หัวไชเท้า Chinese Radish

หัวไชเท้า Chinese radish 12 ประโยชน์ดีๆ ที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน! – A Cuisine

หัวไชเท้า 

Chinese Radish

วันนี้ A Cuisine ขอนำประโยชน์ของ หัวไชเท้า Chinese Radish มาฝากแฟนเพจทุกคน หลายๆคนอาจไม่เคยรู้มาก่อน ว่า..เจ้าหัวไช้เท้าที่เรารับประทานกันทุกวันเนี่ยมีประโยชน์มากแค่ไหน ที่เห็นมากๆ ก็ใช้รองจานในอาหารญี่ปุ่นหลากหลายเมนู แต่ประโยชน์ที่ซ่อนอยู่ของมันนั้น มีมากมาย มาดูกันเลยค่ะ

 

มาทำความรู้จักกับ หัวไชเท้า Chinese Radish กันเสียก่อน!

หัวไชเท้ามีชื่อเรียกอื่นๆว่า ผักกาดหัว ไช่เท้า ไช่โป๊ หัวไชเท้า หัวผักกาด หัวผักกาดขาว  ผักกาดจีน ผักขี้หูด ผักเปิ๊กหัว  ผักกาดหัว

มีถิ่นกำเนิดที่ประเทศจีน ผักชนิดนี้จะมีอยู่ด้วยกันหลายสี ไม่ว่าจะเป็นสีขาว สีแดง สีม่วง สีชมพู และขนาดก็จะแตกต่างกันออกไปตามสายพันธุ์แยกย่อย

 

ประโยชน์ต่อสุขภาพ

1.ลดความดันโลหิต 

เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการรักษาความดันโลหิตสูง ในหัวไชเท้ามีสารต้านอนุมูลอิสระอย่างซาโปนิน ฟลาโวนอยด์ แทนนิน ฟีนอล และอัลคาลอยด์ที่อาจช่วยให้ระดับความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจของลดต่ำลง ทั้งยังให้ข้อสรุปว่าสารสกัดจากหัวไชเท้านั้นอาจมีสารบางชนิดที่มีสรรพคุณช่วยต่อต้านโรคหลอดเลือดหัวใจและน่าจะส่งผลดีต่อการลดระดับความดันโลหิต

2.ต้านมะเร็ง 

พืชในตระกูลกระหล่ำซึ่งรวมถึงหัวไชเท้านั้นมีสารประกอบบางชนิดที่เมื่อผสมกับน้ำแล้วจะแตกตัวเป็นสารไอโซไทโอไซยาเนต (Isothiocyanate) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยกำจัดสารในร่างกายที่เป็นต้นเหตุของการเกิดมะเร็ง ทั้งยังป้องกันการเจริญเติบโตของเนื้องอก

3.มีคุณค่าสารอาหารมากมาย

ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต เส้ยใย โปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก วิตามินเอ วิตามินบี 1 บี12 ไนอาซิน วิตามินซี น้ำมันหอมระเหย รวมทั้งสารต้านมะเร็ง

4.ช่วยระบบทางเดินหายใจ

เนื่องจากมีคุณสมบัติดักจับไวรัส แบคทีเรีย และขับเสมหะได้ น้ำคั้นหัวไชเท้าจึงช่วยให้ระบบทางเดินหายใจสะอาด

5.ช่วยระบบทางเดินอาหาร

น้ำคั้นหัวไชเท้ามีเอนไซม์ชนิดที่ใกล้เคียงกับเอนไซม์ที่พบในระบบทางเดินอาหารของมนุษย์ รวมทั้งอะมีลาสและเอสเตอราส ซึ่งช่วยย่อยคาร์โบไฮเดรต โปรตีนและไขมัน เพื่อให้ร่างกายนำไปใช้ได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้น้ำคั้นไชเท้ายังช่วยแก้ท้องผูกอีกด้วย

6.ช่วยล้างพิษ

หัวไชเท้าเป็นยาขับปัสสาวะตามธรรมชาติ ช่วยทำความสะอาดไต และมีคุณสมบัติเป็นสารขับพิษ และละลายไขมันให้ขับออกทางปัสสาวะ

7.ช่วยระบบภูมิคุ้มกัน

อุดมไปด้วยมีวิตามินซี หัวไชเท้าจึงช่วยสร้างเม็ดเลือดขาว อีกทั้งยังช่วยซ่อมแซมเซลล์และเนื้อเยื่อทั่วร่างกาย นอกจากการดื่มน้ำคั้นไวไชเท้าแล้ว ใบของไชเท้ากอุดมไปด้วยวิตามินซีด้วยเช่นกัน

8.ช่วยป้องกันมะเร็ง

อุดมไปด้วยสารแอนตี้ออกซิแดนซ์ จึงช่วยลดอัตราการเกิดมะเร็งหลายชนิด โดยเฉพาะมะเร็งกระเพาะอาหาร

9.ช่วยลดน้ำหนัก

แม้จะเป็นประโยชน์รองของการกินหัวไชเท้า แต่ความที่มีคาร์โบไฮเดรตที่ให้พลังงานและคลอเรสเตอรอลต่ำ แถมยังมีกากใยสูง มีสารอาหารจำเป็นสำหรับร่างกายมากมาย การกินหัวไชเท้าจึงช่วยลดน้ำหนักไปโดยปริยาย

10.ช่วยรักษาอาการอักเสบ

จากการวิจัยพบว่าน้ำคั้นจากหัวไชเท้า หรือการกินหัวและใบของพืชชนิดนี้ ช่วยลดการอักเสบทั่วร่างกายได้ จึงช่วยระบบการทำงานของหัวใจ ลดความเสี่ยงโรคข้ออักเสบ เก๊าต์ และช่วยบรรเทาความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อจากการเล่นกีฬา

11.ช่วยสร้างเสริมกระดูก

เนื่องจากอุดมไปด้วยแคลเซียม ซึ่งสร้างเสริมสุขภาพกระดูก โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่เริ่มมีภาวะกระดูกผุ การกินหัวไชเท้าจึงช่วยชะลอภาวะดังกล่าวได้

12.ช่วยลดเลือนริ้วรอย

น้ำมันที่สกัดจากหัวไชเท้า สามารถนำไปทาผิวเพื่อชะลอวัยได้ หรือวิธีที่ง่ายที่สุดคือ การกินหัวไชเท้า ซึ่งมีแอนตี้ออกซิแดนซ์ช่วยชะลอวัย และริ้วรอยบนผิว

ตำรายาจีน

ตำราจีนนั้นถือว่ามีฤทธิ์เป็นยาเย็น แต่มีรสเผ็ดร้อน ซึ่งถือว่าผักชนิดนี้มีประโยชน์อย่างมากต่อการทำงานของปอด กระเพาะอาหาร ลำไส้ใหญ่ ช่วยดับกระหายคลายร้อน แก้อาการไอเรื้อรัง มีเสมหะมาก อาหารไม่ย่อย ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูก ซึ่งหากรับประทานผักกาดหัวไปสักระยะหนึ่งแล้วอาการต่าง ๆ เหล่านี้ก็จะได้รับการบรรเทาให้ดีขึ้น เนื่องจากมีฤทธิ์เป็นยาเย็น จึงไม่ควรที่จะรับประทานหัวผักกาดกับยาหรือสมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อนอย่างโสมหรือตังกุย เพราะมันอาจจะไปสะเทินฤทธิ์กันเอง ทำให้โสมหรือตังกุยออกฤทธิ์ไม่ดีเท่าที่ควร แต่อย่าเข้าใจผิดไปว่าหัวผักกาดนี้มันจะไปทำลายฤทธิ์ของยาหรือสมุนไพรอื่น ๆ ทั้งหมด และการรับประทานหัวผักกาดนั้นจะรับประทานสุกหรือดิบก็ได้ แต่การรับประทานแบบดิบ ๆ นั้นจะมีประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่า

 

คุณค่าทางโภชนาการของหัวไชเท้า

ข้อมูลจากกองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้เผยคุณค่าทางโภชนาการของหัวไชเท้าหรือหัวผักกาดในปริมาณ 100 กรัม ไว้ดังนี้

  • พลังงาน 22 กิโลแคลอรี
  • น้ำ 93.7 กรัม
  • โปรตีน 0.8 กรัม
  • คาร์โบไฮเดรต 4.8 กรัม
  • ไฟเบอร์ 0.7 กรัม
  • เถ้า 0.7 กรัม
  • แคลเซียม 43 มิลลิกรัม
  • ฟอสฟอรัส 20 มิลลิกรัม
  • ไทอะมีน 0.01 มิลลิกรัม
  • ไรโบฟลาวิน 0.02 มิลลิกรัม
  • ไนอะซิน 0.5 มิลลิกรัม
  • วิตามินซี 26 มิลลิกรัม
ข้อควรระวังในการรับประทานหัวไชเท้า
  • ไม่ควรกินร่วมกับโสมหรือตังกุย เพราะอาจไปสะเทินฤทธิ์กันเอง เนื่องจากหัวไชเท้ามีรสร้อน
  • หากใช้หัวไชเท้าสดต้องระวัง โดยเฉพาะหากใช้กับผิวพรรณ ควรทดสอบการแพ้ก่อนใช้ทุกครั้ง
  • ผู้ป่วยไฮโปไทรอยด์ไม่ควรรับประทานหัวไชเท้า เพราะมีสารกอยโตรเจน (goitrogen) ที่เป็นตัวไปขวางการจับไอโอดีนของต่อมไทรอยด์ เพื่อสร้างฮอร์โมนไทรอกซิน (thyroxin) ซึ่งจะทำให้เกิดคอหอยพอกนั่นเอง

ขอบคุณข้อมูลจาก

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.