อิสระในชีวิตเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา แต่ถ้าขึ้นชื่อว่าเป็น “อนุมูลอิสระ” ในร่างกายแล้วละก็ คนรักสุขภาพทั้งหลายคงส่ายหน้าไม่อยากให้เกิดขึ้นกับตัวเป็นแน่
อนุมูลอิสระ (Free Radicals) คือโมเลกุลที่มีประจุลบเดี่ยวๆ ในร่างกาย ไม่มีความมั่นคง จึงมักจะไปขโมยประจุลบของโมเลกุลข้างเคียง ทำให้โมเลกุลที่ถูกขโมยประจุเกิดไม่เสถียรตามไปด้วย กลายเป็นวัฏจักรลูกโซ่ไม่จบสิ้น ซึ่งอนุมูลอิสระนี้เกิดจากกระบวนการเมแทบอลิซึมของร่างกายเป็นอย่างแรก และมาจากปัจจัยภายนอก เช่น ติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสการอักเสบ ได้รับรังสี มลพิษ สารพิษ ยาฆ่าแมลง กรดไขมันอิ่มตัว แสงแดด ความร้อนความเครียด และการออกกำลังกายหักโหม เป็นต้น
อนุมูลอิสระได้ชื่อว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการอักเสบ ทำลายเนื้อเยื่อในระยะสั้นและต่อเนื่องไปจนระยะยาว ทำลายดีเอ็นเอและเยื่อหุ้มเซลล์ ซึ่งเป็นสาเหตุของการแก่ก่อนวัย ไปจนถึงโรคร้ายที่ใคร ๆ ไม่อยากเจอ ทั้งเส้นเลือดตีบ โรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันหรือแม้แต่มะเร็ง
ทว่าโดยทั่วไปแล้วร่างกายมนุษย์มีระบบแอนติออกซิแดนต์ ซึ่งผลิตเอนไซม์ที่ช่วยทำลายโมเลกุลอันเป็นต้นเหตุของการเกิดอนุมูลอิสระอยู่แล้ว นอกจากนี้เรายังสามารถเปิดรับสารแอนติออกซิแดนต์ซึ่งไม่ใช่เอนไซม์เข้าสู่ร่างกายได้จากอาหารการกินในแต่ละวันได้อีกด้วย เช่น สารแคโรทีนอยด์ (เบต้าแคโรทีนและไลโคปีน) วิตามินเอ วิตามินอี วิตามินซี และซีลีเนียม เป็นสำคัญมีวิจัยพบว่า ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของสารดังกล่าวจะเด่นชัดมากเมื่อร่างกายได้รับโดยตรงจากผักและผลไม้สด นอกจากนี้ยังต้องลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นควบคู่ไปด้วยกัน
H & C จึงได้น้อมนำเอานานาสารพัดผักผลไม้และวัตถุดิบที่ได้ขึ้นชื่อว่าทั้งบำรุงสุขภาพและต้านอนุมูลอิสระมาปรุงเป็นอาหารจานเด็ดสูตรอร่อย ฝากไว้ให้คุณผู้อ่านซึ่งรักสุขภาพทุกท่านได้หันมาดูแลสุขภาพตัวเองด้วยอาหาร แต่อย่างไรก็อย่าเผลอรับประทานเพลินจนลืมปรับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมที่เสี่ยงต่อโรคด้วย เพราะอย่าลืมว่าการดูแลสุขภาพที่ดีที่สุดนั้น ต้องดูแลแบบองค์รวม ทั้งกาย ใจ และสิ่งแวดล้อมนั่นเอง
เมนูแนะนำ 7 จานอร่อยต้านอนุมูลอิสระ
2. ซุปหอมแขก
3. สลัดผักลวกกับน้ำสลัดฮันนี่โยเกิร์ต
4. เปาะเปี๊ยะสดดอกไม้กับส้มโอน้ำจิ้มงาชาเขียว
5. Pumpkin Seeds & Garlic Spread
เอกสารอ้างอิง
1. บทความเรื่อง “สารต้านอนุมูลอิสระ” จาก www.chulalongkornhospital.go.th
2. บทความเรื่อง “อนุมูลอิสระจากการออกกำลังกาย” จาก www.tsm-mec.org
3. บทความเรื่อง “สารต้านอนุมูลอิสระ Antioxidant” http://www.thaiclinic.com/antioxidant.html