ดอกอัญชัน

ดอกอัญชัน สมุนไพรริมรั้ว ประโยชน์เลอค่า มากสรรพคุณ – ACuisine

ดอกอัญชัน

ดอกอัญชัน ดอกไม้ริมรั้วที่มักขึ้นตามบ้านเรือน ถูกใช้เป็นยาและปรุงอาหารมาแต่โบราณ ตอนเด็กๆก็มักจะนำมาทาคิ้วทาตา เพื่อให้ขนขึ้นไวๆ…แต่ดอกไม้ชนิดนี้ ยังมีประโยชน์ดีๆแฝงอีกมากมาย พร้อมข้อควรระวังในการรับประทาน ที่คุณอาจไม่เคยรู้ จะมีอะไรบ้างนั้น มาดูกันเลยค่ะ…👇🏻

ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับ ดอกอัญชัน กันเสียก่อน!

แอดมินเชื่อเลยว่าหลายๆคนต้องคุ้นเคยกับเจ้าดอกไม้ชนิดนี้ เพราะมักพบเห็นได้ง่าย ตามรั้วหน้าบ้าน หรือที่ต่างๆที่มีพืชต่างๆขึ้นอยู่ เราจะสังเหตุเห็นเป็นดอกสีม่วงสด บางคนก็ไม่ได้สนใจอะไร แต่หารู้ไม่ว่า เจ้าดอกอัญชันนี่แหละ สมุนไพรที่มีสรรพคุณอย่างดีเลยทีเดียวล่ะ ไม่ว่าจะเป็นการบำรุงในส่วนของสายตา การบำบัดรักษาโรคต่างๆ ที่หลายๆคนอาจรู้มาบ้าง แต่ก็ยังมีประโยชน์อีกมากมาย รวมถึงข้อควรระวังด้วย งั้นตามแอดมาทำความรู้จักกันเลย…

อัญชัน ภาษาอังกฤษ : Butterfly pea หรือ Blue pea ส่วนดอกอัญชัน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clitoria ternatea L.

เป็นต้นเป็นพืชที่มีต้นกำเนิดในแถบอเมริกาใต้ ปลูกทั่วไปในเขตร้อน ลักษณะของดอกอัญชันจะมีสีขาว สีฟ้า สีม่วง ส่วนตรงกลางดอกจะมีสีเหลืองและรูปทรงคล้ายหอยเชลล์

ชื่อพื้นเมือง 

  • แดงชัน(เชียงใหม่)
  • เอื้องชัน(ภาคเหนือ)

ดอกอัญชัน.1

สรรพคุณนั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพราะมีสารที่ชื่อว่า “แอนโทไซยานิน” (Anthocyanin) ซึ่งมีหน้าที่ไปช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆได้ดีมากขึ้น เช่น ไปเลี้ยงบริเวณรากผม ซึ่งช่วยทำให้ผมดกดำ เงางาม หรือไปเลี้ยงบริเวณดวงตาจึงช่วยบำรุงสายตาไปด้วยในตัว หรือไปเลี้ยงบริเวณปลายนิ้วมือ ซึ่งก็จะช่วยแก้อาการเหน็บชาได้ด้วย และที่สำคัญสารนี้ยังมีความโดดเด่นที่ใครหลายๆคนยังไม่ทราบนั้นก็คือ ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดเส้นเลือดอุดตันได้และการ “กินดอกอัญชันทุกวัน…วันละหนึ่งดอก” จะช่วยป้องกันโรคเส้นเลือดสมองตีบได้อีกด้วย
ดอกอัญชัน เป็นของต้องห้ามสำหรับผู้มีเลือดจาง “ห้าม” รับประทานดอกอัญชันเด็ดขาด หรืออาหารเครื่องดื่มที่ย้อมสีด้วยอัญชันก็ไม่ควรรับประทานบ่อยๆ

 

