ดอกไม้กินได้ Edible flowers

ดอกไม้กินได้ หรือ Edible flowers ความสวยงาม ที่สามารถกินได้ 8 ดอกไม้ไทย

ถ้าพูดถึง ดอกไม้กินได้ ในประเทศไทย หลายคนคงนึกถึง ดอกอัญชัน ดอกเข็ม ดอกแค ดอกขจร หรือดอกไม้ที่เป็นประเภทผักต่างๆ แต่น้อยคนนักจะรู้จักดอกไม้กินได้ชนิดอื่นๆ หรือเคยได้ยินว่ากินได้ แต่ไม่กล้าที่จะลอง

 ดอกไม้กินได้ หรือ Edible Flower ในประเทศเทศจัดเป็นอีกประเทศที่มี ดอกไม้เหล่านี้อยู่มาก

ดอกไม้กินได้ หรือ Edible Flower
ดอกไม้กินได้ หรือ Edible Flower

เริ่มที่ดอกไม้ชนิดแรก “อัญชัน”  เรียกได้ว่าเป็นที่นิยม ใช้ประกอบอาหาร ตกแต่ง หรือนำมาใช้ประโยชน์โดนใช้สีจากกลีบดอก สามารถกินดิบได้ เป็นเครื่องแกล้มกับน้ำพริกต่างๆ ปลูกทั่วไปในเขตร้อน ลักษณะของดอกอัญชันจะมีสีขาว สีฟ้า สีม่วง ส่วนตรงกลางดอกจะมีสีเหลือง และรูปทรงคล้ายหอยเชลล์ มีสรรพคุณที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพราะมีสารที่ชื่อว่า “แอนโทไซยานิน” (Anthocyanin) ซึ่งมีหน้าที่ไปช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ได้ดีมากขึ้น

สรรพคุณ – น้ำอัญชันมีส่วนช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้ร่างกายและเพิ่มพลังงานให้ร่างกาย ช่วยในการชะลอวัยและริ้วรอยแห่งวัย บำรุงสมอง เพิ่มการไหลเวียนเลือด ช่วยป้องกันโรคเส้นเลือดสมองตีบ ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน มีคุณสมบัติในการช่วยล้างสารพิษและของเสียออกจากร่างกาย  ช่วยป้องกันโรคต้อกระจก ต้อหิน ตาเสื่อมจากโรคเบาหวาน เพิ่มความสามารถในการมองเห็นให้ดียิ่งขึ้น

**เนื่องจากดอกอัญชันนั้นมีฤทธิ์ในการละลายลิ่มเลือด สำหรับผู้มีเลือดจางห้ามรับประทานดอกอัญชันเด็ดขาด หรืออาหารเครื่องดื่มที่ย้อมสีด้วยอัญชันก็ไม่ควรรับประทานบ่อยๆ


ดอกไม้กินได้ หรือ Edible Flower

“ดอกเข็ม”  เป็นดอกไม้อีกชนิด ที่คนไทยส่วนใหญ่รู้จัก และนำมาประกอบอาหาร ดอกเข็มเป็นจัดเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ลักษณะต้นนั้นจะคล้ายกับเข็มขาว ถ้ามีอายุหลายปีอาจมีขนาดของต้นเท่ากับต้นมะม่วงได้ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในจังหวัดสระบุรี และมีขึ้นประปรายในจังหวัดต่างๆ โดยนิยมนำมาปลูกกันตามชนบท ชอบขึ้นเองตามป่าราบและป่าเบญจพรรณ

ดอกเข็มมีด้วยกันหลายสีเช่น สีชมพู สีแสด สีแดง สีเหลือง และสีขาว ดอกเข็มที่ใช้ทำ อาหาร คือ ดอกเข็ม เล็กๆ ได้แก่ เข็มแดง เข็มชมพู และเข็มขาว ดอกเข็ม จะมีน้ำหวาน ตรงโคนดอก ส่วนเข็มเศรษฐี ดอกใหญ่ ไม่นิยมนำมากิน สมัยก่อน คน มักจะนำดอกเข็มมาชุบแป้งข้าวเจ้าและใส่น้ำปูนใส คลุกกับกะทิเล็กน้อย แล้วทอด ทำเป็นเครื่องเคียง กินกับ ขนมจีนน้ำยา ส่วนใหญ่ออกดอกตลอดปี และจะออกดอกดี ในช่วงฤดูฝน รสชาติดอกเข็มไม่ขมแต่มีความมัน


