3 เคล็ดลับการเขียนเรซูเม่ ให้ดีและปังจนเจ้านายสะดุดตาแต่แรกเห็น
3 เคล็ดลับการเขียนเรซูเม่ อย่างไรให้ดี และมีชัยไปกว่าครึ่งนี่ เป็นเคล็ดลับของคุณคิมซองจุน นักพูดสร้างแรงบันดาลใจชาวเกาหลี และทั้งยังเป็นเจ้าของบริษัท SJ Connection ผู้มีประสบการณ์ในสายธุรกิจเป็นอย่างดี รับรองว่าถ้าทำตามนี้เรซูเม่ของคุณจะทำให้สมัครงานได้อย่างแน่นอน
1. เขียนจดหมายแนะนำตัวที่บ่งบอกความเป็นตัวเรา
ส่วนแรกที่ดึงสายตาแรกสุดบนหน้าแรกของเรซูเม่คือ cover letter หรือจดหมายแนะนำตัว ซึ่งเป็นส่วนเขียนแนะนำตัวเองอย่างง่าย ๆ ส่วนนี้จึงเป็นส่วนที่เราต้องใส่ใจให้มากที่สุด ไม่ควรเขียนยาวหรือสั้นเกินไป ตอนผมทำงานให้คำปรึกษา เห็นมีหลายคนทีเดียวที่ชอบเขียนยาวเฟื้อยเหมือนนิยาย ลองนึกถึงผู้ว่าจ้างที่ต้องอ่านเรซูเม่วันละหลายสิบหรือหลายร้อยฉบับดูสิครับ การเขียนวกวนแต่เรื่องไม่สำคัญรังแต่จะทำให้เขารำคาญและเสียเวลา
ควรเขียนคติการใช้ชีวิตที่กระแทกใจและสามารถแสดงตัวตนของเราได้ดีสักประโยค สิ่งสำคัญคือเขียนด้วยประโยค สิ่งสำคัญคือเขียนด้วยประโยคสั้นกระชับ มีเอกลักษณ์ในแบบของเรา นายจ้างส่วนใหญ่มีประสบการณ์ทำงานมายาวนาน พวกเขาต่างละเหี่ยใจกับการเขียนแนะนำตัวรูปแบบเดิม ๆ เหมือนกันไปหมด จดหมายแนะนำตัวที่แม้จะไม่สละสลวย แต่เขียนซื่อ ๆ ตรงไปตรงมาจึงสามารถดึงความสนใจพวกเขาได้ ลองดูตัวอย่างประโยคแรกจากจดหมายแนะนำตัวของผมกันครับ

ก่อนจะเข้าเรื่องสมัครงาน ผมมีอะไรต้องบอกคุณตามตรง ผมอยากให้เรซูเม่ของผมดึงความสนใจนายจ้างจากเรซูเม่ของคนอื่น ๆ และไม่อยากเขียนแนะนำตัวเหมือนใคร จึงเกริ่นนำด้วยการชักจูงให้เขาลองอ่านเรื่องราวของผมต่อ หรือคุณอาจจะใช้ประโยคห้าวหาญว่า “ถ้าคุณอ่านจดหมายสมัครงานของผม แล้วคุณจะต้องประหลาดใจ”
หัวใจหลักคืออย่าเขียนให้เหมือนคนอื่น แนะนำว่าเวลานึกไอเดียดี ๆ ออกให้จดบันทึกไว้ เพื่อนำไปใช้สร้างประโยคเด็ดในแบบของเรา การทำแบบนี้จะช่วยให้เราโดดเด่นและสามารถดึงดูดสายตาผู้อ่านได้
2. เขียนให้เรียบง่าย ไม่เยิ่นเย้อ
ควรมีอย่างน้อย 3 ย่อหน้า อย่างมาก 5 ย่อหน้า ย่อหน้าแรกให้เขียนแนะนำตัวอย่างง่าย ๆ อาจเล่าเป็นเรื่องราวก็ได้ เพราะเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่เคยเกิดขึ้นจริงของเรานั้นมีเสน่ห์ตรงสะท้อนถึงนิสัยส่วนตัวของเราได้ทางอ้อม ย่อหน้าสองให้เขียนเล่าประวัติการทำงาน หากเพิ่งมาออสเตรเลียครั้งแรก ก็ให้เขียนเล่าว่าก่อนหน้านี้เคยทำอะไรมาบ้าง มีประวัติการทำงานแบบไหน หรือถ้ามาเวิร์คกิ้งฮอลลิเดย์ในออสเตรเลียได้ 1 ปีแล้ว ก็ให้เล่าว่าเคยทำงานอะไรที่ไหนมา มีใบรับรองคุณวุฒิอะไรอยู่บ้าง ส่วนย่อหน้าสุดท้ายให้เขียนความปรารถนาอันแรงกล้าว่าทำไมเราจึงควรได้ทำงานนี้ โฆษณาจุดแข็งของตัวเองให้มากที่สุด จะเขียนให้ดูอาจหาญสักนิดก็ได้

3. ขอจดหมายแนะนำให้เยอะที่สุด
นี่คือส่วนสำคัญที่สุดของเอกสารสมัครงาน ออสเตรเลียให้ความสำคัญกับเรื่องคอนเน็กชั่นไม่แพ้เกาหลีใต้เลย จะต่างกันหน่อยก็ตรงคนที่นั้นให้น้ำหนักกับคำพูดของคนที่เคยร่วมงาน และเคยรู้เห็นความสามารถกับนิสัยใจคอของเรามาก่อนจริง ๆ มากกว่าจะใส่ใจเรื่องหยุมหยิมว่าเป็นศิษย์เก่าร่วมสถาบัน เป็นคนบ้านเดียวกัน หรือมีเส้นสายสนิทกับใครอย่างที่เกาหลี
จดหมายแนะนำจากเกาหลีที่นำมาด้วยไม่ค่อยช่วยอะไรนัก แต่มีคนรับรองประสบการณ์การทำงานให้ก็ยังดีกว่าไม่มีเลย จึงควรแนบท้ายเรซูเม่ไปด้วย จุดสำคัญที่สุดคือประเด็นว่าคนเขียนจดหมายแนะนำให้ชมเราว่า “ตั้งใจทำงานที่ออสเตรเลียอย่างดีมากแค่ไหน” ซึ่งนี่ละจะเป็นรางวัลของคนขยันทำงาน ช่วงลาออกจากงาน นายจ้างจะเป็นผู้เขียนจดหมายแนะนำให้เราเอง ซึ่งวัฒนธรรมตะวันตกไม่คิดว่าการพูดแสดงความเห็นส่วนตนเป็นเรื่องไม่ดี ดังนั้นช่วงจะเปลี่ยนงาน แนะนำว่าควรกระตือรือร้นเอ่ยปากขอให้นายจ้างเขียนจดหมายแนะนำให้เราก่อนได้เลย
ที่มา :
ถ้าไม่มีทางก็ต้องสร้างมันขึ้นมาเอง โดย คิมซองจุน
ภาพ :
บทความน่าสนใจ
เมตตากรุณา - ยิ่งแบ่งยิ่งได้ เคล็ดลับความสุขความสำเร็จของสหรัถ สังคปรีชา
คลายเครียดจากการทำงานด้วยการเจริญสติ หนทางที่ปรับตนเองให้เป็นกุศล
อิทธิบาท 4 : ทางแห่งความสำเร็จในการทำงานอย่างเป็นสุข โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
วิธีการแก้ปัญหาการทำงานที่ดีที่สุดคือ การพาตัวเองไปอยู่ในงานนั้น