สรรพคุณของดอกอัญชัน

  • ราก : รสเย็นจืด บำรุงดวงตา ทำให้ตาสว่าง ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ แก้ปวดฟัน ทำให้ฟันทน
  • น้ำคั้นจากใบสดและดอกสด : ใช้หยอดตา แก้ตาอักเสบ ฝ้าฟาง ตาแฉะ มืดมัว
  • น้ำคั้นจากดอก : ใช้ทาคิ้ว ทาหัว เป็นยาปลูกผม (ขน) ทำให้ ผมดกดำเงางาม
  • สีจากดอกอัญชัน : ใช้ทำประโยชน์ได้หลายอย่าง นิยมใช้ดอกสีน้ำเงินซึ่งมีสาร Anthocyanin ใช้ ทำสีขนม เช่น ขนมดอกอัญชัน ขนมช่อม่วง ทำน้ำดื่มสมุนไพร ได้ น้ำสีม่วงสวย เพราะสีของดอกอัญชันละลายน้ำได้ รวมทั้งสีเปลี่ยน ไปตามความเป็นกรดด่าง คล้าย กระดาษลิตมัสที่ใช้ตรวจสอบความ เป็นกรดด่างของสารละลาย
  • เมล็ดของอัญชัน : สามารถนำมาทำเป็นยาระบาย
  • ใบและรากของอัญชัน : อัญชันชนิดขาวใช้เป็นยาขับปัสสาวะและยาระบาย ชนิดม่วงแก้ตาฟางและตาแฉะ

ใช้ในการรักษาอาการผมร่วง แก้ฟกช้ำบวม ใช้ผสมอาหารให้สีม่วง สามารถกินเป็นผักได้ ทั้ง จิ้มน้ำพริกสดๆ หรือชุบแป้งทอด และอย่างที่บอกไปนะครับ ดอกอัญชันยังมีสารแอนโธไซ ยานิน ซึ่งมีคุณสมบัติเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในหลอดเล็กๆ ทำให้เลือดไปเลี้ยงรากผมและนัยน์ตามากขึ้น สารแอนโทรไซยานินนี้จะพบในผลไม้และดอกไม้ที่มีสีน้ำเงิน สีแดง หรือสีม่วง มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติ โดยที่พืชจะสร้างสารนี้ขึ้นมา เพื่อป้องกันดอกหรือผลตัวเอง จากอันตรายของแสงแดดหรือโรคภัย

คนสมัยก่อนจะใช้น้ำที่คั้นจากดอกอัญชัญทาผม หนวด เครา และคิ้วเพื่อให้ขึ้นดกดำ นอกจากนี้ยังใช้ทาคิ้วเด็ก ทำให้คิ้วดกดำ และในปัจจุบันยังนำมาใช้ในอุตสาหกรรมผลิตแชมพูสระผมและครีมนวด สีจากกลีบดอกสดมีสีน้ำเงินด้วยสารแอนโทไซอานิน และเมื่อเติมน้ำมะนาว ลงไปเล็กน้อยจะกลายเป็นสีม่วง ใช้แต่งสีขนม ใช้แต่งสีอาหารเช่น หุงข้าวผสมสีด้วยน้ำที่คั้นจากดอกอัญชัญ จะได้ข้าวสีน้ำเงินอมม่วงสวยงามน่ารับประทาน

นอกจากนี้ยังสามารถนำดอกอัญชัญตากแห้งมาชงดื่มแทนน้ำชาได้อีกด้วย ข้อแนะนำในการดื่มน้ำดอกอัญชัญควรดื่มทันทีที่ปรุงเสร็จ เพื่อให้ได้คุณค่าทางอาหารและยา ไม่ควรดื่มน้ำจากสมุนไพรชนิดใดชนิดหนึ่งติดต่อกันเป็นเวลานานๆเพราะจะทำให้ เกิดการสะสมของสารบางชนิด ที่ออกฤทธิ์เป็นผลเสียต่อร่างกายได้

สามารถนำกลีบดอกสดตำ เติมน้ำเล็กน้อย กรองด้วยผ้าขาวบาง คั้นเอาน้ำออก จะได้น้ำสีน้ำเงิน (Anthocyanin) ใช้เป็น indicator แทน lithmus

ถ้าเติมน้ำมะนาวลงไปเล็กน้อย จะกลายเป็นสีม่วง ใช้แต่งสีอาหารตามต้องการ มักนิยมใช้แต่งสีน้ำเงินของขนมเรไร ขนมน้ำดอกไม้ ขนมขี้หนู

 

ประโยชน์ที่ร่างกายจะได้รับจากน้ำดอกอัญชันมีดังนี้

1. เป็นเครื่องดื่มดับกระหาย มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ เสริมภูมิต้านทาน

