True Story : เมื่อไหร่จะหมด (หนี้) กรรม อยู่ไปก็เหมือน ตายทั้งเป็น
พระพุทธเจ้าตรัสว่า ชาวนาหว่านสิ่งใดไว้ ย่อมได้ผลตามนั้น ถ้าคนเราทำกรรมไว้ กรรมนั้นย่อมคืนสนอง เป็นสัจธรรมของโลกอย่างหนึ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เรื่องที่จะเล่าต่อไปนี้ อยากให้เป็นอุทาหรณ์ แก่ท่านผู้อ่าน เจ้าของเรื่องจะได้บุญกุศลช่วยให้หนี้กรรมเบาบางลงบ้าง เพราะตอนนี้มีสภาพไม่ต่างจาก ตายทั้งเป็น
เรื่องที่จะเล่าต่อไปนี้เป็นชีวิตจริงของคุณยายท่านหนึ่ง ซึ่งตอนนี้ท่านยังมีชีวิตอยู่ แต่ก็ประสบกับความทุกข์ภัยนานา จนทำให้คนรอบข้างท่านคิดว่า เวรกรรมได้เล่นงานท่านเสียแล้ว
ย้อนกลับไปเมื่อราว 60 กว่าปีก่อน เด็กหญิงเลี้ยงควายคนหนึ่งซึ่งเป็นญาติห่าง ๆ กับภรรยาเศรษฐีผู้มีอันจะกิน เศรษฐีคนนี้เป็นคนจีน ถือเสื่อผืนหมอนใบมาจากเมืองจีน ตอนหนุ่ม ๆ รับจ้างทำนาให้คหบดีคนหนึ่ง ด้วยความขยันหมั่นเพียร ทำให้คหบดีเมตตายกที่นาให้จำนวนหนึ่ง จนสามารถยืนได้บนลำแข้งของตนเองได้ มีข้าวไปขายที่โรงสี เก็บหอมรอมริบจนสามารถซื้อเรือขุดลำใหญ่ บรรทุกสินค้าต่าง ๆ พายไปขายตามลำคลองจนร่ำรวย ได้เงินก้อนมาก็ซื้อที่นาเพิ่มจนมีหลายร้อยไร่ ขายข้าวจนกลายเป็นเศรษฐี เศรษฐียกขันหมากไปสู่ขอลูกสาวของคหบดีซึ่งแอบชอบพอกันมาอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว
วันเวลาผ่านไป สองสามีภรรยาก็ช่วยกันหว่านไถและล่องเรือไปตามลำคลอง สามีพาย ภรรยาร้องตะโกนขายของ ถึงจะเหนื่อยบ้าง แต่ก็มีความสุขดี เมื่อเศรษฐีอายุมากขึ้นก็เลิกพายเรือขายของ แล้วจ้างคนงานรุ่น ๆ มาทำนาแทน มีปล่อยนาบางส่วนให้เช่าบ้าง ภรรยาเศรษฐีเห็นว่าครอบครัวของน้าสาวยากจน จึงขอลูกสาวมาเลี้ยงดู และให้ช่วยเลี้ยงควายและทำนาอีกแรง จะได้มีเงินส่งไปจุนเจือครอบครัว แล้วอุ่นใจที่มีคนกันเองที่เป็นญาติมาช่วยทำมาหากินอีกแรง
อาจเป็นเพราะกรรมแต่ปางก่อน เด็กหญิงวัยแรกรุ่นยอมเป็นภรรยาน้อยของเศรษฐี ไม่คิดถึงศีลธรรมเลยว่าผู้ชายคนนี้คือสามีของลูกพี่ลูกน้องผู้มีบุญคุณต่อตน ภรรยาหลวงเห็นถึงความทะเยอทะยานของลูกน้าสาว จึงยื่นคำขาดกับสามีว่า ต้องยกสมบัติ 8 ใน 10 ให้กับลูกที่เกิดจากตนเท่านั้น นอกนั้นสุดแล้วแต่จะจัดการ เศรษฐียินยอมตามนี้ เพื่อให้ภรรยาสาวได้ขึ้นมาอยู่บนเรือนด้วยกัน
เมื่อลูกสาวภรรยาหลวงโตขึ้น อยากเรียนพยาบาล แต่เศรษฐีไม่เห็นด้วย เป็นลูกผู้หญิงจะเรียนสูงไปทำไม เดี๋ยวแต่งงานก็ต้องไปอยู่บ้านสามี เรียนแค่โรงเรียนเย็บปัดถักร้อย (โรงเรียนสายอาชีพสมัยก่อน) ก็พอ แต่พอลูกสาวของภรรยาน้อยขอไปเรียนครูที่วิทยาลัยครูที่มีชื่อเสียงในกรุงเทพ กลับสนับสนุนมอบเงินมอบทองให้เป็นค่ากินค่าอยู่ และค่าเล่าเรียนอีกด้วย
คลิกเลข 2 ด้านล่าง เพื่ออ่านหน้าถัดไป