สาราณียธรรม 6

สาราณียธรรม 6 หลักธรรมที่ทำให้เกิดความสามัคคี

สาราณียธรรม 6 หลักธรรมที่ทำให้เกิดความสามัคคี

ในเรื่องของการทำงาน การแข่งกีฬา สิ่งที่ขาดไม่ได้คือความสามัคคี ในทางพระพุทธศาสนามีหลักธรรมที่ก่อให้เกิดความรักใคร่ปรองดองที่เรียกว่า สาราณียธรรม 6 ลองมาดูกันว่าถ้าอยากให้เกิดความสามัคคีกัน เราจะใช้หลักธรรมของสาราณียธรรม 6 อย่างไรได้บ้าง

 

 

เมตตาทางกาย (กายกรรม)

คือการกระทำทางกายที่ประกอบด้วยเมตตา เช่น การช่วยเหลือ การเอื้อเฟื้อ การไม่รังแก ทำร้ายผู้อื่น การอดทนต่อกัน ไม่ใช่เห็นคนอื่นเข้าคิวแล้วไปแซงคิวเขา นั่นก็คือคุณไม่มีเมตตาธรรมเลย

เมตตาทางวาจา (วจีกรรม)

คือการมีวาจาที่ดี สุภาพ อ่อนหวาน มีปิยวาจา พูดจามีเหตุผล ไม่พูดให้ร้ายคนอื่นหรือพูดให้ผู้อื่นเจ็บช้ำน้ำใจ เดือดร้อนใจ คือพูดแต่สิ่งที่ดี มีเมตตาต่อกัน

เมตตาทางใจ (มโนกรรม)

คือความคิดที่ประกอบด้วยเมตตาทั้งต่อหน้าและลับหลัง เป็นการคิดดีต่อกัน ปรารถนาที ไม่คิดอิจฉาริษยา หรือไม่คิดมุ่งร้ายพยาบาท หากทุกคนคิดแล้วปฏิบัติเหมือนกัน ความสามัคคีก็จะเกิดขึ้นในสังคม

 

 

ทาน (สาธารณโภคี)

คือการรู้จักแบ่งปัน มีจิตอาสา มีจิตสาธารณะ มีการแบ่งให้กันและกันตามโอกาสอันควร ให้โอกาส ให้อภัย ให้ความรู้ ไม่ปล่อยให้ใครเดือดร้อน ช่วยเหลือกันเพื่อแสดงความรักความหวังดีของผู้อื่นที่อยู่ในสังคมเดียวกัน คำว่าสาธารณะคือส่วนรวม โภคีคือคนมั่งมีที่รู้จักแบ่งปัน

ศีล (สีลสามัญญตา)

คือความรักใครสามัคคี รักษาศีลหรือกฎกติกาของหมู่คณะอย่างเคร่งครัดเหมาะสมตามสถานะของตน ประพฤติสุจริต ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของหมู่คณะ ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น

ปัญญา (ทิฎฐิสามัญญตา)

คือไม่อคติ ไม่ลำเอียง การมีความเห็นร่วมกัน ไม่เอาเปรียบกัน ไม่เห็นแก่ตัว รับฟังกติกาในสังคม รู้จักเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ร่วมมือร่วมใจในการสร้างสรรค์สังคมให้เกิดความสงบสุข

หากมีสิ่งเหล่านี้ครบทั้ง 6 ประการ สังคมก็จะมีความสามัคคีไปโดยปริยาย

 

ข้อมูลจากหนังสือ COMPASSION แก้ได้ทุกปัญหาชนะทุกวิกฤต

วางขายแล้วที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ สั่งซื้อออนไลน์ คลิก


บทความน่าสนใจ

ความหมายของการทำงาน ความหมายของการมีชีวิตอยู่ หรือ อิคิไก โดย ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ

วิธีอยู่ร่วมกับเจ้านายอย่างสันติ เคล็ด (ไม่) ลับ จาก ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ

บู๊สต์สมอง 3 มิติ สไตล์ ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ

“เยียวยาเจ้านายตัวเองซะ ก่อนที่จะประสาทกิน!” คุยปัญหาน่าปวดหัวกับ ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ

แค่รับโทรศัพท์ที่ออฟฟิศก็ฝึกสติได้ : วิธีฝึกสติในที่ทำงานสำหรับคนยุคใหม่

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.