ดอกไม้กินได้ หรือ Edible Flower
ดอกไม้กินได้ หรือ Edible Flower

“ดอกกุหลาบ”  เป็นดอกไม้อีกชนิดที่อยู่คู่คนไทยมานาน ทั้งใช้ในงานพิธีมงคลต่างๆ ไม่ว่าจะร้อยมาลัย หรือเป็นสีแต่งแต้มริมฝีปากของคนสมัยก่อน สำหรับบ้านไหนที่ปลูก ก็สามารถเก็บดอกมาใช้ประกอบอาหารได้ ไม่ว่าจะตากแห้งนำมาชงเป็นชาดื่ม หรือลอยในน้ำฝน ให้หอมสดชื่น หรือให้ความหอมแก่ขนมต่างๆ

กุหลาบมอญ เป็นพืชไม้พุ่มขนาดเล็ก ใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม ตามขอบจักเป็นฟันเลื่อย ตามกิ่งและลำต้นมีหนาม มีดอกออก เป็นช่อๆ 3-4 ดอกที่ปลายกิ่ง ซึ่งส่วนใหญ่ดอก จะออกได้ตลอดทั้งปี และจะมีสีแดง หรือสีชมพู มีกลิ่นหอม กลีบเรียงซ้อนกันอย่างหลวมๆ นำมาสกัดน้ำมันหอมระเหยได้ หรือนำมาทำใส่อาหาร เช่น ต้มยำกุ้ง หรือจะนำมาทำดอกไม้ประดิษฐ์ และบุหงาแห้ง


 Edible Flower
Edible Flower

“บัวหลวง”  นอกจากดอกบัวจะนิยมนำไปไหว้พระแล้วยังสามารถนำกลีบดอกบัวมาทำเป็นอาหารได้ เช่น เมี่ยงคำบัวหลวง ใช้กลีบบัวหลวงห่อเครื่องเคียงและน้ำราดโดยจัดใส่เป็นคำๆ ไป ดอกบัวหลวงมีสรรพคุณช่วยบำรุงหัวใจ บำรุงกำลัง และบำรุงครรภ์ นอกจากนี้มีฤทธิ์แก้ไข้ ลดน้ำตาลในเลือด หากนำไปตากแห้งแล้วชงดื่มเป็นชา จะช่วยแก้ตาแห้ง บำรุงสายตา และช่วยกระจายเลือดให้เลือด ลมเดินดี

สรรพคุณ – รากและเม็ดบัวมีรสหวานเย็นและมันเล็กน้อย ช่วยบำรุงกำลัง ใช้เป็นยาชูกำลัง ดอกช่วยบำรุงร่างกาย แก้กษัย ดอกบัวสดสีขาวใช้ต้มกับน้ำดื่มติดต่อกัน จะมีสรรพคุณเป็นยาบรรเทาอาการอ่อนเพลีย ทำให้สดชื่นขึ้น และช่วยลดอาการใจสั่น เป็นยาบำรุงหัวใจ แก้ไข้ ช่วยแก้ไข้รากสาด และไข้มีพิษร้อน แก้เสมหะ ช่วยขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะบ่อย แก้อาการช้ำใน  ช่วยบำรุงครรภ์ของสตรี

 


 Edible Flower
Edible Flower

“เฟื่องฟ้า”  ในประเทศไทยได้มีการนำพันธุ์ของต้นเฟื่องฟ้าเข้ามาจากประเทศสิงคโปร์เป็นครั้งแรกเมื่อประมาณปี พ.ศ.2423 (รัชกาลที่ 5) และมีการนำเข้ามาจากต่างประเทศอีกมากมายจนถึงปัจจุบัน โดยสายพันธุ์ของต้นเฟื่องฟ้าในประเทศก็มีจำนวนไม่น้อยไปกว่าต่างประเทศ เนื่องมาจากต้นเฟื่องฟ้าเป็นไม้ที่เจริญเติบโตได้ดีในประเทศไทยแล้วยังเกิดการกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นอีกมากมาย

