ทศพิธราชธรรม คืออะไร ประกอบด้วยอะไรบ้าง
ทศพิธราชธรรม คือจริยวัตร 10 ประการ ที่พระเจ้าแผ่นดินพึงปฏิบัติ เป็นหลักธรรมประจำพระองค์เพื่อปกครองให้บ้านเมืองและประชาชนสงบสุข ไม่ได้จำเพาะว่าจะต้องเป็นพระเจ้าแผ่นดินถึงจะใช้หลัก 10 ประการนี้ได้เท่านั้น แต่บุคคลธรรมดาที่เป็นผู้บริหารระดับสูงในหลายๆ องค์กรก็ควรใช้ด้วยเช่นเดียวกัน
หลัก 10 ประการของ ทศพิธราชธรรม มีอะไรบ้าง มาดูกัน
-
“ทานัง”
หรือทาน เป็นการให้ปันปัจจัยแห่งชีวิต อะไรเป็นปัจจัยของการดำรงอยู่แห่งชีวิต ก็ให้ปัจจัยเหล่านั้นทั้งในทาง รูปธรรมและทั้งในทางนามธรรม ที่เป็นรูปธรรมก็หมายถึง วัตถุ สิ่งของ, ที่เป็นนามธรรม ก็หมายถึง ความรู้ ความฉลาด ความ สามารถ ล้วนแต่เป็นปัจจัยแห่งชีวิต
ต่อเพื่อนมนุษย์ ตรงต่อหน้าที่การงานแห่งความเป็นมนุษย์ ความ ซื่อตรงนี้เหตุให้เกิดความรัก สามัคคี ไว้ใจ วางใจ ซื่อตรง
-
“สีลัง”
หรือศีล แปลว่า ภาวะปกติ และเหตุปัจจัย หรือการจัดการที่ทำให้เกิดภาวะปกติ อุปมาเหมือนว่าก้อนหิน ก้อน ศิลา มีความเป็นปกติ ความหมายนี้ใช้ได้กันกับคำว่าสีละหรือศีล ที่ รักษาสมาทานกันอยู่ เหตุทำให้เกิดความปกติ แล้วก็เกิดความปกติ แล้วก็มีผลของความปกติ อยู่กันอย่างสงบสุข
-
“ปะริจจาคัง”
หรือบริจาค เป็นการให้ในภายใน ไม่ต้องมีผู้รับก็ได้ เป็นการให้สิ่งที่ไม่ควรมีอยู่ในตน เช่น การละกิเลส เป็นต้น ละความตระหนี่หวงแหน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ละความเห็นแก่ตน ทานให้วัตถุปัจจัยภายนอกมีตัวผู้รับ ปริจจาคะ ให้ปัจจัยภายใน ไม่ต้องมีตัวผู้รับก็ได้ต่างกันไม่ใช่อย่างเดียวกัน ไม่ใช่ว่าให้ — ให้ด้วยกัน
-
“อาชชะวัง”
หรืออาชชวะ คือความซื่อตรงต่อเพื่อนมนุษย์ ตรงต่อหน้าที่การงานแห่งความเป็นมนุษย์ ความซื่อตรงนี้เป็นเหตุให้เกิดความรัก สามัคคี ไว้ใจ วางใจ ซื่อตรงต่อเพื่อนมนุษย์ ก็อยู่กันอย่างสะดวกสบาย ซึ่งตรงต่อหน้าที่แห่งความเป็นมนุษย์นี้เป็นความตรงสุดยอด ความเป็นมนุษย์มีหลักเกณฑ์อย่างไร ซื่อตรงต่อความเป็นอย่างนั้น ปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น
-
“มัททะวัง”
หรือมัททวะ แปลว่า อ่อนโยน อ่อนโยนต่อบุคคล ซึ่งใครๆ ก็ชอบความอ่อนโยน อย่าต้องกล่าวถึงมนุษย์เลย แม้แต่สัตว์ก็ยังชอบความอ่อนโยนของบุคคลผู้เป็นเจ้าของ นี้ก็เป็นการอ่อนโยนต่อบุคคล ป็นการอ่อนโยนแห่งอาการทางกาย ทีนี้มีการอ่อนโยนทางจิต คือมีจิตที่อบรมไว้ดี คล่องแคล่วที่จะทำการงานทางจิต จะคิด จะนึก จะรู้สึกอะไรก็ คล่องแคล่ว เหมือนขี้ผึ้งที่อ่อนดีแล้วจะปั้นเป็นอะไรก็ง่ายอย่างนั้น ความอ่อนโยนทางจิต ความเหมาะสมแก่การงานทางจิตนี่เป็นสิ่งที่ จะต้องระลึกนึกถึงกันให้มาก เดี๋ยวนี้จิตมักไม่ได้รับความอ่อนโยน ไม่ได้รับการปรับปรุงให้มีความอ่อนโยน มันก็ลำบาก
