ทำไมต้องรู้จักกับความทุกข์

ทำไมต้องรู้จักกับความทุกข์ ธรรมะเปิดปัญญา โดย ท่านพุทธทาสภิกขุ

ทำไมต้องรู้จักกับความทุกข์ ธรรมะเปิดปัญญา โดย ท่านพุทธทาสภิกขุ

ทำไมต้องรู้จักกับความทุกข์ ท่านพุทธทาสบรรยายธรรมไว้ว่า สิ่งแรกที่สุดที่คนเราจะต้องรู้จัก และศึกษาเล่าเรียนปฏิบัติกรรมฐานภาวนาในพระพุทธศาสนานั้น สิ่งนั้นก็คือความทุกข์

 

ไม่รู้ทุกข์ก็ให้ผู้อื่นเป็นคนบอก

คนเราเลยไม่รู้ว่าจะตั้งต้นอย่างไร ไม่มีปัญหา แล้วจะสะสางอะไร ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ จะไปหาหมอหรือหาการเยียวยารักษาทำไม สิ่งที่จะต้องมีปรากฏอยู่ในใจก็คือสิ่งที่เรียกว่าความทุกข์เป็นสิ่งแรก ท่านอาจจะรู้สึกด้วยตนเองก็ได้ว่าความทุกข์เป็นอย่างไร แต่มันคงจะไม่สมบูรณ์ไม่หมด ดังนั้นจึงต้องให้ผู้อื่นช่วยบอกให้

ข้อนี้ก็ตรงกับพระพุทธภาษิตที่ว่า แต่ก่อนโน้นก็ดี เดี๋ยวนี้ก็ดี ตถาคตบัญญัติแต่เฉพาะเรื่องความทุกข์ กับเรื่องความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เท่านั้น พระองค์ตรัสว่า จะบัญญัติ (คือพูด คือกล่าว คือสอนแนะนำ แต่งตั้งอะไรก็ตาม) เฉพาะเรื่องทุกข์กับเรื่องความดับทุกข์ สังเกตว่าจะมีคำว่าทุกข์มาเป็นเรื่องแรก

 

ทำไมต้องรู้จักกับความทุกข์

 

การที่ท่านพุทธทาสภิกขุกล่าวว่า “ต้องให้ผู้อื่นช่วยบอกให้ (ว่าเป็นทุกข์)” ขอยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพว่ามีด้วยหรือที่คนเราจะไม่เห็นว่าสิ่งนี้เป็นทุกข์จนกระทั่งต้องมีคนอื่นมาบอก

สมัยพุทธกาลมีเจ้าหญิงเลอโฉมมากนางหนึ่ง เมื่อได้เข้ามาบวชเป็นพระภิกษุณีในสำนักของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงทราบว่าเจ้าหญิงพระองค์นี้ หลงใหลในรูปโฉมของตน เพราะมีความงดงามมาก ได้รับการยกย่องว่าเป็น ชนบทกัลยานี เทียบกับปัจจุบันคงคือตำแหน่งนางงาม

พระพุทธเจ้าทรงพระเมตตาให้เจ้าหญิงละจากการหลงในความงาม เพราะการยึดติดในรูปขันธ์ที่มองวาเป็นสุข แต่แท้จริงแล้วการยึดติดในรูปขันธ์นั้นเป็นทุกข์

พระพุทธเจ้าทรงเนรมิตหญิงงามที่งามที่สุดในสามโลกให้คอยปรนนิบัติพระองค์ เจ้าหญิงจ้องมองพระเนตรไม่กระพริบ หญิงงามนางนั้นก็ค่อย ๆ กลายเป็นหญิงชรา และตาย ร่างนั้นก็เน่าถูกแมลง สัตว์  และหนอนกัดกินจนเหลือแต่กระดูก

“อนิจจังหนอ” เจ้าหญิงเกิดวิชชาเข้าใจแล้วว่าการยึดติดในรูปขันธ์นั้นก็ไม่เที่ยง เราอาจทุกข์ หากวันหนึ่งผิวพรรณที่เคยสุกปลั่ง กลับแห้งมัวหมอง เส้นผมที่งามดำ จะกลายเป็นสีดอกเลา  เจ้าหญิงพระองค์นี้ได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ไม่ยึดติดในรูปขันธ์อีกต่อไป

0

คลิกเลข 2 ด้านล่าง เพื่ออ่านหน้าถัดไป 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.