2. ใช้เป็นสีผสมอาหาร เพื่อเพิ่มความน่ารับประทาน เป็นสีที่ได้จากธรรมชาติดังนั้นจึงไม่มีโทษต่อร่างกาย สามารถใช้ทดแสนสีผสมอาหารสังเคราะห์ได้

3. ช่วยเพิ่มความสามารถในการมองเห็น เนื่องจากดอกอัญชัญมีสารที่จะไปเพิ่มการไหลเวียนในหลอดเลือดเล็กๆ เช่น หลอดเลือดส่วนปลายทำให้กลไกที่ทำงานเกี่ยวกับการมองเห็นแข็งแรงขึ้น และความสามารถของสารแอนโธไซยานินในดอกอัญชัญยังเพิ่มประสิทธิภาพของดวงตา เช่น ตาเสื่อมจากโรคเบาหวาน โรคต้อหิน โรคต้อกระจก และ ทำให้เลือดไปเลี้ยงรากผมมากขึ้น ทำให้เซลล์รากผมแข็งแรงขึ้น

ดอกอัญชันกินรักษาโรคได้จริงหรือไม่

แม้งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์หลายชิ้นจะชี้ให้เห็นสรรพคุณทางยาของดอกอัญชันต่อการรักษาและบรรเทาอาการป่วยของหลาย ๆ โรค เช่น ลดไข้ ลดไขมันในเลือด แก้โรคหืด รักษาโรคทางสมอง หรือช่วยเสริมสร้างการทำงานของอวัยวะในร่างกาย แต่ยังไม่มีหลักฐานหรือข้อมูลทางการแพทย์เพียงพอที่จะชี้ชัดได้ว่าดอกอัญชันช่วยรักษาปัญหาสุขภาพเหล่านี้ได้จริง ประเด็นเกี่ยวกับสรรพคุณทางยาของพืชชนิดนี้จึงจำเป็นต้องศึกษาระยะยาวกับกลุ่มคนจำนวนมากต่อไป เพื่อรับรองความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการนำมาใช้รักษากับคนโดยตรง

นอกจากนี้ ผู้ที่ต้องการบริโภคดอกอัญชันเพื่อสรรพคุณทางยาควรปรึกษาแพทย์ก่อน เนื่องจากดอกอัญชันอาจทำปฏิกิริยากับยารักษาโรคบางชนิด หรือก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อผู้ที่มีภาวะสุขภาพบางประการได้ โดยเฉพาะสตรีมีครรภ์และสตรีที่ให้นมบุตร โดยการบริโภคดอกอัญชันให้ปลอดภัยต่อสุขภาพทำได้ ดังนี้

  • ควรระมัดระวังการรับประทานดอกอัญชัน หากกำลังใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด เนื่องจากดอกอัญชันมีฤทธิ์ละลายลิ่มเลือด จึงอาจทำให้ยามีฤทธิ์รุนแรงยิ่งขึ้นและก่อให้เกิดอันตรายได้
  • ไม่ควรดื่มน้ำอัญชันที่มีความเข้มข้นมากเกินไป และไม่ดื่มแทนน้ำเปล่า
  • ควรใช้ดอกอัญชันชงเป็นเครื่องดื่มในปริมาณแต่พอน้อย
  • ผู้ที่มีอาการแพ้ละอองหรือเกสรดอกไม้ชนิดต่าง ๆ ควรระมัดระวังในการใช้ดอกอัญชันหรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของอัญชัน เนื่องจากเสี่ยงก่อให้เกิดอาการแพ้ได้เช่นเดียวกัน

ขอบคุณข้อมูลจาก

Summary
ดอกอัญชัน
Article Name
ดอกอัญชัน
Description
ดอกอัญชัน ดอกไม้ริมรั้วที่มักขึ้นตามบ้านเรือน ถูกใช้เป็นยาและปรุงอาหารมาแต่โบราณ ตอนเด็กๆก็มักจะนำมาทาคิ้วทาตา เพื่อให้ขนขึ้นไวๆ แต่ดอกไม้ชนิดนี้ ยังมีประโยชน์ดีๆแฝงอีกมากมาย พร้อมข้อควรระวังในการรับประทาน ที่คุณอาจไม่เคยรู้ จะมีอะไรบ้างนั้น มาดูกันเลยค่ะ

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.