-
“ตะปัง”
หรือตบะ หมายถึง วิริยะที่เผาอุปสรรค เช่น อิทธิบาททั้ง 4 มีแล้วก็เผาความไม่สำเร็จให้เกิดความสำเร็จ
-
“อักโกธัง”
หรืออโกธะ เราก็เห็นกันอยู่ว่าเป็น ความไม่โกรธ แต่ตัวหนังสือละเอียดอ่อนกว่านั้น แปลว่าไม่กำเริบ ไม่กำเริบภายใน ทำให้ตนลำบาก ไม่กำเริบในภายนอก ทำให้ผู้อื่น ลำบาก ไม่โกรธตัวเอง — ไม่โกรธผู้อื่น ก็คือไม่กำเริบในภายใน ไม่กำเริบในภายนอก
-
“อะวิหิงสัง”
หรืออวิหิงสา ไม่เบียดเบียนตนเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เบียดเบียนตนเองนี่บางคนยังไม่เข้าใจก็ได้เพราะถือเสียว่าคนมันรักตัวเองแล้วมันจะเบียดเบียนทำไม นั่นแหละ จะมีได้มากเพราะไม่รู้ เพราะไม่เข้าใจมันก็ทำไปในลักษณะที่เป็นการเบียดเบียน ผู้ปฏิบัติผิดพลาด ความชั่วทั้งหลาย เป็นการ เบียดเบียนตนเองโดยที่ไม่อยากจะเบียดเบียน แต่ความโง่เขลามัน ทำให้เป็นการเบียดเบียน ถ้าว่าเบียดเบียนไปถึงผู้อื่นเรื่องก็ร้ายกาจมาก
-
“ขันติ”
หรือขันติ ความอดทน คือ รอได้ คอยได้ ไม่กระวนกระวายใจ ถ้าไม่มีความอดทนมันก็เหมือนกับทรมานตัวเอง จะมีฉลาด เฉลียว ปัญญาวิเศษอย่างไร ถ้าไม่รอได้ ทนได้ มันก็ จะเปล่าประโยชน์ เพราะประโยชน์มันไม่ออกมาทันที มันต้องมี โอกาสตามเวลาแห่งความสำเร็จ ต้องรอได้ ทนได้เหมือนกับทำนา มันต้องรอได้กว่าจะออกเป็นข้าวออกมา อีกอย่างหนึ่ง ขันติแปลว่า สมควร สมควรที่จะได้รับความสำเร็จ มันก็หมายถึงอดทนนั่นแหละ อดทนนั่นแหละสมควรที่จะได้รับความสำเร็จ
-
“อะวิโรธะนัง”
หรืออวิโรธนะ ข้อนี้ แปลว่า ไม่มีอะไรพิรุธที่ผิดไปจากแนวแห่งความถูกต้อง อวิโรธนะ ขอให้หมายถึงความไม่มีอะไรพิรุธเป็นความถูกต้อง เป็นคุณธรรม ระดับปัญญา ถ้าแปลเป็นอย่างอื่นไปเสียแล้ว ธรรมะทั้งชุดนี้ก็จะ ขาดปัญญาซึ่งเป็นไปไม่ได้ สิ่งที่เรียกว่าปัญญานี้จะมาเป็นตัวสุดท้าย ของหมวดเสมอ อวิโรธนะนี้หมายถึงปัญญา ไม่มีอะไรผิดพลาดไป จากทำนองคลองธรรมเพราะไม่รู้ คือไม่มีปัญญานั่นเอง ถ้าไม่มีการ พิรุธหรือผิดพลาด ก็หมายความว่ามีปัญญา อะวิโรธะนังจึงหมายถึง ความมีปัญญาไม่พิรุธ ความรู้ไม่พิรุธ ความเข้าใจไม่พิรุธ อะไร ๆ ก็ไม่พิรุธ เพราะอำนาจแห่งปัญญา
เป็น 10 ประการด้วยกันเช่นนี้ เรียกว่า ทศพิธราชธรรม
ข้อมูลจากหนังสือ โชคดีมีโอกาส ได้เดินตามรอยพระยุคลบาท โดยทศพิธราชธรรม
สั่งซื้อออนไลน์ คลิก
บทความน่าสนใจ
ในหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงเป็นพระโพธิสัตว์
จะเกิดอะไรขึ้นกับตัวเรา เมื่อเจริญสติภาวนาเป็นประจำ
5 ข้อสังเกตที่บอกว่า การสวดมนต์ของคุณนั้น กำลังพาคุณ ห่างไกลจากพระพุทธศาสนา
โอปปาติกะ คืออะไร ทำไมบางคนจึงเห็น ทำไมบางคนจึงไม่เห็น
ลูกสาวบวชไม่ได้ จะพาพ่อแม่ขึ้นสวรรค์ได้อย่างไร พระอาจารย์มีคำตอบ