เป็นดอกไม้ที่มีรสฝาด นิยมนำ “กลีบดอก” มาชุบแป้งทอดแล้วกินกับน้ำจิ้มเพื่อเพิ่มความอร่อย โดยดอกเฟื่องฟ้ามีสรรพคุณ – ในการบำรุงหัวใจ  และระบบไหลเวียนเลือด แก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ รวมถึงบำรุงระบบขับถ่ายได้อีกด้วย


 Edible Flower
Edible Flower

“ดาหลา” เป็นพืชที่มีดอกที่สวยงาม นิยมปลูกเป็นไม้ตัดดอก เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์เดียวกันกับขิง นอกจากจะนำมาเป็นไม้ตัดดอกนำดอกมาประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู และที่สำคัญมีสรรพคุณทางยาสมุนไพร  ดอกตูม และหน่ออ่อนใช้จิ้มน้ำพริก หรือหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ผสมในข้าวยำ สรรพคุณ – รสเผ็ดร้อน ช่วยขับลม แก้ลมพิษ แก้โรคผิวหนัง บำรุงเลือดลมให้หมุนเวียนดี และมีวิตามินซี


ดอกไม้กินได้
ดอกไม้กินได้

“ดอกลีลาวดี”  เดิมทีแล้วต้นลั่นทมเป็นไม้ที่นำเข้ามาจากเขมร ซึ่งมีชื่อเดิมว่า “ต้นขอม” เล่ากันว่ามีการนำเข้ามาปลูกในไทย เมื่อครั้งไปตีนครธมจนได้รับชัยชนะ แล้วได้มีการนำต้นไม้ชนิดนี้เข้ามาปลูก และเรียกชื่อเป็นที่ระลึกว่า “ลั่นธม” โดยคำว่าลั่นนั้นแปลว่า ตีฆ้อง ลั่นฆ้อง ลั่นกลอง ส่วนคำว่าธมนั้นมาจากคำว่า “นครธม” จึงเป็นที่มาของชื่อลั่นธม และเพี้ยนกลายมาเป็น “ลั่นทม” ในปัจจุบัน โดยมีผู้รู้ด้านภาษาไทยได้กล่าวถึงความหมายของลั่นทมไว้ โดยมีความหมายว่า “การละแล้วซึ่งความทุกข์ความโศกเศร้าและมีความสุข” เพราะคำว่า ลั่น นั้นมีหมายว่า แตกหัก ละทิ้ง ส่วนคำว่า ทม ก็หมายถึงความทุกข์โศก

สรรพคุณ – ดอกลีลาวดีใช้ผสมกับพลู ทำเป็นยาแก้ไข้และไข้มาลาเรีย ดอกใช้ทำธูปได้

**การเก็บดอกมารับประทาน ควรเก็บดอก ที่ล่วง และสภาพดีอยู่เท่านั้น

**แต่เนื่องจากทุกส่วนของต้นลีลาวดีจะมียางสีขาวขุ่นซึ่งเป็นพิษ โดยสารที่เป็นพิษคือกรด Plumeric acid ถ้าหากสัมผัสยางจะทำให้เกิดผื่นคันตามผิวหนัง ผิวหนังอักเสบบวมแดง และต้นลีลาวดีนี้กิ่งยังเปราะและหักง่ายอีกด้วย จึงไม่เหมาะที่จะปลูกไว้ในบ้านที่มีเด็กซุกซนอยู่เท่าไหร่นัก


Edible Flower
Edible Flower

“มะลิ”  เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่ชอบแสงแดดจัด การให้น้ำมากเกินไปจะทำให้ออกดอกน้อยลง และการตัดแต่งใบภายหลังการออกดอกชุดใหญ่จะทำให้การออกดอกดีขึ้น สรรพคุณ – ดอกมะลิมีรสหอมเย็น มีสรรพคุณบำรุงหัวใจ ทำให้ชื่นใจ จิตใจชุมชื่น แก้อาการอ่อนเพลีย ชูกำลัง ดอกสดนำมาตำให้ละเอียดใช้พอกขมับ จะช่วยแก้อาการปวดศีรษะได้ ดอกสดนำมาตำใส่พิมเสน ใช้สุมหัวเด็กแก้ซาง แก้หวัด แก้ตัวร้อน


ขอขอบคุณข้อมูล ดอกไม้ชนิดต่างๆ จาก :

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.