- ไรโบเฟลวิน (บี2) (7%) 0.081 มก.
- ไนอาซิน (บี3) (3%) 0.43 มก.
- โฟเลต (บี9) (26%) 102 μg
- วิตามินซี (88%) 73 มก.
- แร่ธาตุ แคลเซียม (2%) 19 มก.
- เหล็ก (6%) 0.84 มก.
- แมกนีเซียม (3%) 12 มก.
- ฟอสฟอรัส (4%) 30 มก.
- โพแทสเซียม (4%) 184 มก.
แหล่งที่มา: USDA Nutrient Database
ยารักษาโรค
- นำเปลือกแคมาต้ม คั้นน้ำรับประทานแก้ท้องร่วง แก้บิด แก้มูกเลือด
- ดอกแคช่วยแก้ไข้ลดไข้ถอนพิษไข้
- แคยังอุดมด้วยสารต่าง ๆ โดยเฉพาะบีตา-แคโรทีนที่ร่างกายสามารถเปลี่ยนเป็นวิตามินเอได้ จึงช่วยบำรุงสายตา ต่อต้านมะเร็ง และยังมีแคลเซียม ฟอสฟอรัสสูง จึงช่วยเสริมสร้างกระดูก
ไม่ควรรับประทานมากจนเกินไป
หากกินดอกแคมากๆ อาจมีอาการอาเจียนได้ เพราะเป็น “พืชตระกูลเย็น” จะทำให้ดูดน้ำในท้องเยอะ ส่งผลให้อยากอาเจียนมาก
ดอกแคอร่อยที่สุดในช่วงไหน?
ดอกแคจะอร่อยที่สุดในช่วงหน้าฝน ส่วนการเลือกดอกแคจะหน้าไหนก็ได้แต่ดีที่สุดคือหน้าหนาว ดอกจะอวบอูมเต็มที่
คำแนะนำในเลือกซื้อและรับประทาน
- การนำดอกแคมาใช้ทำเป็นอาหาร ต้องเด็ดเอาเกสรสีเหลืองของดอกออกก่อน จะช่วยลดความขมหรือทำให้มีรสขมได้ แต่ถ้าไม่กังวลเรื่องความขมก็ไม่ต้องเด็ดออกก็ได้
- การเลือกซื้อยอดอ่อนและใบอ่อนของแค ควรเลือกเป็นใบสด ไม่ร่วง ส่วนดอกให้เลือกดอกตูมที่กำลังจะบาน ซึ่งยอดอ่อนและใบอ่อนจะหาซื้อได้ทั่วไปในตลาด แต่สำหรับฝักอ่อนค่อนข้างจะหาซื้อยาก ต้องปลูกต้นแคไว้เองจึงจะได้รับประทาน
- ยอดอ่อนและใบอ่อนของแคนั้น จะมีในช่วงฤดูฝน ส่วนดอกแคจะมีในช่วงต้นฤดูหนาว
- ดอกแคมีรสเฝื่อน ไม่นิยมรับประทานสด ๆ วิธีที่ดีที่สุดก็คือ การไปลวกโดยใช้เวลาอันสั้นที่สุด
- การรับประทานดอกแคในปริมาณมากเกินไปอาจทำให้อาเจียนได้
ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก