กะหล่ำดอก

กะหล่ำดอก ผักมากประโยชน์มากสรรพคุณ กับข้อควรระวัง! ที่คุณควรรู้

กะหล่ำดอก

กะหล่ำดอก เป็นผักที่ได้รับความนิยมสูงในการนำมารับประทาน หรือประกอบอาหาร ไม่ว่าจะเป็นอาหารระดับโรงแรม ระดับภัตตาคาร หรือในร้านข้าวแกง รวมไปถึงในครัวของแต่ละบ้าน สามารถใช้ประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู เช่น ผัด แกง หมักดอง หรืออื่น ๆ เนื่องมาจากผักชนิดนี้มีรสชาติอร่อย กรอบหวาน ดอกเป็นสีเหลืองดูน่ารับประทาน นอกจากนี้ยังมีประโยชน์และสรรพคุณมากมายที่ดีต่อร่างกาย มาดูกันเลยค่ะ ^^

สรรพคุณของกะหล่ำดอก

  1. ช่วยแก้อาการปวดศีรษะชนิดเรื้อรัง
  2. ช่วยรักษาโรคหอบหืด หลอดลมอักเสบ ด้วยการดื่มน้ำกะหล่ำดอกประมาณ 30-60 มิลลิลิตรทุกวัน
  3. ช่วยรักษาแผลในปาก ด้วยการใช้กะหล่ำดอกนำมาคั้นเอาน้ำ แล้วนำน้ำที่ได้ไปใช้อมกลั้วปาก
  4. น้ำคั้นจากกะหล่ำดอกยังใช้อมกลั้วปาก เพื่อรักษาอาการเจ็บคอ แก้คออักเสบได้ด้วย
  5. กะหล่ำดอกสดมีสรรพคุณช่วยรักษาแผลเรื้อรัง โรคเรื้อนกวาง

ประโยชน์ของกะหล่ำดอก

1.กะหล่ำดอกอุดมสารเอนไซม์ที่ช่วยต่อสู้กับมะเร็ง เช่น

  • สารซัลโฟราเฟน (sulforaphane) ช่วยต่อสู้กับเซลล์มะเร็ง
  • กรดโฟลิกและคูมารีน (folic acid & coumarin) ช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้และมะเร็งเต้านม
  • สารอินโดล ทรี คาร์บินอล (indole-3-carbinol) ช่วยป้องกันมะเร็งเต้านม

2.กะหล่ำดอกมีสารที่ช่วยดึงสารก่อมะเร็งที่เรียกว่าคาร์ซิโนเจน (carcinogens) ออกจากเซลล์

3.กะหล่ำดอกมีวิตามินซีสูง สามารถช่วยป้องกันและรักษาหวัด โรคเลือดออกตามไรฟัน ช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกาย ทำให้ผู้ที่อ่อนแอหรือผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว

4.กะหล่ำดอกอุดมไปด้วยโคลีน (Choline) ซึ่งมีบทบาทในการพัฒนาและบำรุงสมองของทารกในครรภ์

6.กะหล่ำดอกอุดมไปด้วยเส้นใยอาหาร จึงช่วยในการขับถ่าย ขับล้างสารพิษในร่างกาย

7.กะหล่ำดอกช่วยต้านการอักเสบ ช่วยป้องกันโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง

8.วิตามินยูเป็นวิตามินที่พบได้ในพืชตระกูลกะหล่ำ ช่วยลดอัตราเสี่ยงของมะเร็งที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนเพศหญิงได้ เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งรังไข่ และมะเร็งเต้านม เป็นต้น

ลดความเสี่ยงจากโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหัวใจและหลอดเลือดอาจเป็นผลมาจากความเสื่อมของร่างกายจากการใช้ชีวิตประจำวัน การเลือกรับประทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น สารแคโรทีนอยด์ ฟลาโวนอยด์ วิตามินต่าง ๆ อย่างกะหล่ำดอก อาจช่วยต้านการอักเสบและชะลอความเสื่อมของร่างกายได้ ซึ่งจากงานวิจัยหนึ่งที่ติดตามการรับประทานอาหารของอาสาสมัครชาวจีนชายและหญิงจำนวน 134,796 คน เป็นเวลา 4-10 ปี พบว่าผู้ที่ไม่บริโภคผักตระกูลกะหล่ำ หรือผลไม้ มีอัตราเสี่ยงในการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดสูงกว่าผู้ที่บริโภคเป็นประจำ จึงอาจกล่าวได้ว่า การรับประทานผักตระกูลกะหล่ำควบคู่กับผักชนิดต่าง ๆ และผลไม้เพิ่มมากขึ้น อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และช่วยให้มีสุขภาพดี มีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นได้

คุณค่าทางโภชชนาการของกะหล่ำดอก ต่อ 100 กรัม

  • พลังงาน 25 กิโลแคลอรี่
  • คาร์โบไฮเดรต 4.97 กรัม
  • น้ำตาล 1.91 กรัม
  • ใยอาหาร 2.0 กรัม
  • ไขมัน 0.28 กรัมกะหล่ําดอก
  • โปรตีน 1.92 กรัม
  • น้ำ 92.07 กรัม
  • วิตามินบี1 0.05 มิลลิกรัม (4%)
  • วิตามินบี2 0.06 มิลลิกรัม (5%)
  • วิตามินบี3 0.507 มิลลิกรัม (3%)
  • วิตามินบี6 0.184 มิลลิกรัม (14%)
  • วิตามินบี9 57 ไมโครกรัม (14%)
  • วิตามินซี 48.2 มิลลิกรัม (58%)
  • วิตามินอี 0.08 มิลลิกรัม (1%)
  • วิตามินเค 15.5 ไมโครกรัม (15%)
  • แคลเซียม 22 มิลลิกรัม (2%)
  • ธาตุเหล็ก 0.42 มิลลิกรัม (3%)
  • แมกนีเซียม 15 มิลลิกรัม (4%)
  • แมงกานีส 0.155 มิลลิกรัม (7%)
  • ฟอสฟอรัส 44 มิลลิกรัม (6%)
  • โพแทสเซียม 299 มิลลิกรัม (6%)
  • โซเดียม 30 มิลลิกรัม (2%)
  • สังกะสี 0.27 มิลลิกรัม (3%)

 

ข้อควรระวังในการรับประทานกะหล่ำดอก

ในปัจจุบัน มีข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณที่เหมาะสมและความปลอดภัยในการบริโภคกะหล่ำดอกค่อนข้างน้อย โดยเฉพาะข้อมูลด้านการรักษาหรือป้องกันโรคซึ่งยังไม่อาจสรุปประสิทธิภาพในแต่ละด้านได้อย่างแน่ชัด ผู้บริโภคจึงควรคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก โดยมีข้อควรระวังในการรับประทานกะหล่ำดอก ดังต่อไปนี้

การรับประทานกะหล่ำดอกในปริมาณปกติจากมื้ออาหารทำให้ได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและไม่ทำให้เกิดอันตราย แต่ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลที่รับรองความปลอดภัยหากรับประทานกะหล่ำดอกในปริมาณมากหรือติดต่อกันเป็นเวลานาน จึงควรรับประทานแต่ในปริมาณที่พอดี
ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับท้องอืด ท้องเฟ้อ หรือแน่นท้อง ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานกะหล่ำดอก เพราะอาจทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะได้มาก
กะหล่ำดอกมีสารพิวรีนอยู่ในระดับปานกลาง จึงไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์ เพราะอาจกระตุ้นให้อาการของโรคแย่ลง
สารอาหารสำคัญในกะหล่ำดอกอาจสูญสลายได้ง่ายและละลายไปกับน้ำเมื่อโดนความร้อน การนำกะหล่ำดอกไปทำอาหารจึงควรใช้ความร้อนต่ำและใช้ระยะเวลาทำไม่นานเกินไป เพื่อคงคุณค่าสารอาหาร ป้องกันการเสียรสชาติและเกิดกลิ่นไม่น่ารับประทาน เนื่องจากกะหล่ำดอกมีสารประกอบของกำมะถันที่อาจส่งกลิ่นเหม็นเมื่อปรุงอาหารนาน ๆ

 

ขอบคุณข้อมูลดีๆ

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.