จะเกิดอะไรขึ้นกับตัวเรา

จะเกิดอะไรขึ้นกับตัวเรา เมื่อเจริญสติภาวนาเป็นประจำ

จะเกิดอะไรขึ้นกับตัวเรา เมื่อเจริญสติภาวนาเป็นประจำ – การเจริญภาวนาเป็นการกระตุ้นระบบพาราซิมพาเทติก (PNS) ได้หลายทางทีเดียว รวมทั้งเป็นการดึงความสนใจของคุณออกมาจากเรื่องราวที่เคร่งเครียด เป็นการผ่อนคลาย และเป็นการนำสติกลับมาตระหนักรู้อยู่ที่ร่างกาย นับเป็นการกระตุ้นระบบพาราซิมพาเทติก (PNS) และระบบประสาทส่วนอื่น ๆ ของคุณนั่นเอง

การเจริญสติภาวนาเป็นประจำจะก่อให้เกิดผลดังนี้

• เพิ่มเนื้อเยื่อสมองส่วนที่เป็นสีเทาในสมองส่วนอินซูลา ฮิปโปแคมปัส และคอร์เท็กซ์กลีบหน้าส่วนหน้าผาก ลดการบางลงของสมองส่วนคอร์ติคัลอันเนื่องจากการมีอายุมากขึ้น โดยเห็นได้ชัดในบริเวณส่วนหน้าที่ได้รับการเสริมสร้างให้แข็งแกร่งด้วยการเจริญสติภาวนา ช่วยทำให้การทำงานทางจิตที่เกี่ยวข้องกับสมองส่วนต่าง ๆ เหล่านี้ดีขึ้น เช่น มีสมาธิดีขึ้น มีความเมตตามากขึ้น และมีความเข้าใจความรู้สึกผู้อื่นมากขึ้น

• เพิ่มการทำงานของสมองส่วนหน้าซ้าย ซึ่งช่วยให้อารมณ์ดีขึ้น

• เพิ่มพลังและระยะทางของคลื่นสมองอันรวดเร็วในเขตแกมมาของสมองของนักภาวนาชาวทิเบตที่มีประสบการณ์สูง คลื่นสมอง คือ คลื่นไฟฟ้าที่อ่อนแต่สามารถวัดได้ ถูกสร้างด้วยการที่ปริมาณเซลล์ประสาทจำนวนมากส่งกระแสสัญญาณออกไปพร้อมกันอย่างเป็นจังหวะ

• ลดปริมาณของฮอร์โมนคอร์ติซอลที่เกี่ยวกับความเครียด

• เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแกร่ง

• ช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วยทางกายหลายอย่าง เช่น โรคเกี่ยวกับหัวใจและระบบหลอดเลือด หอบหืด เบาหวานประเภท 2 กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (PMS) และอาการปวดเรื้อรัง

• ช่วยอาการทางจิตหลายประเภทด้วยกัน เช่น อาการนอนไม่หลับ กระวนกระวาย โรคกลัว (phobia) และโรคการกินผิดปกติ (eating disorder)

หัวใจสำคัญในการที่จะได้ประโยชน์สูงสุดจากการเจริญภาวนาก็คือการพัฒนาการฝึกปฏิบัติทุก ๆ วัน ไม่สำคัญว่าจะเป็นเวลาสั้นเพียงใด ลองสัญญากับตัวเองว่าคุณจะไม่มีวันเข้านอนก่อนที่จะได้เจริญภาวนาในวันนั้น แม้จะเพียงสั้น ๆ แค่หนึ่งนาทีก็ยังดี

 

ที่มา  สมองแห่งพุทธะ (Buddha’s Brain) – ดร.ริค แฮนสัน, นพ. ริชาร์ด แมนดิอัส สำนักพิมพ์อมรินทร์ธรรมะ

อ้างอิง  – Holzel et al. 2008; Lazar et al. 2005; Luders et al. 2009; Lazar et al. 2008; Carter et al.2005;  Tang et al. 2007; Lutz, Brefczynski-Lewis et al. 2008; Davidson 2004; Lutz et al. 2004; Davidson et al. 2003; Walsh and Shapiro 2006;

photo by truthseeker08 on pixabay

Secret Magazine (Thailand)

 

 

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.